HomePR Newsเปิดแผนการตลาดสร้างสตาร์ทอัพรับมือ Covid-19 แบรนด์ต้องแกร่ง มีฐานข้อมูลลูกค้า และใช้โซเชียลมีเดียเป็น [PR]

เปิดแผนการตลาดสร้างสตาร์ทอัพรับมือ Covid-19 แบรนด์ต้องแกร่ง มีฐานข้อมูลลูกค้า และใช้โซเชียลมีเดียเป็น [PR]

แชร์ :

ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์

สถานการณ์ในยุค Covid-19 นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงในหลากหลายแง่มุม โดยเฉพาะในด้านพฤติกรรม ผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น รักษาความสะอาดมากขึ้น และใช้เทคโนโลยีเพื่อลดการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล นั่นจึงไม่น่าแปลกใจที่สตาร์ทอัพในกลุ่มเทคโนโลยีทางการแพทย์กลายเป็นอีกหนึ่งวงการ ที่น่าจับตา และมีโอกาสเติบโตอย่างมากในอนาคต

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สะท้อนจากตัวเลขมูลค่าอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 ที่สูงถึง 1.38 ล้านล้านบาท อันดับหนึ่ง คือ การให้บริการทางสุขภาพ 49%, รองลงมา คือ เครื่องสำอาง อาหารเสริม 25%, ผลิตภัณฑ์ยา 14% และเครื่องมือแพทย์ 12%

ด้วยเหตุนี้ เพื่อเตรียมตัวให้สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความพร้อมรับมือการเติบโต และความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงได้จัดการเสวนาเรื่อง “Life Sci. Startup : โอกาส ความท้าทาย และความเป็นไปได้ในการเติบโต” ให้กับสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ ภายใต้โครงการ “Life Sci. Level Up Challenge 2020” รุ่นที่ 4 จำนวน 27 ทีม เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในด้านการตลาด และสามารถมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในโลกธุรกิจได้

ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ เปิดเผยถึงโครงการ ดังกล่าวว่า “การพัฒนาผู้ประกอบการ และกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็น ไบโอเทค, ฟาร์มาซูติคอล, เครื่องมือแพทย์ (Medical Devices), การวินิจฉัยโรค (Diagnostics), เครื่องสำอาง-อาหารเสริม และ Digital Health IT นั้นถือเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางสถานการณ์ที่โรคระบาดใหม่ ๆ อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา”

กระนั้น การบุกตลาดชีววิทยาศาสตร์ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะในยุคที่ผู้บริโภคมีความ หลากหลาย และอยากให้แบรนด์เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งแบรนด์ต้องผสมผสาน ทั้งศาสตร์ด้านการพัฒนาอย่างมีมาตรฐาน มีการใช้องค์ความรู้จากงานวิจัย ร่วมกับการใช้ศาสตร์ ด้านการตลาดดิจิทัล ในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มต่าง ๆ ด้วยรูปแบบเฉพาะเจาะจง

พร้อมจัดอบรมให้ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยเชิญอาจารย์ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย นักการตลาดชื่อดัง มาให้ทัศนะเกี่ยวกับการทำธุรกิจของสตาร์ทอัพว่า ก่อนจะเริ่มต้นธุรกิจนั้น สิ่งที่จำเป็นต้องพิจารณาก็คือ สินค้าหรือบริการที่คิดขึ้นนั้น “จำเป็นไหม” เพราะหากเป็นสิ่งจำเป็น ในชีวิตประจำวัน เช่น ปัจจัยสี่ โอกาสที่จะไม่ประสบความสำเร็จนั้นจะต่ำกว่า เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น ๆ นอกจากนี้ ต้องมาดูด้วยว่า สินค้าและบริการของเรามีความแตกต่างกับสินค้า ในท้องตลาดหรือไม่ ถ้ามี สามารถเอาชนะสินค้าอื่น ๆ ได้ด้วยจุดต่างนั้นหรือเปล่า เช่น การทำธุรกิจอาหาร อาจมีคนทำเยอะ แต่ถ้าเราทำอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือโรคเบาหวาน ก็จะทำให้กลุ่มเป้าหมาย ของเรามีตัวตนที่ชัดเจนมากขึ้น

“ความสำคัญข้อต่อมาคือการพิจารณาว่า ฐานลูกค้ามีกำลังซื้อหรือไม่ มี Insightอย่างไร ทั้งหมดนี้ จะได้มา สตาร์ทอัพต้องสร้างฐานข้อมูลลูกค้า และทำรีเสิร์ชเพื่อให้สามารถเข้าใจความต้องการ ทัศนคติ รสนิยม ความชอบ ฯลฯ ของลูกค้าได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น ในอดีตการจะได้มาซึ่งข้อมูลพฤติกรรมนั้น ทำได้ยากมาก และต้องใช้ทีมวิจัยออกสำรวจความคิดเห็นกลุ่มเป้าหมาย แต่สำหรับโลกยุค 5G วิธีเก็บข้อมูลเชิงลึก – ข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้ากลับทำได้สะดวกขึ้นผ่านตัวช่วยอย่างสมาร์ทโฟน แอปพลิเคชัน โซเชียลมีเดีย”อ.ธันยวัชร์ แนะนำ

อาจารย์ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย

อย่างไรก็ตาม นักการตลาดชื่อดังให้ความรู้ต่อว่า ความพยายามทั้งหมดนี้อาจนำไปสู่การลอก เลียนแบบโดยคู่แข่ง หรือคนที่ตามมา ทีหลังได้ ส่งผลให้สตาร์ทอัพต้องให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ ร่วมด้วย เพราะหากแบรนด์แข็งแกร่ง เสียแล้ว การถูกก๊อปปี้ก็จะเกิดได้ยากขึ้น ที่ผ่านมาการสร้างแบรนด์ สามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การสร้างแบรนด์ผ่านการเล่าเรื่อง (Story-telling) หรือบางแบรนด์ อาจใช้อินฟลูเอนเซอร์ช่วยสร้างความตระหนักรู้ (Awareness) ในกลุ่มเป้าหมายซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม กระนั้น หากตัวสินค้าหรือบริการ มีคุณภาพ-แตกต่างจากสิ่งที่มีในตลาดด้วยแล้ว ลูกค้าจะเป็นผู้บอกต่อ ให้เอง (Viral) และสามารถช่วย ให้แบรนด์เติบโตได้อย่างที่ต้องการในที่สุด

“การมาถึงของแพลตฟอร์มออนไลน์จึงไม่เพียงเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับ 4P ซึ่งประกอบด้วย Product, Price, Place และ Promotion แต่ยังมาพร้อมโอกาสใหม่ ๆ ที่ไร้พรมแดน และเครื่องมือที่ช่วยให้แบรนด์รู้จักลูกค้าได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นด้วย ขอเพียงสตาร์ทอัพให้ความสนใจ และใส่ใจเรียนรู้เครื่องมือต่าง ๆ ก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่กล่าวมาได้อย่างแน่อน” อาจารย์ธันยวัชร์ กล่าวทิ้งท้าย


แชร์ :

You may also like