HomeStartupสตาร์ทอัพ Molly T. ส่งบราแนวใหม่ แรงบันดาลใจจาก “ผ้าแถบ” ตัวเดียวปรับไซส์ได้ทุกสถานการณ์

สตาร์ทอัพ Molly T. ส่งบราแนวใหม่ แรงบันดาลใจจาก “ผ้าแถบ” ตัวเดียวปรับไซส์ได้ทุกสถานการณ์

แชร์ :

“สตาร์ทอัพด้านบรา” ธุรกิจน้องใหม่ของแบรนด์อย่าง Molly T. ที่ตั้งใจจะเป็นสตาร์ทอัพผู้พัฒนาชุดชั้นในจริง ๆ โดยกิจการชุดชั้นในนี้มีจุดเริ่มต้นจากผู้ก่อตั้งอย่าง Molly O’Connor ที่เห็นโอกาสในสมัยที่เธอยังอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โอกาสที่เธอเห็นเกิดขึ้นในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าของนักกีฬาฟุตบอลหญิงที่ O’Connor สังกัดอยู่ โดยเธอพบว่าผู้เล่นหลายคนมีปัญหากับชั้นใน เนื่องจากสรีระของผู้หญิงแต่ละคนแตกต่างกัน เมื่อชุดชั้นในที่ใส่ไม่ลงตัว ก็อาจส่งผลให้นักกีฬาทำผลงานในการแข่งขันไม่ดีเท่าที่ควรได้

ไม่เพียงเท่านั้น ยังเคยมีการทำสำรวจโดย University of Portsmouth เมื่อปี 2014 พบว่า 1 ใน 5 ของผู้หญิงเลือกที่จะไม่ออกกำลังกาย เนื่องจากไม่มีชุดชั้นในที่ตอบโจทย์การใช้งานด้วย

ด้วยเหตุนี้ O’Connor จึงเริ่มศึกษาบราชนิดต่าง ๆ อย่างจริงจัง และพบว่า ธุรกิจบราน่าจะเป็นธุรกิจที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแนวทางในการพัฒนาเลยตลอดหลายร้อยปี โดยมีการพบว่าบรายุคใหม่แบบที่เราใช้กันในทุกวันนี้มีการจดสิทธิบัตรไว้ตั้งแต่ปี 1914 และออกแบบโดยใช้คอร์เซ็ทของหญิงสาวในยุค 1500 เป็นต้นแบบ

โดยรากฐานของบราก็คือการใช้ผ้าสองผืนเย็บติดเข้ากับริบบิ้น โดยให้สายของริบบิ้นคาดอยู่บริเวณใต้ราวนม จากนั้นก็มีสายสองเส้นโยงขึ้นไปผูกบริเวณหัวไหล่ เพื่อให้บราสามารถดันทรงของหน้าอกได้

นับจากวันนั้นจนถึงวันนี้ แม้ธุรกิจชุดชั้นในจะมีมูลค่า 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีแบรนด์ยักษ์ใหญ่ด้านชุดชั้นในจะออกมาบอกว่า บราของตัวเองนั้นสวมใส่สบาย และพยายามเปิดตัวบราคอลเล็คชั่นใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่ O’Connor ก็ชี้ว่ามันไม่ได้หนีห่างจากดีไซน์แรกเริ่มมากนัก ซึ่งสะท้อนว่า แท้จริงแล้วแบรนด์เหล่านี้อาจไม่เข้าใจความยากลำบากของผู้หญิงในการต้องเปลี่ยนบราบ่อย ๆ เท่าที่ควร

ยกตัวอย่างเช่น ผู้หญิงบางคนเป็นทั้งนักกีฬา นักศึกษา และมีประจำเดือน ผลก็คือ พวกเธออาจต้องมีชุดชั้นในหลายแบบสำหรับเอาไว้ใส่ในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต เช่น ต้องมีชุดชั้นในสำหรับใส่เวลามีประจำเดือน เนื่องจากหน้าอกอาจขยายมากขึ้นจนรู้สึกอึดอัด นอกจากนั้นยังต้องมีชุดชั้นในสำหรับใส่ตอนเล่นกีฬา ฯลฯ หรือบางคนตอนตั้งครรภ์กับตอนหลังคลอดบุตร ก็อาจต้องเปลี่ยนชุดชั้นในใหม่ยกเซ็ท เนื่องจากสภาพของหน้าอกเปลี่ยนไป ฯลฯ

ขอบคุณภาพจาก Molly T.

ส่วนผลงานการออกแบบของ Molly O’Connor ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการนำผ้าแถบสำหรับใช้พันหน้าอกที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียมาประยุกต์ใช้กับบราของตนเอง ซึ่งพบว่ามันแก้ไขจุดบกพร่องนี้ได้ และสามารถตอบโจทย์ผู้หญิงที่มีขนาดหน้าอกเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาต่าง ๆ ได้ดีกว่า  หรือแม้กระทั่งการถอดเสื้อในเพื่อให้นมบุตร ก็ยังสามารถทำได้ง่ายกว่าด้วย โดยเฉลี่ยแล้วชุดชั่นในของสตาร์ทอัพรายนี้ครอบคลุมไซส์ตั้งแต่ 32A – 42G เลยทีเดียว

ในยุคที่ธุรกิจมองหาหนทางที่จะ Personalized สินค้าและบริการของตัวเองให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้นนั้น น่าสนใจว่าธุรกิจชุดชั้นในของ Molly O’Connor ก็สามารถ Personalized ได้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคเช่นกัน และไม่จำเป็นต้องแตกไลน์ให้มีหลายแบบหลายชนิดเพื่อเพิ่มต้นทุนแต่อย่างใด เพราะกรณีของเธอใช้เพียงผ้าแถบที่สามารถยืดได้ตามขนาดสรีระก็เพียงพอ

Source

Source

 

 


แชร์ :

You may also like