HomeINTERคู่แข่งทุเรียนไทยมาแล้ว! มาเลเซียเร่งเครื่องเจรจา วางแผนส่งทุเรียนระดับ Hermès สู่ประเทศจีน

คู่แข่งทุเรียนไทยมาแล้ว! มาเลเซียเร่งเครื่องเจรจา วางแผนส่งทุเรียนระดับ Hermès สู่ประเทศจีน

แชร์ :

เป็นอันรู้กันว่าชาวจีนแผ่นดินใหญ่นั้นติดใจกลิ่นและรสชาติของผลไม้ที่มีหนามแหลมอย่าง “ทุเรียน” เป็นอันมาก และนั่นทำให้ประเทศมาเลเซียมองเห็นช่องทางว่าจะนำเงินเข้าประเทศอย่างเป็นกอบเป็นกำ จนเปิดการเจรจากับรัฐบาลจีนเกี่ยวกับการส่งทุเรียนสดไปขายในจีนหลังจากการประชุม Belt and Road Forum ที่ปักกิ่ง

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ก่อนหน้านี้จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลจีนอนุญาตให้มาเลเซียส่งแค่เนื้อทุเรียนแช่แข็งไปขายในจีนเท่านั้น ผ่าน Malaysia Durian Festival อีเว้นท์ 2 วัน ที่โรงแรมหรู China World Hotel ในปักกิ่ง ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าจากทุเรียนตั้งแต่ทุเรียนเคลือบช็อคโกแลตไปจนถึงขนมไหว้พระจันทร์ทุเรียนจาก Musang King พันธุ์ทุเรียนที่แพงที่สุดของมาเลเซีย และงานนี้สำคัญขนาด นายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮัมหมัด ของมาเลเซียเข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย เพื่อเป็นการแสดงออกถึงการสนับสนุนของรัฐบาลสำหรับการส่งออกทุเรียนมายังจีนอย่างเต็มที่ 

Wan Mun-hoe นักธุรกิจมาเลเซียกล่าวว่าทุเรียนของมาเลเซียนั้นแพงกว่าทุเรียนไทย ตอนนี้เศรษฐกิจของจีนเองก็กำลังเติบโตมาก เมื่อผู้คนร่ำรวยมากขึ้นก็จะมองหาของที่ดีขึ้น ตั้งแต่เสื้อผ้า รถยนต์ รวมไปถึงอาหารที่พวกเขากิน

ในเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา ทั้งสองรัฐบาลได้เข้าร่วมประชุมหาหนทางในการนำเข้าส่งออกทุเรียนสดและแช่แข็งทั้งลูกจากมาเลเซียไปจีน ซึ่งนักธุรกิจมาเลเซียเปิดเผยว่าข้อตกลงนี้กำลังจะได้ข้อยุติในสิ้นปีนี้

ทุเรียนจะมีขายแค่ตามเมืองใหญ่ๆ ของประเทศจีนเท่านั้น มาเลเซียกำลังเตรียมตัวรับมือกับความต้องการทุเรียนที่จะทะลักเข้ามา สวนทุเรียนในมาเลเซียต่างเริ่มต้นการปลูกทุเรียนในระดับอุตสาหกรรมเพื่อเตรียมพร้อมกับความต้องการของผู้บริโภคชาวจีนแล้ว พวกเราหวังว่าจะสามารถส่งมอบทุเรียนได้เท่ากับความต้องการของชาวจีน” Wan Mun-hoe กล่าว

บริษัท Newleaf Plantation Berhad ของ Wan อธิบายถึงทุเรียนที่มีชื่อเสียงพันธุ์ Musang King ว่าเป็น Hermès ของทุเรียน มีพื้นที่ในการปลูกทุเรียนพันธุ์นี้เพียง 50 เอเคอร์เท่านั้น แต่คาดว่าพื้นที่เพาะปลูกของสายพันธุ์นี้จะเพิ่มขึ้นกว่า 1,000 เอเคอร์ ในอีก 3 ปีข้างหน้า

บริษัทของ Wan เป็นบริษัทพัฒนาระบบการเกษตรอัจฉริยะ ที่ทำการติดตามสุขภาพของต้นทุเรียนผ่าน QR code ไม่ว่าจะบอกถึงสถานะสุขภาพของต้นทุเรียนแล้ว ยังบอกได้ว่าต้นทุเรียนต้นนี้ได้รับน้ำและปุ๋ยเพียงพอหรือไม่ และ ยังเก็บรวบรวมข้อมูลผลผลิตของแต่ละต้นไว้ด้วย

ความต้องการของทุเรียนมาเลเซียมีมากขึ้น จากราคาขายหน้าสวนที่กิโลกรัมละ 9 ริงกิต ในปี 2012 เป็น 30 ริงกิตในปัจจุบัน และ ผลิตภัณฑ์จากทุเรียนของบริษัท Dulai Fruits ของ Eric Chan ที่ส่งสินค้ามากขึ้นจากตู้คอนเทนเนอร์ 1 ตู้ต่อปี ในปี 2011 มาเป็น 6 ตู้ทุกเดือนในปัจจุบัน และคาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่าในอีก 2 ปีข้างหน้า

ประเทศไทยส่งออกทุเรียนไปจีนมาเกือบ 20 ปีแล้ว และฝังรากลึกอยู่ในตลาดจีน เพราะไทยมีศักยภาพในการผลิตและพื้นที่ในการเพาะปลูกมากกว่า” Eric Chan กล่าว และยังอธิบายแบ็กกราวด์เสริมอีกว่าในอดีต มาเลเซียโฟกัสไปที่ธุรกิจน้ำมันปาล์ม และธุรกิจส่งออกทุเรียนเพิ่งจะมามีบทบาทเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ในตอนแรกเราส่งออกไปยังแค่สิงคโปร์เท่านั้น

ตลาดทุเรียนในจีนเติบโตมากถึง 15% หรือ 350,000 ตัน ในปี 2017  และประมาณ 40% ของการนำเข้าทุเรียนมาจากประเทศไทย ไทยเองยังเป็นประเทศที่ผลิตทุเรียนได้มากที่สุดในโลกเช่นกัน และประเทศไทยเริ่มส่งออกทุเรียนไปจีนตั้งแต่ปี 2003 แล้ว

Charles Chen ผู้บริหารของ Krillo Kakaw บริษัทแปรรูปทุเรียนกล่าวว่าคนจีนมองว่าทุเรียนเป็นสินค้าราคาแพง และกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ พวกเราจึงรีบหาหนทางที่จะทำให้ทุเรียนเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้นจากการแปรรูปเพื่อให้ราคาต่อหน่วยลดลง

Source 


แชร์ :

You may also like