HomeFinancialกรุงศรี มองตลาดเงินปีฉลู “ราบเรียบ” แต่ไม่ “ราบรื่น” พร้อมแนะแนวทางปรับตัวที่น่าสนใจ

กรุงศรี มองตลาดเงินปีฉลู “ราบเรียบ” แต่ไม่ “ราบรื่น” พร้อมแนะแนวทางปรับตัวที่น่าสนใจ

แชร์ :

คุณตรรก บุนนาค ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านโกลบอลมาร์เก็ต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

ย่างเข้าเดือนสุดท้ายของปี 2563 กันแล้ว ปีที่ยากลำบากสำหรับตลาดเงินไทยปีหนึ่งทีเดียว เพราะต้องเผชิญความผันผวนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แบบที่ไม่มีใครคาดคิดว่าหนักหนาสาหัสขนาดนี้ แม้ตอนนี้สถานการณ์ในประเทศไทยจะเริ่มคลี่คลายดีขึ้น และผลการทดลองวัคซีนมีแนวโน้มที่ดี แต่หลายคนยังคงกังวลจากความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไปดูกันว่าทิศทางตลาดเงินไทยปี 2564 จะเป็นอย่างไร? ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้ฉายภาพสถานการณ์ไว้อย่างน่าสนใจ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ชี้ ปี 64 ตลาดเงิน “ราบเรียบ” แต่ไม่ “ราบรื่น” ค่าบาทแข็งโป๊ก

“ตลาดเงินปี 2564 ราบเรียบแต่ไม่ราบรื่น ทิศทางเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง โดยในสิ้นปี 2563 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนปี 2564 คาดว่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 29-30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ” คำกล่าวของ คุณตรรก บุนนาค ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านโกลบอลมาร์เก็ต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ถึงทิศทางตลาดเงินในปีฉลู ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนที่ยากจะคาดเดาได้ และหลากหลายปัจจัย

หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทิศทางค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องมาจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะนโยบายค่าเงินของสหรัฐฯ ที่ดอลลาร์อ่อนค่าลง ทั้งนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายขนาดใหญ่ และความพยายามที่จะตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำเป็นระยะเวลานาน รวมทั้งการขาดดุลการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้การคาดการณ์เงินเฟ้อสูงขึ้นและอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงของสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ลดลง การขาดดุลแฝด หรือการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุลการคลังในเวลาเดียวกัน การกีดกันทางการค้าที่มีแนวโน้มลดความรุนแรงลงช่วยกดดันค่าเงินหยวนและสกุลคู่ค้าในภูมิภาค เงินทุนไหลกลับสู่กลุ่มตลาดเกิดใหม่รวมทั้งไทย

ขณะที่ ปัจจัยภายในประเทศ ก็มีผลเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นบัญชีเดินสะพัดของไทยยังเกินดุลเล็กน้อย โดยคาดว่าในปี 2564 จะเกินดุล 1.88 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ น้อยกว่าปีที่คาดว่าจะเกินดุล 2.03 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 600,000 ล้านบาท ซึ่งยังมากกว่ากระแสเงินทุนจากพันธบัตรและตลาดหุ้นที่ไหลออกจากประเทศไทยประมาณ 3.1 แสนล้านบาท รวมทั้งการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างช้าๆ ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงสามารถรับมือการไหลออกอย่างรวดเร็วของเงินทุน และมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อลดความผันผวนของค่าเงินบาท รวมถึงการ Recycle การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในรูปของการผ่อนคลายกฎเกณฑ์สำหรับการออกไปลงทุนในต่างประเทศ ขณะเดียวกัน ยังต้องติดตามการพัฒนาวัคซีนและการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึง สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 การปิดเมือง หรือ การกลายพันธุ์ รวมทั้งบทสรุป Brexit

Local Currency ทางออกผู้ประกอบการส่งออกยุคบาทแข็ง

คุณตรรก ยังชี้ว่า หากปีหน้าเงินบาทแข็งค่าอยู่ที่ระดับ 29 บาท ภาคการส่งออกไทยอาจได้รับผลกระทบ ซึ่งจากการพูดคุยกับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยอมรับกับค่าเงินที่ระดับ 30-31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะกลุ่ม SME จำต้องปรับตัว และนำเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนมาใช้เพิ่มขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือ Local Currency

“ถ้าผู้ประกอบการยังอยู่กับดอลลาร์ ต้องรู้จักใช้เครื่องมือเพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาดอลลาร์ แต่ถ้าสามาถทำได้ ก็หันมาใช้ Local Currency เพราะช่วยให้ต้นทุนการบริหารความเสี่ยงต่ำ”

ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่เป็นลูกค้าของธนาคารสนใจใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงเพิ่มขึ้น โดยลูกค้าที่มีธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยนใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยง 70% เพิ่มจากปีก่อนหน้าที่มีลูกค้าใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยง 50% ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลาง โดย Local Currency ที่มีการใช้มากสุดคือ หยวน แต่ที่มาแรงคือ รูเปียห์

ส่วนนักลงทุนที่กำลังมองการลงทุนในปีหน้า คุณตรรก แนะว่าแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก สะท้อนจากดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระดับสูงกว่า 1,400 จุด ส่วนพันธบัตรแม้ว่าผลตอบแทนระยะสั้นจะต่ำ แต่ผลตอบแทนระยะยาวเริ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันภาคเอกชนเริ่มออกหุ้นกู้รุ่นใหม่เพื่อทดแทนรุ่นเดิมมากขึ้น ทำให้นักลงทุนมีทางเลือกเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงต้องระมัดระวัง ไม่ควรลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากๆ

 


แชร์ :

You may also like