HomePR Newsถอดรหัสความสำเร็จแอปบริการสังคม อสม. ออนไลน์ จากทีมงาน AIS คุณศิริเพ็ญ ไทวะศุภกุล [PR]

ถอดรหัสความสำเร็จแอปบริการสังคม อสม. ออนไลน์ จากทีมงาน AIS คุณศิริเพ็ญ ไทวะศุภกุล [PR]

แชร์ :

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

หลายคนอาจไม่รู้ว่าการให้บริการสาธารณสุขชุมชนของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (รพ.สต.)ในหลายพื้นที่ต้องประสบกับปัญหาและอุปสรรคในการเข้าไปดูแลสุขภาพคนในชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขมีไม่เพียงพอ จึงต้องพึ่งพาเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรืออสม. ซึ่งเป็นจิตอาสาในชุมชน ช่วยทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรคระบาด รวมไปถึงการส่งต่อข้อมูลทางการแพทย์ อสม. จึงถือเป็นตัวแทนเสริมความเข้มแข็งในการทำงานด้านสาธารณสุขชุมชนขั้นพื้นฐานให้สามารถบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง

นับเป็นที่มาของร่วมมือในการคิดค้น “แอปพลิเคชัน อสม. ออนไลน์”  ที่ช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างการทำงานของอสม. และรพ.สต. สะดวกสบายขึ้น และกว่าจะมาเป็นแอปฯ ในเวอร์ชันปัจจุบัน ก็ถูกพัฒนามาแล้วหลายขั้นตอน ซึ่งคงจะไม่สำเร็จ ถ้าจิตอาสาอสม. ไม่เชื่อมั่นว่าแอปฯ อสม. ออนไลน์ จะช่วยให้พวกเขาทำงานได้ง่ายขึ้นจริง ดังนั้นขั้นตอนอันเป็นหัวใจสำคัญ คือจะทำอย่างไรให้อสม.เห็นคุณค่าและประโยชน์จากการใช้งาน และเปิดใจนำแอปฯ อสม. ออนไลน์ มาเป็นเครื่องมือเทคโนโลยีทางการสื่อสารในยุคดิจิทัล ที่พวกเขาไม่คุ้นเคย ซึ่งจะช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันสะดวก รวดเร็ว และเป็นแอปฯเฉพาะกลุ่มสำหรับการทำงานด้านสาธารณสุข

นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพูดคุยกับคุณศิริเพ็ญ ไทวะศุภกุล ผู้อำนวยการสำนักชุมชนสัมพันธ์ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ซึ่งได้ลงพื้นที่ศึกษาวิถีชีวิตการทำงานบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานระหว่างรพ.สต.และอสม. เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประสานงานกับทีมพัฒนาแอปฯ ในการคิดค้นนวัตกรรมดิจิทัลที่ช่วยให้การทำงานสาธารณสุขชุมชนของรพ.สต. และอสม. มีประสิทธิภาพมากขึ้น

“อสม. เป็นจิตอาสาที่ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจในการดูแลสุขภาพชุมชนของชาวบ้านในพื้นที่ที่รับผิดชอบ  เช่น การลงไปสำรวจสถานการณ์สุขภาพของคนในชุมชน เพื่อไปเก็บข้อมูลต่างๆ ทั้งข้อมูลการตั้งครรภ์  ข้อมูลผู้ป่วย หรือเด็กที่ต้องมารับการฉีดวัคซีน การสำรวจลูกน้ำยุงลาย รวมทั้งต้องส่งรายงานให้รพ.สต.ทุกเดือน  ซึ่งเป็นการทำงานที่เสียสละเวลาส่วนตัวนอกเหนือจากการทำงานประจำ   ซึ่งเขาทำด้วยใจจริงๆ  เราจึงคิดว่าศักยภาพของเอไอเอสที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถนำมาสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะช่วยให้การทำงานของอสม. สะดวก รวดเร็วขึ้น  เราจึงได้พัฒนาแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ เพื่อให้เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการทำงานสาธารณสุขชุมชนระหว่างรพ.สต. และอสม. ซึ่งมีเมนูการใช้งานเป็นภาไทยทั้งหมด แบ่งเป็นหมวดหมู่ชัดเจน ใช้งานง่าย ไม่ว่าจะเป็นการนัดหมายการประชุม แจ้งข่าวประกาศและโรคระบาดต่างๆ  การส่งรายงาน รวมถึงการอัปเดตข้อมูลทางความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเพื่อกระจายไปสู่ชุมชน”

ขั้นตอนที่สำคัญต่อมา คือ การนำแอปฯ ที่ถูกพัฒนาและออกแบบขึ้นมาเพื่อเป็นแอปฯ บริการสังคม ลงพื้นที่บ่มเพาะความรู้ให้กับจิตอาสาอสม. ซึ่งการทำให้อสม. ทั้งหลายเปิดใจ และเปลี่ยนความคิด มาใช้แอปฯ อสม.ออนไลน์ ในการทำงานสาธารณสุขชุมชน ถือเป็นสิ่งที่ยากที่สุด

คุณศิริเพ็ญเล่าต่อไปว่า “ส่วนใหญ่กลุ่มอสม. จะเป็นกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่วัยกลางคนจนถึงผู้สูงอายุ ซึ่งคุ้นเคยกับการใช้โทรศัพท์แบบกดปุ่ม เราเลยต้องค่อยๆทำให้เค้าเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันเข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน  โดยจะต้องทำให้จิตอาสาอสม.มองเห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปส่งเสริมการทำงานด้านสาธารณสุขชุมชนที่จะทำให้การดูแลสุขภาพคนในชุมชนรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการนำนวัตกรรมใหม่ๆ เข้าไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการทำงานเดิมของอสม.ที่ทำอยู่แล้ว”

ซึ่งกว่าแอปฯ นี้จะตอบโจทย์การทำงานด้านสาธารณสุขชุมชนทั่วประเทศได้นั้น ทีมงานฯจะต้องลงพื้นที่ไปพูดคุยกับอสม. เจ้าหน้าที่รพ.สต. และชาวบ้าน ในแต่ละพื้นที่ที่มีบริบทที่แตกต่างกัน เพื่อเฟ้นหาความต้องการที่สอดคล้องกันในแต่ละพื้นที่มาเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างนวัตกรรมบริการสังคมแอปฯ อสม. ออนไลน์ แล้วจึงให้รพ.สต.และอสม. นำไปทดลองใช้ก่อนที่จะเปิดการใช้งานจริง

หลังจากนั้น ได้ขยายการใช้งานไปยังหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ และรพ.สต.ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยทีมชุมชนสัมพันธ์ จะลงพื้นที่เแนะนำให้ข้อมูล รวมถึงประโยชน์ในการนำแอปฯ อสม.ออนไลน์ไปใช้ในการทำงานด้านสาธารณสุขชุมชน  พร้อมทั้งสอนวิธีการใช้งานในแต่ละฟังก์ชันให้แก่กลุ่มอสม.ที่มีเครื่องสมาร์โฟนและมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นกลุ่มแรก เพื่อให้อสม.กลุ่มนี้เป็นต้นแบบในพื้นที่ เพื่อจะได้แบ่งปันข้อมูลการใช้งานให้อสม.ในเครือข่ายต่อไป  ซึ่งการลงพื้นที่ไปบ่มเพาะความรู้ให้แก่อสม.ทั่วประเทศนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีข้อจำกัดเรื่องของภาษาถิ่นและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อาจทำให้เกิดการสื่อสารและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้จึงต้องเปิดรับพนักงานจิตอาสาในท้องถิ่น เพื่อไปแนะนำการใช้แอปฯอสม.ออนไลน์ให้แก่รพ.สต.และอสม.ในแต่ละภูมิภาค เพราะการพูดภาษาถิ่นเดียวกัน ทำให้การสื่อสารข้อมูลระหว่างกันง่ายขึ้น

นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ AIS ​มีพนักงานจิตอาสาในท้องถิ่น เพื่อลงไปบ่มเพาะความรู้ให้กับอสม. โดยจะมีการอบรมการใช้แอปฯ แอสม.ออนไลน์และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการลงพื้นที่ ให้กับจิตอาสาอสม.ในแต่ละท้องที่ด้วย “อย่างในแต่ละภาคก็จะมีพนักงานจิตอาสาของเราลงไป พวกเขาจะได้รับคู่มือ เพื่อนำไปสอน

อสม. ในแต่ละพื้นที่ รวมถึงมีทีมจากส่วนกลางเข้าไปแบ่งปันประสบการณ์ที่เราได้จากการลงพื้นที่อื่นๆ มาให้พนักงานจิตอาสาในแต่ละท้องที่ได้ฟังด้วย แล้วพวกเขาก็จะนำไปประยุกต์ใช้สื่อสารกับคนในท้องถิ่นต่อไป” คุณศิริเพ็ญกล่าว


แชร์ :

You may also like