HomeSponsoredL’Oreal ขับเคลื่อนธุรกิจยั่งยืน ด้วยพลังท้องถิ่น เผยสูตรลับ “น้ำมันรำข้าว” จากประเทศไทย ในแชมพู

L’Oreal ขับเคลื่อนธุรกิจยั่งยืน ด้วยพลังท้องถิ่น เผยสูตรลับ “น้ำมันรำข้าว” จากประเทศไทย ในแชมพู

แชร์ :

“ผู้บริโภคต้องการความยั่งยืนและพวกเขายอมจ่ายเพื่อความยั่งยืนจริงๆ หรือ?” นี่คือหนึ่งในคำถามที่ผู้ร่วมงาน Sustainability for Business Forum 2020 ถามขึ้นมา ระหว่างช่วงเสวนา CEO ในหัวข้อ Sustainability as a Corporate Strategy นี่คงเป็นคำถามที่นักธุรกิจ นักการตลาดทุกคนเคยสงสัยว่า แบรนด์ลงทุนตั้งแต่กระบวนการผลิต คัดเลือกบรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงการทำตลาดเพื่อสื่อสาร Brand Purpose เหล่านี้ไปสู่ผู้บริโภค แต่นั้นเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ หรือ???

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

คุณอินเนส คาลไดรา กรรมการผู้จัดการ ลอรีอัล ประเทศไทย ร่วมเป็นหนึ่ง ในผู้ร่วมเสวนาบนเวที ได้ไขข้อข้องใจโดยกล่าวว่า “เวลาที่เราทำวิจัยการตลาด เรามักจะได้คำตอบว่าผู้บริโภคต้องการสินค้าที่มาจากแบรนด์ที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืน และพวกเขาก็พร้อมจะจ่ายมากกว่า แต่ในตอนนี้ต้องยอมรับว่า บางครั้งเมื่ออยู่หน้าชั้นวางสินค้า หรือที่นักการตลาดเรียกว่า Moment of Truth (MOT) พวกเขาก็อาจถูกโปรโมชั่นหรือสิ่งอื่นชักจูงไป อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มว่าผู้บริโภครุ่นใหม่ใส่ใจกับเรื่องราวเหล่านี้มากขึ้น ในฐานะแบรนด์เราก็ต้องสร้างทางเลือกให้กับผู้บริโภค”

คุณแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ ผู้ร่วมเสวนาอีกท่าน กล่าวเสริมว่า “การเอาชนะใจมิลเลนเนี่ยล ถือเป็นการตลาดแห่งอนาคต และถ้าหากว่าสินค้าที่คุณภาพเท่ากัน ราคาเท่ากัน เรื่องราว (Story) ที่เกี่ยวกับที่มาของสินค้าจะดึงดูดลูกค้าให้เขาสนใจโปรดักท์ของคุณ”

เพียงเริ่มต้นเหล่าผู้บริหารระดับสูงของบริษัทก็เผชิญหน้ากับคำถามที่ท้าทายซะแล้วว่า “ผลตอบแทนทางธุรกิจ” กับ “ความยั่งยืนของสังคม” เป็นเรื่องที่ควรพิจารณาไปควบคู่กันหรือไม่ และในฐานะผู้นำองค์กร พวกเขาจะสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าของตัวเองขณะเดียวกันก็คำนึงถึงการพัฒนาด้านอื่นๆ ควบคู่กันได้ไปอย่างไร

ความยั่งยืน คือ คุณค่าที่แท้จริงคำสัญญาของ Global Brand

ทางด้าน MD ลอรีอัลประเทศไทย เล่าต่อว่า “เรื่องของความยั่งยืน นับว่าเป็นคำประกาศที่ยิ่งใหญ่ มันคล้ายกับการทำงานหนักเพื่อส่งลูกไปโรงเรียนที่ดี และหวังว่าในอนาคตเขาก็จะมีชีวิตที่ดี มีงานที่ดี มันคือการลงทุนเพื่ออนาคต เพื่อคนรุ่นต่อไป ที่ลอรีอัลเราเองก็ลงทุนในด้านต่างๆ มาหลายปี เพื่อความยั่งยืน เพื่อความรับผิดชอบ และเมื่อลูกค้าตระหนักถึงคุณค่าของบริษัทของเราผ่านเรื่องเหล่านี้ นั่นคือ คุณค่าที่แท้จริงที่จะติดอยู่กับองค์กร แล้วลูกค้าก็จะชื่นชอบเรา”

“ในธุรกิจความงามยุคหนึ่งเราเคยทดลองผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วยสัตว์ แต่ลอรีอัลของเราก็เป็นแนวหน้าในการคิดนวัตกรรมเพื่อเลิกใช้วิธีการนี้ นี่คือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ต่อมาเราก็มีนโยบายความยั่งยืนที่จริงจังมากขึ้นเรียกว่า Sharing Beauty with All ซึ่งเราตั้งในปี 2013 นั่นเป็นพื้นฐานของสิ่งที่เราลงมือทำในอยู่ในทุกๆ วัน และวันนี้เราก็มีเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นจากนโยบาย L’Oreal for the Future ที่เราจะต้องเร่งก้าวไปให้ถึงเป้าในปี 2030 ”

คุณอินเนส คาลไดรา กรรมการผู้จัดการ ลอรีอัล ประเทศไทย

คุณโฟลเรียน เบนโฮลด์ กรรมการผู้จัดการบริษัทซิมไบโอร์ โซลาร์ จำกัด อธิบายความหมายของความยั่งยืน กับเป้าหมายทางธุรกิจผ่านมุมมองของคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมพลังงาน โดยสินค้าของเขาก็คือ แผงโซล่าร์ที่ติดตั้งในโรงงาน โดยเขาระบุว่า “คุณค่าและเป้าหมายของเรา เป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนโดยตรงอยู่แล้ว นั่นคือช่วยให้ลูกค้าของเราบรรลุเป้าหมาย ประหยัดมากขึ้นด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์ ดังนั้น งบดุลของลูกค้า ซัพพลายเชนทั้งหมด และการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทั้งหมดก็คือคำตอบที่ถูกต้องที่เราต้องทำ”

คุณโฟลเรียน เบนโฮลด์ กรรมการผู้จัดการบริษัทซิมไบโอร์ โซลาร์ จำกัด

Sustainability for Business คือ แนวคิดทั้งกระบวนการ

Sustainability for Business ความยั่งยืนในธุรกิจ ไม่ใช่มุมมองด้านกำไรสุทธิของตัวบริษัทเองเท่านั้น แต่ต้องเติบโตร่วมกันทั้ง “ซัพพลายเชน” นั่นหมายถึง ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดขององค์กร ตัวอย่างของ NRF ผู้ผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปที่เพิ่งเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยชูจุดขาย “Plant-Based Meat” เป็นกรณีศึกษาที่ดีที่จะกล่าวถึงในประเด็นนี้ ในเมื่อวัตถุดิบเริ่มแรกในธุรกิจเขาเกี่ยวพันโดยตรงกับ “เกษตร” ซึ่งปัจจุบันนี้ เผชิญหน้ากับความท้าทายอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นค่าตอบแทนต่ำ การทำงานหนัก ความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศจนคาดเดาไม่ได้ จนคนรุ่นใหม่ไม่อยากสืบสานงานของครอบครัวอีกต่อไป แล้วมุ่งหน้าหางานทำในเมืองแทน

คุณแดน ปฐมวาณิชย์ เล่าถึงภารกิจของเขาว่า “เราเริ่มต้นในปี 2017 การแบ่งปันความรู้กับชาวนาตามแผนของ UNSDG เป้าหมายก็คือเราต้องการให้ชาวนาที่อยู่กับเรามีรายได้ดีขึ้น 50% แสดงให้เขาเห็นว่าอาชีพของพวกเขามีความสำคัญ ทำให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นว่าปลูกข้าวก็รวยขึ้นได้ และเอาเทคโนโลยีเข้าไปช่วยเหลือพวกเขาให้ทำงานง่ายขึ้นมีประสิทธิภาพดีขึ้น”

คุณแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์

ด้าน “ลอรีอัล” ไม่ใช่แค่กระบวนการผลิตเท่านั้นแต่ทุกๆ Touch Point ล้วนแล้วแต่ต้องคำนึงถึง “ความยั่งยืน” ในกระบวนการผลิต มีแนวคิดที่จะใช้ “น้ำ” ให้น้อยลง ซึ่งตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมาลอรีอัลลดการใช้น้ำลงได้ถึง 51% และลด Greenhouse Gas ลง 78%  นอกจากนี้ยังมีการคิดค้นนวัตกรรม เช่น แชมพูที่ลดการใช้น้ำเมื่อล้างออก ยังมีส่วนของบรรจุภัณฑ์ ที่ลอรีอัลให้ความสำคัญอย่างยิ่ง “กระดาษ” ที่ได้มาตรฐานรับรองว่ามาจากกระบวนการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ขณะที่พลาสติกที่ใช้ต้องเป็นไบโอพลาสติกที่ย่อยสลายได้ตามกระบวนการตามธรรมชาติ

และที่เกี่ยวพันกับผู้บริโภคโดยตรงก็คือ ลอรีอัล จะเพิ่มฐานข้อมูลในเว็บไซต์ ที่บอกเล่าเรื่องราวที่คุณอินเนสใช้คำว่า “The Truth behind Product” ซึ่งก็คือข้อมูลด้านความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เปิดเผยให้ผู้บริโภครับทราบระดับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะได้เห็นมากขึ้นมากลุ่มผลิตภัณฑ์ของลอรีอัล โดยมีเป้าหมายว่า สินค้าทั้งหมดทุกแบรนด์จะต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวภายในปี 2030 และในเร็วๆ นี้ใน ประเทศไทยก็จะได้เห็นในสินค้าแบรนด์การ์นิเย่ เป็นสินค้ากลุ่มแรกที่เดินตามเส้นทางสู่ความยั่งยืน หลังจากไตรมาสแรกของปี 2019 ในระดับโกลบอลเพิ่งมีการเปลี่ยนสโลแกนของแบรนด์เป็น ‘By Garnier, Naturally’ สะท้อนความหมายต่อไปนี้ การ์นิเย่จะผลิตสินค้าที่ดีกับผู้บริโภค และดีต่อโลก

“น้ำมันรำข้าว” ภูมิปัญญาไทย ในแบรนด์ระดับโลก

ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ การให้ความสำคัญกับ “วัตถุดิบท้องถิ่น” คุณอินเนส เผยสูตรลับว่า ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและยาสระผมของลอรีอัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสูตรป้องกันรังแค มีส่วนผสมของ “น้ำมันรำข้าว” จากเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ ของประเทศไทย

ซึ่งเบื้องหลังสูตรลับนี้ เกิดจากวิสัยทัศน์ขององค์กร ที่อยากให้ลอรีอัลได้เข้าไปมีส่วนช่วยเหลือเกษตรกรในท้องถิ่นของแต่ละประเทศที่บริษัทเข้าไปดำเนินธุรกิจ จนเป็นโจทย์ที่ถูกส่งต่อให้ทีมนักวิจัยไปค้นหาคุณประโยชน์ของพืชท้องถิ่น ซึ่งเหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีมากมายในเครือ และในประเทศไทย ก็ลงตัวที่ “น้ำมันรำข้าว” จากข้าวหอมมะลิ

ขณะเดียวกันก็เป็นกรณีศึกษา ที่น่าสนใจสำหรับ ภูมิปัญญาชาวที่มีโอกาสได้โกอินเตอร์ร่วมงานกับ Global Brand เมื่อทางฝั่งของทางแบรนด์เองก็ต้องพิจารณาร่วมงานกับกลุ่มชุมชนที่สามารถส่งมอบวัตถุดิบได้ตรงกับมาตรฐานความต้องการ และในปริมาณที่ตกลงกันไว้ ซึ่งกลุ่มเกษตรกรที่สุรินทร์ ก็เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง ตอบโจทย์การทำงานในระดับอุตสาหกรรม จนเป็นที่มาของความร่วมมือในระยะยาว และช่วยสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการ

“ด้วยความเป็น Global Brand สิ่งที่ ลอรีอัลประกาศว่าจะทำ ต้องไม่ใช่แค่ในประเทศไทย หรือที่บริษัทแม่ของเราในฝรั่งเศสเท่านั้น แต่หมายถึงลอรีอัลทั่วโลก ต้องขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน มันเป็นคำมั่นสัญญาที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ เวลา และความทุ่มเทอย่างมาก แต่เราก็มีพาร์ทเนอร์ที่คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อให้มันเกิดขึ้นจริงให้ได้”

“อนาคตนับจากนี้ธุรกิจจะถูก Disrupt ด้วย 2 ประเด็นสำคัญ 1. Digital ซึ่งมันเริ่มต้นขึ้นมาพักใหญ่แล้ว แต่มันจะ Disrupt ตัวเองขนานใหญ่อีกครั้ง และมันจะ Disrupt ซัพพลายเชนทั้งหมด เพื่อพาให้สังคมไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ซึ่งเราถือว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะสื่อสารกับผู้บริโภค  2. Trust ผู้บริโภคจะเริ่มตั้งคำถาม ว่าอะไรอยู่เบื้องหลังผลิตภัณฑ์หรือ Influencer  หรือแบรนด์ที่พวกเขาเชื่อถือ และดิฉันคิดว่านี่คือโจทย์ใหญ่ที่ทุกแบรนด์ต้องนำไปคิด” นายใหญ่ลอรีอัลประเทศไทยกล่าวทิ้งท้าย


แชร์ :

You may also like