HomeBig Featured“Uniqlo” ส้มหล่น? ผอ.-ผู้ปกครองมองเป็นชุดทางเลือกให้เด็กใส่แทนยูนิฟอร์มผ้าเนื้อหนา-ราคาแพง

“Uniqlo” ส้มหล่น? ผอ.-ผู้ปกครองมองเป็นชุดทางเลือกให้เด็กใส่แทนยูนิฟอร์มผ้าเนื้อหนา-ราคาแพง

แชร์ :

japan-uniform-may-change-to-uniqlo-blazer

“ชุดนักเรียนญี่ปุ่น” ที่หลายคนแอบหลงรักในความน่ารัก หรือความเท่ของบรรดารุ่นพี่ อาจกำลังจะเปลี่ยนไป เพราะมีโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในจังหวัดไซตามะ เริ่มมีการปรึกษาหารือกับผู้ปกครองว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะมองหาโซลูชันอื่น ๆ มาใส่แทนยูนิฟอร์มแบบเดิม ๆ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เหตุที่กล่าวเช่นนั้น เพราะทางโรงเรียนพบว่า ชุดนักเรียนญี่ปุ่นก็มี Pain Point หลายอย่าง เช่น ราคาที่ค่อนข้างแพง  โดยจากการสำรวจของทางโรงเรียนพบว่า ผู้ปกครองของนักเรียนที่นี่ต้องจ่ายเงินราว 40,000 – 60,000 เยนในการซื้อชุดนักเรียนให้กับลูก ๆ (ประมาณ 12,000 – 18,000 บาท) ราคาที่ว่านี้คือราคาเสื้อตัวนอก และกางเกง สำหรับนักเรียนชาย และเสื้อนอก – กระโปรง สำหรับนักเรียนหญิง ซึ่งสามารถซื้อชุดสูทดี ๆ สำหรับผู้ใหญ่ได้เลย

เคนจิ ซึซึอิ (Kenji Tsutsui) รองผู้อำนวยการโรงเรียนดังกล่าวบอกว่า ทางโรงเรียนกำลังพิจารณาว่าจะให้เด็ก ๆ เปลี่ยนจากยูนิฟอร์มเดิม ๆ ไปเป็นการใส่ชุดนักเรียนร่วมกับเสื้อตัวนอกจาก Uniqlo แทน เหตุผลที่นำมาสนับสนุนการตัดสินใจก็คือ ราคาที่ประหยัดกว่า เนื้อผ้าใส่สบายกว่า ที่สำคัญเด็ก ๆ สามารถซักได้โดยใช้เครื่องซักผ้าที่บ้าน ไม่ต้องส่งร้านซักแห้ง ทำให้โอกาสในการได้สวมชุดนักเรียนหอม ๆ ใหม่ ๆ สะอาด ๆ ก็มากขึ้นด้วย (โรงเรียนบอกด้วยว่า การที่ชุดยูนิฟอร์มของนักเรียนญี่ปุ่นทำจากผ้าเนื้อหนา ทำให้ต้องส่งร้านซักแห้ง ซึ่งค่าใช้จ่ายในการซักแห้งที่แพงเอาการ ก็ทำให้เด็กบางคนไม่ค่อยได้ซักเสื้อนอกของพวกเขาบ่อยนัก บางคนอาจเก็บไว้เป็นเดือนถึงจะซักสักที)

omiya kita uniqlo

เสื้อตัวนอกจาก Uniqlo ที่คาดว่าจะให้เด็กซื้อมาใส่แทนยูนิฟอร์มเดิม ๆ

สำหรับเสื้อตัวนอกที่โรงเรียนกำลังพิจารณาให้เด็ก ๆ ไปซื้อจาก Uniqlo มาใส่แทนได้นั้น มีราคาประมาณ 10,000 เยน ซึ่งถูกกว่าเสื้อตัวนอกแบบเดิมอยู่พอสมควร โดยในการตัดสินใจขั้นสุดท้าย ทางโรงเรียนบอกว่าขอยกให้เป็นหน้าที่ของผู้ปกครองและเด็ก ๆ จะตัดสินใจร่วมกัน และทางโรงเรียนจะนำผลการตัดสินใจนั้นมาบังคับใช้ในปีการศึกษาใหม่ที่จะถึงนี้

เรียกว่ารับฟังความคิดเห็นของเด็ก และผู้ปกครองกันสุด ๆ แต่งานนี้ถ้าเกิดเปลี่ยนขึ้นมาจริง ๆ ประเพณีการขอกระดุมเม็ดที่สองจากเพื่อน – รุ่นพี่ที่ชอบในวันจบการศึกษาจะหายไปด้วยไหมนะ

Source


แชร์ :

You may also like