HomeCSR“ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา ปีที่ 13” หมู่ 4 ตำบลโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ชุมชนต้นแบบ สนับสนุนโดยบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

“ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา ปีที่ 13” หมู่ 4 ตำบลโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ชุมชนต้นแบบ สนับสนุนโดยบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

แชร์ :

เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด นำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชนต้นแบบจากกิจกรรม “ลดเมืองร้อนด้วยมือเรา” ณ ชุมชนหมู่ที่ 4 โนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

จากความสำเร็จของกิจกรรม “ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา ปีที่ 13” ในปีที่ผ่านมาที่ได้เปิดโอกาสให้โรงเรียน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากทั่วประเทศ ส่งแผนงานพร้อมกิจกรรมลดภาวะโลกร้อนภายในพื้นที่ของตน ภายใต้แนวทางในการทำกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม 5 ด้าน อันได้แก่การจัดการพื้นที่สีเขียว การจัดการขยะอย่างครบวงจรและเหมาะสม การจัดการพลังงานและส่งเสริมพลังงานทางเลือก การอนุรักษ์น้ำ และ การเดินทางอย่างยั่งยืน จนได้กลุ่มผู้ชนะจากโครงการฯ ดังกล่าวและมีโอกาสร่วมเดินทางไปศึกษาดูงานด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อเปิดประสบการณ์ความรู้และนำเอาองค์ความรู้ที่ได้กลับมาต่อยอดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตน

สมชัย กอชัยศิริกุล นายกเทศมนตรี ตำบลโนนดินแดง

คำมูล แสนเจ็ก ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 ตำบลโนนดินแดง

ทั้งนี้ ชุมชนหมู่ที่ 4 โนนดินแดง ภายใต้การดูแลของเทศบาลตำบลโนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ผู้ชนะเลิศในประเภทชุมชนจากกิจกรรม “ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา ปีที่ 13” ถือเป็นชุมชนต้นแบบของกิจกรรมที่สามารถนำเอาองค์ความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดและปฏิบัติภายในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม ซึ่งคณะสื่อมวลชนที่ร่วมเดินทางไปเยี่ยมชมการดำเนินงานของชุมชนโนนดินแดง ได้มีโอกาสเข้ารับฟังการบรรยายพร้อมทั้งเปิดประสบการณ์แนวความคิดสร้างสรรค์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามสถานที่ต่างๆ ได้แก่

จุดที่ 1: ศูนย์เรียนรู้ชุมชน

  • การซื้อขายขยะและทำปุ๋ยต่างๆ

© มีธนาคารออมทรัพย์ของชุมชนออกรับชื้อขยะเดือนละ 1 ครั้ง สามารถรับเป็นเงินสด ฝากเข้าบัญชี หรือจะแลกเป็นหลอดไฟประหยัดพลังงานก็ได้

© การจัดการขยะอินทรีย์ มีการนำมาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพ และเลี้ยงสัตว์ เช่น ไส้เดือน เป็ด ไก่ หมู เป็นต้น ถ้าเป็นเศษใบไม้ เศษหญ้า ก็จะนำไปใส่ในคอกปุ๋ยหมักที่ทำไว้ที่โคนต้นไม้

© มีจุดรวบรวมขยะอันตรายไว้ที่ธนาคารขยะออมทรัพย์ เก็บไว้อย่างมิดชิด เพื่อส่งต่อให้เทศบาลนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป

  • ป่านิเวศน์

© เริ่มต้นด้วยการสำรวจต้นไม้ภายใต้ชื่อกิจกรรมสายตรวจสีเขียวร่วมกับเยาวชน ในการสำรวจ ตรวจนับ แยกประเภท ทำการจดบันทึกจำนวนต้นไม้ที่อยู่ในชุมชนและที่มีการปลูกเพิ่ม เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลแจ้งให้ชุมชนทราบและใช้ในการพัฒนาชุมชน

© ดำเนินการปลูกป่านิเวศในบริเวณศูนย์เรียนรู้ชุมชนและบริเวณวัดป่าโนนดินแดง โดยใช้หลักการปลูกป่า ตามแนวความคิดของ ศ.ดร.อาคิระ มิยาวะกิ มาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน และมีการแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบดูแลรักษาต้นไม้ที่ปลูกอย่างชัดเจน เพื่อให้ต้นไม้มีการเติบโตเป็นป่าที่สมบูรณ์อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

 ** จากการที่ได้ไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ทางชุมชนและเทศบาลได้ร่วมกันวิเคราะห์และนำแนวคิดมาพัฒนาต่อยอด กิจกรรมที่ฐานเรียนรู้ศูนย์เรียนรู้ชุมชน คือ จากการไปดูงานที่ Toyota Foresta ทำให้ได้เรียนรู้และเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินวิถีชีวิตไปพร้อมกับการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ การใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกป่านิเวศ ซึ่งทำให้ต้นไม้ที่ปลูกโตเร็วมาก พวกเราจึงได้นำแนวคิดดังกล่าวมาปรับใช้ เพื่อปลูกป่าดังกล่าวบริเวณพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนและวัดป่าโนนดินแดง

©โครงการหมอต้นไม้ เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูก ดูแล และสังเกตโรคของต้นไม้แก่ประชาชนและเยาวชนในชุมชน

จุดที่ 2: วัดป่าโนนดินแดง

  • จุดเรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติและการบวชป่า เพื่อการอนุรักษ์ต้นไม้

©การบวชป่า เป็นกุศโลบายหนึ่งในการอนุรักษ์ผืนป่าอันทรงคุณค่าของชุมชนให้อยู่ตลอดไป

©ห้องเรียนธรรมชาติ มีการเพาะพันธุ์ไม้โดยใช้เมล็ดพันธ์จากป่าในชุมชน และให้เยาวชนมาเรียนรู้ชนิดและคุณประโยชน์ของพรรณไม้ต่างๆ จนสามารถเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้ที่ไปศึกษาดูงานได้

  • จักรยานปั่นสูบน้ำ

©จักรยานปั่นสูบน้ำ การนำจักรยานมาทำเป็นเครื่องสูบน้ำแทนเครื่องยนต์ เพื่อลดการใช้น้ำมันดีเซล

  • บริเวณหน้าวัด

©การใช้วิธีการเดินออกกำลังกายเพื่อไปวัด ลดการใช้เชื้อเพลิง

©การหิ้วปิ่นโตไปวัด ลดการใช้ถุงพลาสติกและโฟม

จุดที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ทอผ้าไหม

©กิจกรรมด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น

– กลุ่มบายศรีใบตองและดอกไม้จันทน์จากใบตองสด/แห้ง และเปลือกข้าวโพดแห้ง ลดการใช้พลาสติก

– กลุ่มทอผ้า โดยใช้กระบวนการทอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

– กลุ่มทอเสื่อกก โดยใช้วัสดุธรรมชาติแทนพลาสติก

– กลุ่มจักสาน สานภาชนะต่างๆ ลดการใช้ถุงพลาสติก

– กลุ่มนวดและสมุนไพรใกล้ตัว ปลูกพืชสมุนไพรเพื่อใช้รักษาโรคต่างๆ

จุดที่ 4: บ้านต้นแบบคุณนอม (อนุรักษ์น้ำ) นางประนอม  แสงจันทร์ศรี

©กิจกรรมด้านการลดใช้น้ำประปา

– การให้ความรู้ด้านการประหยัดน้ำประปาอย่างต่อเนื่อง

– มาตรการประหยัดน้ำ

– รณรงค์การประหยัดน้ำอย่างถูกวิธี

– การอนุรักษ์แหล่งน้ำตามธรรมชาติและนำมาใช้ประโยชน์

จุดที่ 5: ร้านก๋วยเตี๋ยวหูหิ้ว

©ร้านก๋วยเตี๋ยวมีหม้อหิ้วสำหรับใส่ก๋วยเตี๋ยวให้คนในชุมชนที่มาซื้อกลับบ้านยืมใช้แทนการใส่ถุงพลาสติก

จุดที่ 6: บ้านต้นแบบคุณติ๋ว (ประหยัดพลังงานไฟฟ้า) นางรัญญา สุขเกษม

©การใช้ จักรยานปั่นแป้ง โดยนำจักรยานมาทำเป็นเครื่องปั่นแป้งทำขนมเครป เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า จากการทำกิจกรรมจักรยานปั่นแป้ง โดยปกติจะตีแป้งวันละ 1-2 kg ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที ซึ่งต้องใช้พลังงานไฟฟ้ากับเครื่องตีแป้ง ประมาณ 0.05 หน่วย ดังนั้น สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้ากับเครื่องตีแป้งได้ประมาณ 1.5 หน่วย/เดือน

©โครงการรู้คิด รู้ใช้ เพื่อไทยมั่นคง เป็นการรณรงค์การลดใช้พลังงานไฟฟ้า เปิดเมื่อจำเป็น ปิดเมื่อไม่ใช้ ไปไหนต้องถอดปลั๊ก

©โครงการเก่า เสีย ทิ้งไป เปลี่ยนใหม่ช่วยชาติ การรณรงค์ให้เปลี่ยนมาใช้หลอดประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยมีการจัดกิจกรรมให้สามารถนำขยะที่รวบรวมไว้มาแลกซื้อหลอดไฟใหม่ เดือนละ 1 ครั้ง

จุดที่ 7: ร้านผัดไทยใบตอง

©ร้านผัดไทยใช้ใบตองและเชือกกล้วยวัตถุดิบในท้องถิ่นแทนกระดาษเคลือบมันและหนังยางหรือโฟม

จุดที่ 8: บ้านต้นแบบคุณปุ่น (เตาชีวมวล) คุณนิภาวรรณ อินทะพัด

©มีการประกอบอาหารขาย จึงใช้พลังงานทางเลือกคือ เตาชีวมวลประหยัดพลังงาน ลดการใช้ก๊าซหุงต้ม

จุดที่ 9: ร้านค้าแลกแต้ม น.ส.อรทัย ภูหลาบ

©การใช้ตะกร้าไปร้านค้าและตลาด ลดการใช้ถุงพลาสติก สามารถสะสมแต้มแลกรับของรางวัลได้อีกด้วย

จุดที่ 10: บ้านต้นแบบจ่าคม (สมุนไพร)

©ครัวเรือนสีเขียว ปลูกพิชผักสมุนไพร และนำมาใช้ประโยชน์ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่า

จุดที่ 11: บ้านต้นแบบ อ.วีนัส

©ทุกครัวเรือนมีที่คัดแยกขยะที่แบ่งออกเป็น 3 ช่อง ได้แก่ ขวดแก้ว ขวดพลาสติก กระป๋อง และมีการนำไปใช้ประโยชน์ เช่น ทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ ทำน้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น

©การปลูกพืชผักสวนครัวและผลไม้ ปลูกสิ่งที่กิน กินสิ่งที่ปลูก


แชร์ :

You may also like