HomeBrand Move !!ควักตังค์เพิ่ม! กทม.เคาะค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS ตลอดสาย จ่ายสูงสุด 104 บาท เริ่ม 16 ก.พ.นี้

ควักตังค์เพิ่ม! กทม.เคาะค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS ตลอดสาย จ่ายสูงสุด 104 บาท เริ่ม 16 ก.พ.นี้

แชร์ :

bkk bts cover

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องการกำหนดค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (BTS) อัตราใหม่ตลอดสายสูงสุดราคา 104 บาท ลดลงจาก 158 บาท เริ่ม 16 ก.พ.นี้ เร่งเจรจาแก้สัมปทาน เป็นแนวทาง PPP  ลดค่าโดยสารเหลือ 65 บาทตลอดสาย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ตามประกาศกรุงเทพมหานครดังกล่าว ระบุถึงการเรียกเก็บอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว BTS ส่วนต่อขยาย สรุปได้ดังนี้

1. ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงเส้นทางสัมปทานในปัจจุบัน (หมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-วงเวียนใหญ่) เป็นไปตามตารางที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เป็นผู้กำหนด ซึ่งยังคงจัดเก็บในอัตราเดิม คือ 16-44 บาท

2. ส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต จากสถานีห้าแยกลาดพร้าว ถึงสถานีคูคต ค่าโดยสาร 15 – 45 บาท ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี

3. ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท จากสถานีบางจาก ถึงเคหะสมุทรปราการ ค่าโดยสาร 15-45 บาท ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี

4. ส่วนต่อขยายสายสีลมช่วงที่ 2 จากสถานีโพธิ์นิมิตร ถึงสถานีบางหว้า ค่าโดยสาร 15-24 บาท ปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี

การจัดเก็บค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีเขียว BTS รวมส่วนต่อขยาย สีลมและสุขุมวิท ให้จัดเก็บครั้งเดียว และให้จัดเก็บค่าโดยสารตลอดเส้นทางไม่เกิน 104 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564

กทม.แจงลดราคาตลอดสายจาก 158 บาท เหลือ 104 บาท

คำชี้แจงของกรุงเทพมหานคร ต่อการปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว BTS ระบุว่า เนื่องจากการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ และ หมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ที่ทยอยเปิดให้บริการเดินรถตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.2561 และเปิดทั้งระบบในวันที่ 16 ธ.ค.2563 โดยช่วงทดลองให้บริการยังเดินรถไม่เต็มรูปแบบ “ไม่มีการเรียกเก็บค่าโดยสาร” จากผู้ใช้บริการเป็นเวลาเกือบ 3 ปี  เนื่องจาก กทม.ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน

ปัจจุบันมีการเปิดให้บริการเดินรถเต็มทั้งระบบแล้ว ประกอบกับ กทม. มีภาระค่าใช้จ่ายในการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว  “ส่วนต่อขยาย” จึงมีความจำเป็นต้องเริ่มเรียกเก็บค่าโดยสารจากผู้ใช้บริการในส่วนต่อขยายสายสีเขียว ตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ.2564 โดยผู้ใช้บริการในส่วนหลัก ช่วง “หมอชิต-อ่อนนุช” ยังเสียค่าโดยสารในอัตราเดิม และไม่มีการเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน

ส่วนหลัก (หมอชิต-อ่อนนุช และสะพานตากสิน-สนามกีฬาแห่งชาติ) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย (ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า และอ่อนนุช-แบริ่ง และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) โดยประชาชนจะจ่ายค่าแรกเข้าสำหรับการใช้บริการโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวครั้งเดียวต่อรอบ ดังนี้

– ส่วนต่อขยายที่ 2  ช่วงห้าแยกลาดพร้าว -คูคต ค่าโดยสาร 15-45 บาท กรณีเดินทางจากส่วนหลักข้ามไปช่วงห้าแยกลาดพร้าว-คูคต 30 บาท (ไม่คิดค่าแรกเข้าซ้ำ)

– ส่วนหลัก ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช ค่าโดยสารสูงสุด 16-44 บาท กรณีเดินทางจากส่วนหลักข้ามไปช่วงห้าแยกลาดพร้าว-คูคต  44 บาท

– ส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงบางจาก-แบริ่ง  ค่าโดยสาร 15-45 บาท  กรณีเดินทงจากส่วนหลักข้ามไปช่วงบางจาก-เคหะฯ 30 บาท (ไม่คิดค่าแรกเข้าซ้ำ)

– ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงสำโรง-เคหะฯ ค่าโดยสาร 15-45 บาท กรณีเดินทงจากส่วนหลักข้ามไปช่วงบางจาก-เคหะฯ 30 บาท (ไม่คิดค่าแรกเข้าซ้ำ)

จากเดิมอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุดตลอดสายจะอยู่ที่ 158 บาท แต่เพื่อบรรเทาผลกระทบประชาชนในสถานการโควิด-19 กทม.จะปรับอัตราค่าโดยสารสูงสุดตลอดสายอยู่ที่ 104 บาท ซึ่ง กทม.จะมีผลขาดทุนจากการดำเนินการส่วนต่อขยายประมาณปีละ 3,000-4,000 ล้านบาท เมื่อรวมตั้งแต่ปี 2564 ถึงปี 2572 จะมีผลขาดทุนประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท

bts skytrain

เจรจา PPP ลดราคาเหลือ 65 บาทตลอดสาย

ที่ผ่านมา กทม.ได้หาทางแก้ไขปัญหาการปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว รวมถึงศึกษาแนวทางการดำเนินการต่างๆ  กทม.เห็นว่าการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (Public-Private Partnership : PPP)  เป็นแนวทางที่เหมาะสมและดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยจะให้เอกชนเข้ามารับภาระหนี้สินของ กทม. เพื่อที่จะทำให้ กทม. สามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ไม่เป็นภาระต่อประชาชน

ปัจจุบัน กทม.อยู่ระหว่างการนำเสนอแก้ไขสัญญาสัมปทานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ หาก ครม.เห็นชอบแล้ว การแก้สัญญาสัมปทาน จะช่วยลดค่าโดยสารสูงสุด จาก 104 บาท เป็น 65 บาท ลดลง 39 บาท อีกทั้งยังแก้ภาระหนี้สินกว่า 120,000 ล้านบาทของ กทม.ได้ ประกอบด้วย

– ภาระหนี้สินเดิมที่เกิดขึ้นจากการรับโอนโครงการส่วนต่อขยายที่ 2 ทั้งในส่วนเงินต้นค่างานโยธาประมาณ 55,000 ล้านบาท และภาระดอกเบี้ยในอนาคตอีก 10,000 ล้านบาท

– ค่าลงทุนในงานระบบ (E&M) ในส่วนต่อขยายที่ 2 ประมาณ 20,000 ล้านบาท

– ภาระหนี้ค่าจ้างงานเดินรถค้างจ่ายอีกประมาณ 9,000 ล้านบาท

– ภาระขาดทุนจากการดำเนินงานส่วนต่อขยายตั้งแต่ปี 2564-2572 รวม 30,000-40,000 ล้านบาท

หากสามารถดำเนินการตามแนวทาง การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) เอกชนยังต้องแบ่งรายได้ค่าโดยสารหลังปี 2572 ให้ กทม. อีกกว่า 200,000 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งเพิ่มเติมในกรณีที่ผลประกอบการจริงดีกว่าที่คาดการณ์ตอนเจรจา

กทม. ยืนยันว่าจะพยายามแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพื่อลดผลกระทบประชาชนให้ได้มากที่สุด โดยจะชี้แจงเหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับจากการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ต่อรัฐบาล เพื่อให้สามารถปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสายลดลงเหลือ 65 บาท โดยเร็วที่สุด

bangkok bts

bangkok bts


แชร์ :

You may also like