HomePR News“เอมันนี่” จับมือ “เทยินฯ” คิกออฟโครงการรักษ์โลก “A money x Teijin บัดดี้ชวนส่งต่อขวด PET เปลี่ยนเป็นเสื้อให้น้อง” [PR]

“เอมันนี่” จับมือ “เทยินฯ” คิกออฟโครงการรักษ์โลก “A money x Teijin บัดดี้ชวนส่งต่อขวด PET เปลี่ยนเป็นเสื้อให้น้อง” [PR]

แชร์ :

“เอมันนี่” ผนึกพันธมิตร “เทยินฯ” เปิดตัวโครงการซีเอสอาร์  “A money x Teijin บัดดี้ชวนส่งต่อขวด PET เปลี่ยนเป็นเสื้อให้น้อง” นำร่องผลิตเสื้อจากขวดน้ำพลาสติกใส  100 ตัว เพื่อส่งมอบให้กับน้องๆ เยาวชน พร้อมจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี ผ่านกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นายยูจิ ฟุคาดะ (Mr. Yuji Fukada)  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอร่า แอนด์ ไอฟุล จำกัด (มหาชน)
ผู้ให้บริการบัตรกดเงินสด “เอมันนี่” (A money) ภายใต้สโลแกน “A money บัดดี้เรื่องเงิน”  เปิดเผยว่า บัตรกดเงินสด A money ร่วมกับบริษัท เทยิน โพลีเอสเตอร์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเส้นใยโพลีเอสเตอร์ชั้นนำในประเทศไทย จัดทำโครงการ “A money x Teijin บัดดี้ชวนส่งต่อขวด PET เปลี่ยนเป็นเสื้อให้น้อง”  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้คนไทยให้ความสำคัญและใส่ใจกับการจัดการและคัดแยกขยะที่เป็นขวดน้ำพลาสติกใส หรือพีอีที (PET : Polyethylene Terephthalate) ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการรับบริจาคขวด PET ที่ใช้แล้ว ซึ่งขวดทั้งหมดจะถูกนำไปรีไซเคิลเป็นเส้นใยโพลีเอสเตอร์เพื่อผลิตเป็นเสื้อยืด

ในการดำเนินโครงการดังกล่าว บริษัทฯ จะเป็นผู้รวบรวมขวดพลาสติก ด้วยการเปิดรับขวดน้ำดื่ม PET ผ่านกล่องรับบริจาคที่สำนักงานใหญ่ของ A money และสาขาอีก 11 แห่ง ประกอบด้วย เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2, เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต, บิ๊กซี สุขสวัสดิ์, เดอะมอลล์ ท่าพระ, เดอะมอลล์ บางแค, เดอะมอลล์ บางกะปิ, เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่ พลาซ่า อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต, เทสโก้ โลตัส มหาชัย, ซีคอนสแควร์ และอิมพีเรียลเวิลด์ สำโรง หลังจากนั้นจะส่งมอบขวด PET ทั้งหมดให้บริษัท เทยินฯ นำไปรีไซเคิลเป็นเส้นใยโพลีเอสเตอร์ และผลิตเป็นเสื้อให้กับน้องๆ พร้อมจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับการคัดแยกพลาสติกอย่างถูกวิธี โดยตั้งเป้าส่งมอบขวด PET จำนวน 5,000 ใบ เพื่อใช้ในการผลิตเสื้อสำหรับกิจกรรมนำร่องระหว่าง A money กับบริษัท เทยินฯ ในปีแรก จำนวน 100 ตัว

“A money ได้ตั้งกล่องรับบริจาคขวด PET ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2562 หลังจากนั้นจะส่งมอบขวดให้กับบริษัท เทยินฯ เพื่อทำการผลิตเส้นใย และส่งเส้นใยเข้าสู่กระบวนการปั่นเป็นเส้นด้ายสำหรับใช้ในการผลิตเสื้อ จากนั้นจะปิดโครงการด้วยการจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีและสามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มต่อได้ โดยจะทำการส่งมอบเสื้อให้เยาวชนในเดือนมกราคม 2563 ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งเพื่อตอบสนองพันธกิจของ A money ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับสังคมผ่านกิจกรรมต่างๆ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม เยาวชน และสังคม” นายฟุคาดะ กล่าว

ด้านนายวีระชัย คริสต์วทัญญู ผู้จัดการฝ่ายขาย แผนกเส้นใยสั้นและวัสดุไม่ทอ บริษัท เทยิน โพลีเอสเตอร์ จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า การใช้ขวดพลาสติกในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและก่อให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริษัท เทยินฯ ในฐานะผู้ผลิตและจำหน่ายเส้นใยโพลีเอสเตอร์ชั้นนำของประเทศ ตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติกดังกล่าว ด้วยการนำ ขวดพลาสติก PET ที่ใช้แล้วมารีไซเคิลเป็นวัตถุดิบในการผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์เพื่อใช้ในการผลิตเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น กระเป๋าผ้า เครื่องนอน  เป็นต้น

สำหรับขั้นตอนการรีไซเคิลขวด PET เป็นเกล็ดพลาสติก เริ่มจากการเทขวดลงสายพานลำเลียง  คัดแยกขวด
ที่ยังไม่ได้ลอกฉลากและขวดที่สกปรก  นำขวดเข้าเครื่องตรวจจับโลหะเพื่อคัดแยกโลหะปนเปื้อนออก หลังจากนั้น
จะส่งขวดไปยังสายพานลำเลียงเพื่อเข้าเครื่องบด  ล้างเกล็ดพลาสติกจากขวดที่บดแล้วและลำเลียงไปตามเครื่องส่ง
ต่อด้วยการแยกเกล็ดพลาสติก PE (ส่วนฝาขวด) ออกจากเกล็ดพลาสติก PET จากนั้นนำเกล็ดพลาสติก PET
เข้าเครื่องปั่นและเครื่องเป่าแห้ง  คัดแยกสิ่งแปลกปลอมที่อาจปนมากับเกล็ดพลาสติก PET และจัดเตรียมไว้สำหรับการผลิตเส้นใย

เส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่มีประสิทธิภาพจะต้องผลิตจากขวด PET ที่ผ่านการคัดแยกอย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้เส้นใยที่สะอาดและมีคุณภาพ โดยขั้นตอนการคัดแยกง่ายๆ เลยก็คือ หลังจากดื่มน้ำหมดให้นำฉลากขวดออก ถ้าเป็นขวด
ที่ฉลากทากาวจะต้องกรีดฉลากออก พร้อมกับนำฝาขวด หลอด และสิ่งที่อยู่ภายในขวดออกให้หมด หลังจากนั้น
ต้องล้างขวด ทำขวดให้แบน และแยกขวดออกจากขยะประเภทอื่น เพื่อให้การรีไซเคิลขวด PET มีประสิทธิภาพ
ซึ่งหากทุกฝ่ายร่วมด้วยช่วยกันคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี นอกจากจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยลดภาวะโลกร้อนและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว
ยังช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเส้นใยรีไซเคิลของประเทศไทยให้มีคุณภาพ
สูงขึ้นอีกด้วย
นายวีระชัย กล่าวในตอนท้าย

 


แชร์ :

You may also like