HomePR Newsเศรษฐกิจหมุนเวียนทางออกขยะพลาสติก GC ร่วมเปลี่ยนโลกสร้างมูลค่าทรัพยากร [PR]

เศรษฐกิจหมุนเวียนทางออกขยะพลาสติก GC ร่วมเปลี่ยนโลกสร้างมูลค่าทรัพยากร [PR]

แชร์ :

สหประชาชาติตระหนักว่า สภาพแวดล้อมปัจจุบันของมนุษย์ทั่วโลก ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ และการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับสากล จึงมีแนวนโยบายมุ่งเน้นให้ทั่วโลกให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมในประเทศของตนเองเป็นสำคัญ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี ทุกองค์กร ตระหนักร่วมกันในการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมภายในประเทศของตนเอง  เพราะเป็นช่วงเวลาที่ทุกฝ่ายจะร่วมมือกันในการรักษาสิ่งแวดล้อมโลก

เมื่อปี 2018 ที่ผ่านมา มีการประชุมเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลกที่ประเทศอินเดีย มีหัวข้อคือ  “ Beat Plastic Pollution” ซึ่งเป็นการเรียกร้องให้ทุกคนมารวมตัวกันเพื่อต่อสู้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ยิ่งใหญ่ โดยมี Theme ว่า “เราสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของเราอย่างไร เพื่อช่วยลดภาวะมลพิษ และขยะพลาสติกที่เกิดขึ้น เพื่อธรรมชาติที่จะคงอยู่ และสุขภาพของเราเอง”

และในปี 2019 ในวันที่สิ่งแวดล้อมที่เพิ่งจะผ่านมาไม่นานนี้ ก็ได้จัดประชุมขึ้นที่ประเทศจีน ในหัวข้อเรื่อง “มลพิษทางอากาศ” โดยมี Theme ว่า “เราไม่สามารถหยุดหายใจได้ แต่เราสามารถทำให้อากาศที่เราหายใจมีคุณภาพได้”

โดยมีข้อมูลสรุปมาจากสหประชาชาติว่า ผู้คนประมาณ 7 ล้านคนทั่วโลก เสียชีวิตก่อนวัยอันควรในแต่ละปี เนื่องจากมลพิษทางอากาศ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลกปี 2019 นี้ ที่ประชุมจึงเน้นกระตุ้นให้รัฐบาล ผู้ประกอบการ ภาคอุตสาหกรรม ชุมชน และบุคคลทั่วไป ตระหนักในเรื่องของสิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทน เทคโนโลยีสีเขียว และร่วมกันสร้างคุณภาพอากาศในเมืองต่าง ๆ ให้บริสุทธิ์

สำหรับประเทศไทย ก็มีการตระหนักในเรื่องนี้มานานพอสมควร และหลายองค์กรต่างมีแนวนโยบายเพื่อลดการใช้พลาสติก รวมถึงการนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก จนกว่าจะถึงอายุการย่อยสลายของมัน ภายใต้หลักการของ Circular Economy (เศรษฐกิจหมุนเวียน) ซึ่งเป็นแนวทางที่ทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้บริโภค เริ่มเรียนรู้ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรู้จักคุณค่าของการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยหนึ่งในผู้ประกอบการหลัก ที่ได้เป็นผู้นำในการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้อย่างเห็นได้ชัดเจนคือ บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ GC ผู้ดำเนินธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต ที่ใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาเป็นต้นแบบ โดยประยุกต์ใช้ใน “GC Circular Living“ ที่นำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์  ในประเภท พลาสติกย่อยสลายได้ หรือไบโอพลาสติก ที่ทำมาจาก วัตถุดิบทางการเกษตร สามารถทดแทนการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ถือเป็นพลาสติกทางเลือกใหม่ ที่จะเข้ามาตอบโจทย์การดูแลสิ่งแวดล้อมได้อย่างดี

ขณะเดียวกันได้ริเริ่มทำโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand  โดยการนำขยะพลาสติกจากท้องทะเลและชายฝั่งมารีไซเคิล โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมตั้งแต่ขั้นตอนการจัดเก็บ ขนส่ง ออกแบบ จนถึงการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นสินค้ากลุ่มแฟชั่น เช่น เสื้อ รองเท้า กระเป๋า และอุปกรณ์เพื่อใช้ในครัวเรือน ซึ่งโครงการนี้ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง สอดรับกับกระแสการสร้างความร่วมมือในการจัดการปัญหาขยะพลาสติกของโลกอย่างเป็นรูปธรรม

พร้อมกับการรณรงค์นำระบบ 5Rs ได้แก่ การลดการใช้ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การแปรรูปมาใช้ใหม่ (Recycle) การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน (Renewable) และการปฏิเสธการใช้ (Refuse) มาใช้ในทุกกระบวนการผลิตของโรงงาน ตั้งแต่การนำพลังงานเหลือทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิต การเลือกใช้สารเคมีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ส่งผลให้ปัจจุบัน บริษัทฯ สามารถลดต้นทุนในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยอีกมุมมองหนึ่ง “สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ GC ที่สะท้อนความเห็นของคนทั่วไป ที่มองพลาสติกเป็นผู้ร้าย ในทางกลับกัน อยากให้มองเห็นถึงพลาสติกมีคุณค่าที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ จึงได้มีแผนการลงทุน “โรงงานรีไซเคิลพลาสติก” ระดับมาตรฐานยุโรปเพื่อนำขยะจากพลาสติกที่ใช้แล้วเข้าสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่กลับมาเป็นสินค้าเหมือนเดิม คาดว่าจะใช้เวลาอีก 1 ปีที่โรงงานที่จะเกิดขึ้น เพื่อจัดการแปลงโฉมให้ขยะไม่เป็นขยะอย่างมีคุณภาพ

ในฐานะ ที่กลุ่ม GC เป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติก ยังได้มีแผนลดกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกสำหรับสินค้าชนิดใช้แล้วทิ้ง เช่น ถุงหูหิ้ว จากปัจจุบันที่มีกำลังผลิต1 แสนตันต่อปี ให้เหลือศูนย์ ในอีก 5 ปีข้างหน้า และจะหันมาผลิตเม็ดพลาสติกสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีความคงทน พร้อมกับพัฒนาไบโอพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทน

นี่เป็นเพียงโมเดลธุรกิจหนึ่งที่จะมีส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมของไทยและของโลกให้อยู่แบบยั่งยืนเท่านั้น เหนือสิ่งอื่นใดสิ่งแวดล้อมจะดีขึ้นได้ ต้องอยู่ในจิตสำนึกของทุกๆ คน เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นล้วนมาจากการกระทำของคนเราทั้งสิ้น มาร่วมกันรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยให้ทุกๆ วันเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก เพื่ออนาคตของเราและลูกหลานในวันข้างหน้า

 


แชร์ :

You may also like