HomeBrand Move !!เปิดขั้นตอน-ช่องทาง “คนกรุง” ลงทะเบียนฉีดวัคซีนพื้นที่กรุงเทพฯ

เปิดขั้นตอน-ช่องทาง “คนกรุง” ลงทะเบียนฉีดวัคซีนพื้นที่กรุงเทพฯ

แชร์ :

Vaccine registration in bangkok

กรุงเทพฯ กลายเป็นพื้นที่ระบาดโรคโควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุดในการระบาดระลอก 3 ตั้งแต่เดือนเมษายน รัฐบาลได้เตรียมจัดสรรวัคซีนให้กรุงเทพฯ 5 ล้านโดส ช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เพื่อฉีดให้ครอบคลุมผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ 70% เตรียมดีเดย์ฉีดให้ประชาชนทุกวัย ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายนนี้ ตามดูขั้นตอนและช่องทางการลงทะเบียนฉีดวัคซีนของชาวกรุง

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

กำหนดการฉีดวัคซีนไว้ 2 ระยะ  

ระยะที่ 1 ปัจจุบันถึง 6 มิถุนายน 2564 เรียกว่าอยู่ในขั้นเตรียมความพร้อม โดยทยอยฉีดให้กลุ่มเสี่ยง ณ โรงพยาบาลและสถานที่ฉีดนอกโรงพยาบาล ซึ่ง กทม. ร่วมกับหอการค้าและภาคเอกชน จัดไว้ 25 จุด กระจายทั่วกรุงเทพฯ

ระยะที่ 2 ดีเดย์ฉีดวัคซีนพร้อมกันใน “ทุกกลุ่ม” ทั่วประเทศ รวมทั้งกรุงเทพฯ  ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป

– บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน

– เจ้าหน้าที่ด้านหน้าอื่นๆ และกลุ่มอาชีพเสี่ยงติดเชื้อ รวมทั้งผู้มีอาชีพ/กิจการที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชน เช่น สาธารณูปโภค อาหาร ยา

– ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 โรค

– ตัวแทนนักกีฬาไปแข่งขันต่างประเทศ

– นักเรียน/นักศึกษาไปศึกษาต่างประเทศ

– วัยทำงานผู้มีสิทธิประกันสังคม

– ประชาชาทั่วไป

bkk covid

เปิดขั้นตอน-ลงทะเบียนฉีดวัคซีนคนกรุง

กทม. ได้ทยอยฉีดวัคซีนให้กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่แพร่ระบาด และกลุ่มเฉพาะ ซึ่งเป็นเตรียมความพร้อมและทดลองระบบในสถานที่ฉีดนอกโรงพยาบาล  โดยช่วง 2 เดือนนี้ คือ มิถุนายนและกรกฎาคม จะฉีดวัคซีนเดือนละ 2.5 ล้านโดส รวม 5 ล้านโดส หรือวันละ 8 หมื่นโดส ทั้งในโรงพยาบาล 126 แห่ง และสถานที่ฉีดนอกโรงพยาบาล 25 จุด ซึ่งเป็นความร่วมมือกับหอการค้าไทย และมหาวิทยาลัย 4 แห่ง โดยช่องทางลงทะเบียน มีดังนี้

1.”หมอพร้อม” ประกอบด้วย LINE และ App หมอพร้อม สำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง ดังนี้ 1.โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง 2.โรคหัวใจและหลอดเลือด 3.โรคไตวายเรื้อรัง 4.โรคหลอดเลือดสมอง 5.โรคอ้วน 6.โรคมะเร็ง 7.โรคเบาหวาน

2.ลงทะเบียน ณ จุดบริการ หรือ On-site Registration ช่องทางนี้ปรับจากการเรียกว่า Walk in โดยจุดบริการจะมีระบบรองรับและแจ้งประชาชนเมื่อเดินทางไปลงทะเบียนว่า มีวัคซีนเพียงพอในวันนั้นหรือไม่ หากมีวัคซีนก็จะได้ฉีดในวันนั้น แต่หากวัคซีนไม่พอในวันนั้น ก็ให้ลงทะเบียนเพื่อนัดฉีดในวันอื่นได้ ข้อดีประชาชนไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมารออีกในวันต่อไป แต่สามารถมาฉีดได้เลยตามที่ได้นัดหมายไว้ล่วงหน้าแล้วที่จุดบริการ ช่องทางนี้เป็นการบริการเสริม ส่วนบริการหลักผ่านระบบ “หมอพร้อม”

(ช่องทาง On-site ปรับจากการเรียกว่า Walk in เนื่องจากหากใช้คำว่า Walk in อาจเกิดความเข้าใจผิดว่าทุกคนที่เดินทางไปยังจุดบริการจะได้ฉีดในวันนั้น ทำให้อาจเกิดปัญหาตามมาได้)

3.นัดหมายแบบกลุ่ม/องค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน ทำหนังสือมาที่ กทม. แจ้ง คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร

4.ลงทะเบียนผ่านโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร ณ ศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด (Bangkok Fast & Clear : BFC) 11 แห่ง สำหรับกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป และ 7 โรคเรื้อรัง หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนสำนักการแพทย์ 1646

1.โรงพยาบาลกลาง

2.โรงพยาบาลตากสิน

3.โรงพยาบาลเจริญกรุง

4.โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ

5.โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์

6.โรงพยาบาลลาดกระบัง

7.โรงพยาบาลราชพิพัฒน์

8.โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน

10.โรงพยาบาลคลองสามวา

11.ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน (เอราวัณ)

5.ประชาชนทั่วไปอายุต่ำกว่า 60 ปี กทม.กำลังพัฒนาระบบจองลงทะเบียนร่วมกับธนาคารกรุงไทย หอการค้าไทย บริษัท IBM เพราะระบบ “หมอพร้อม” อาจรองรับได้ไม่หมด เนื่องจากมีประชาชนจำนวนมาก โดยระบบสามารถจองผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตังค์ รวมทั้งร้านสะดวกซื้อและห้างฯ (ทั้งกลุ่มที่มีสมาร์ทโฟนและไม่มีสมาร์ทโฟน) และระบบ Web based เพื่อลงทะเบียนจองใช้บริการฉีดวัคซีนใน 25 สถานที่นอกโรงพยาบาล ที่ กทม.จัดไว้ให้ ทั้งนี้รายละเอียดการลงทะเบียนกรุงเทพมหานคร จะแจ้งให้ประชาชนทราบภายในสัปดาห์หน้า

6.หน่วยบริการเชิงรุกสำหรับผู้ประกันตนกับโรงพยาบาลคู่สัญญาและหน่วยบริการเคลื่อนที่ (Mobile unit) ของสำนักอนามัย กทม.กับกรมควบคุมโรค สำหรับบริการกลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส


แชร์ :

You may also like