HomeBrand Move !!หมดภายใน 1 นาที Qantas เลหลัง “รถเข็น” บนเครื่อง โบอิ้ง 747 พร้อมเครื่องดื่มเต็มคัน

หมดภายใน 1 นาที Qantas เลหลัง “รถเข็น” บนเครื่อง โบอิ้ง 747 พร้อมเครื่องดื่มเต็มคัน

แชร์ :

นับว่าเป็นอีกหนึ่งความพยายามแสวงหารายได้ของ “ธุรกิจสายการบิน” อย่างสายการบินไทยยังลุกขึ้นมาเปิดร้านอาหาร ขายปาท่องโก๋ สายการบินออสเตรเลียอย่าง Qantas Airways(สายการบินแควนตัส) ก็ขอทำอะไรเซอร์ไพร์สลูกค้าบ้าง ด้วยการขายรถเข็นเครื่องดื่มจากเครื่อง Boeing 747 ซึ่งปลดเกษียณแล้ว

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

หนทางสร้างรายได้ ในช่วงวิกฤติสายการบิน

เป็นที่ทราบกันดีว่า ธุรกิจสายการบินเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักหนาสาหัสอย่างยิ่งในช่วง Covid-19 เพราะผู้คนเดินทางไม่ได้ จนสายการบินแต่ละแห่งต้องต่อสู้อย่างหนัก ล่าสุด Qantas สายการบินสัญชาติออสเตรเลีย หยิบเอา “รถเข็นบนเครื่องบิน” Boeing 747 ที่เคยรับใช้ผู้โดยสาร ในเส้นทางลอนดอน ลอสแองเจลลีส ซานดิเอโก้ และสิงคโปร์ กว่า 2,000 เที่ยวบินมาขาย

ไม่ใช่แค่ตัวรถเข็นเท่านั้น แต่ยังประกอบไปด้วยไลน์อัพเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ไวน์ขาว 40 ขวด ไวน์แดง 40 ขวดและแชมเปญ 1 ขวด ยังมีขนม ที่ใช้เสิร์ฟบนที่นั่งชั้นเฟิร์สคลาสก็มาครบ พร้อมกับชุดนอนและสินค้าอื่นๆ อย่าง amenity kits ที่ใช้บนชั้นธุรกิจ

Phil Capps, Qantas executive manager ด้านสินค้าและบริการ กล่าวว่า “ในขณะที่เราไม่ได้ใช้มันแล้ว แต่ชีวิตของพวกมันยังดำเนินต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้คนที่รักการบิน โดยผ่านวิธีการออกแบบมาเพื่อให้บริการบนท้องฟ้า”

ซึ่งนั่นทำให้สินค้าที่ราคารวมแล้ว 685  ดอลล่าร์สหรัฐ (22,000 บาท) ขายเกลี้ยง ภายในไม่ว่านาทีเดียวหลังเปิดจำหน่าย

หมดยุค โบอิ้ง 747 “ราชินีแห่งฟากฟ้า”

ก่อนหน้านี้ Qantas ขายสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับ Boeing 747 มาหลายอย่างแล้ว เช่น โคมไฟ ช่องเก็บของ รวมทั้งเดือนตุลาคมก็วางแผนเปิดประมูลสินค้าอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อระดมทุนการกุศล ให้กับ Royal Institute of Deaf and Blind Children

เหตุผลใหญ่ที่ทำให้เกิดการนำเอาสินค้ามาเลหลัง และเปิดประมูลอีกอย่างก็คือ “ความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการบิน” เมื่อเครื่อง Boeing 747 รับใช้มนุษยชาติมาตั้งแต่ปี 1968 หรือราว 50 ปีก่อน โดยเป็นเครื่องขนาดใหญ่ เหมาะกับการบินเส้นทางไกลๆ แต่ปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป อาจจะไม่ต้องการเครื่องบินลำใหญ่ขนาดนี้แล้ว อย่างไรก็ตาม ความผูกพันของเครื่องบินรุ่นนี้ก็ยังอยู่ในใจผู้บริโภคอยู่ ในส่วนของแควนตัสเองก็ปลดประจำการเครื่องรุ่นนี้ไปเมื่อ กรกฏาคม 2020 เมื่อถูกกระหน่ำด้วยวิกฤติ Covid-19

 

 


แชร์ :

You may also like