HomeBRAND HERITAGE‘คิคุโอะ อิเบะ’ ผู้สร้างตำนาน G-SHOCK กับเรื่องราวตลอด 35 ปี ที่คุณรู้แล้วจะต้องช็อค

‘คิคุโอะ อิเบะ’ ผู้สร้างตำนาน G-SHOCK กับเรื่องราวตลอด 35 ปี ที่คุณรู้แล้วจะต้องช็อค

แชร์ :

ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ล้วนเกิดจากความผิดพลาดและล้มเหลวมานับครั้งไม่ถ้วน ต้องใช้ทั้งความทุ่มเท ความพยายาม และความอดทนมากมาย เพื่อไม่ให้ถอดใจล้มเลิกกลางคัน เพราะคิดว่าเป้าหมายเหล่านั้นไม่มีทางเป็นไปได้ เรียกว่าต้องเค้นทั้งกำลังกายกำลังใจกันสุดขั้ว กว่าจะถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สุดท้ายแม้จะประสบความสำเร็จ ก็ใช่ว่าเรื่องราวจะแฮปปี้เอนดิ้ง เพราะนั่นอาจจะเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นที่จะก้าวไปสู่ความท้าทายอื่นๆ ที่จะตามมาหลังความสำเร็จนั้น เพื่อเป็นบทพิสูจน์ใหม่ว่า คุณสตรองมากพอที่จะรักษาความสำเร็จที่สร้างขึ้นมาไว้ได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนได้ตลอดไปหรือไม่

หนึ่งแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์เด่นชัดในเรื่องของความทนทาน และไม่ผิดหากจะกล่าวว่าเป็นผู้เข้ามาฉีกกฎเกณฑ์เดิมๆ กลายเป็นคนบัญญัติ New Normal ให้วงการนาฬิกาในยุคที่ต้องย้อนกลับไปเมื่อ 3 ทศวรรษที่แล้ว อย่าง GSHOCK ที่ไม่เพียงเป็นผลงานระดับ Master Piece  ของค่ายคาสิโอเท่านั้น แต่ยังเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมชิ้นเอกของแวดวงนาฬิกาโลกอีกด้วย

GSHOCK เกิดขึ้นจากความทุ่มเทของผู้คิดค้นอย่าง คุณคิคุโอะ อิเบะ นักวิศวกรกลไกชื่อดังชาวญี่ปุ่น ที่เริ่มงานกับคาสิโอตั้งแต่เรียนจบในปี 1978  ซึ่งขณะนั้นยังเป็นบริษัทเล็กๆ ที่ผลิตนาฬิกาดิจิตอล ด้วยมุมมองว่า การทำงานในบริษัทขนาดเล็กจะทำให้มีโอกาสได้ปล่อยของ นำเสนอไอเดียสร้างสรรค์ต่างๆ ได้มากกว่า

จะกล่าวว่าจุดเริ่มต้นของ G-SHOCK เกิดขึ้นจากความเจ็บปวดหรือจะเรียกว่าแผลในใจของผู้ให้กำเนิดแบรนด์ก็ไม่ผิดนัก เมื่อวันหนึ่งคุณอิเบะทำนาฬิกาที่ใช้มานานและเป็นของขวัญที่ได้มาจากคุณพ่อหล่นพื้นแตกกระจายเป็นเสี่ยง ด้วยความตกใจและเสียดายสุดชีวิต จึงตั้งเป้าหมายกับตัวเองตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาว่า จะต้องผลิตนาฬิกาที่มีความแข็งแรงทนทาน ชนิดที่ตกแล้วไม่ต้องกลัวว่าจะแตกหักหรือเสียหายให้จงได้

คุณอิเบะใช้เวลาในการคิดค้นและพัฒนาให้ได้นาฬิกาที่แข็งแรงทนทานแบบที่ต้องการอยู่หลายปี พยายามหาวัสดุต่างๆ มาใส่เพื่อป้องกันนาฬิกา ก่อนจะทดลองโยนลงมาจากหน้าต่างชั้น 3 ของตึกที่ทำการวิจัย ทดลองแล้วทดลองอีก แต่ผลก็ยังไม่ได้ตามที่ตั้งใจ คุณอิเบะจึงเริ่มคิดค้นสิ่งใหม่ โดยพัฒนาโครงสร้างเพื่อป้องกันกลไกลนาฬิกาที่สามารถรองรับแรงกระแทกได้ถึง 5 ชั้น แต่ก็ยังคงมีชิ้นส่วนบางอย่างที่เสียหาย ทำให้ดูเหมือนว่าสิ่งที่วาดฝันไว้ไม่น่าจะมีโอกาสจะเป็นจริงได้แล้ว แต่คุณอิเบะก็ไม่เคยยอมแพ้ และไม่หยุดที่จะค้นหาวิธีเพื่อทำให้สิ่งที่ตั้งใจไว้นั้นเกิดขึ้นได้จริง

วันหนึ่งด้วยความบังเอิญจากการสังเกตลูกบอลที่กระเด้งจากพื้นและลอยอยู่ในอากาศ นำมาซึ่งไอเดียในการนำยางคุณภาพสูงและทนแรงกระแทกได้ดีอย่างยูรีเทนมาเป็นเครื่องป้องภายนอก โดยให้ตัวกลไกนาฬิกาลอยอยู่แล้วมีจุดยึดเชื่อมไว้ เพื่อให้ตัวกลไกไม่ถูกยึดติดกับตัวเรือนจึงกระจายแรงกระแทกได้ดี และเป็นต้นกำเนิดของโมเดล G-SHOCK มาจนถึงปัจจุบัน

โมเดลแรกของ G-SHOCK  ออกมาแนะนำตัวในปี 1983 คือ DW5000C เป็นการต่อยอดจากนาฬิการุ่นที่ทนทานที่สุดของคาสิโอในขณะนั้น คือ Triple 10  ที่มีคุณสมบัติในการทนแรงกระแทกจากการตกบนพื้นได้สูงถึง 10 เมตร กันน้ำได้ในระดับ 10 บาร์ และมีอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ถึง 10 ปี  ขณะที่ชื่อ G-SHOCK ก็สะท้อนถึงความพยายามจากการทดลองครั้งแล้วครั้งเล่า โดยมีแรงโน้มถ่วง (Gravity) มาเกี่ยวข้อง  เพื่อสื่อความหมายถึงความทนทาน ทนต่อแรงกระแทก และนำสมัย

อย่างที่บอกว่าแม้จะประสบความสำเร็จก็ใช่ว่าจะจบแบบแฮปปี้เอนดิ้ง เพราะแม้ G-SHOCK จะมีความทนทานสูง แต่ก็ฉีกกรอบภาพลักษณ์เดิมๆ ของนาฬิกาในยุคนั้นอย่างสิ้นเชิง ขณะคนส่วนใหญ่จะนิยมนาฬิกาที่เป็นเรือนบางๆ แต่ทว่า G-SHOCK ดูบึกบึน แข็งแรง ทนทาน ทำให้ช่วงแรกที่เปิดตัว ต้องอยู่ในภาวะที่เรียกว่า “ขายไม่ออก”  กันเลยทีเดียว โดยเฉพาะช่วง 10 ปีแรกที่ทำตลาด แต่ G-SHOCK ก็ไม่ล้มเลิกพัฒนาตัวเอง พยายามก้าวให้ทันเทรนด์โลกที่เปลี่ยนไป พัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อยู่เสมอ และขยายทาร์เก็ตให้กว้างขึ้น จากที่โฟกัสเรื่องความแข็งแรง ทนทาน ทำให้ภาพลักษณ์เปลี่ยนจากนาฬิกาในกลุ่มช่าง หรือคนทำงานหนัก มาแต่งเติมเพิ่มสีสัน ให้ดูสดใสมากขึ้น จนเริ่มโดนใจวัยรุ่น คนทำงาน และในหมู่นักกีฬา

G-SHOCK เริ่มได้รับความนิยมในวงกว้างมากยิ่งขึ้น  จนกระทั่งได้รับการยอมรับในตลาดอเมริกา เมื่อทอล์กโชว์รายการดังนำนาฬิกา G-SHOCK ไปทดสอบความทนทานด้วยการใช้ไม้ฮอกกี้น้ำแข็งฟาดมาที่นาฬิกาแทนลูกฮอกกี้ในการแข่งขัน รวมทั้งใช้รถบรรทุกทับมาที่ตัวเครื่อง ปรากฎว่านาฬิกายังคงทำงานได้ตามปกติ เป็นการพิสูจน์ว่า G-SHOCK ไม่ได้โฆษณาเกินจริง จนได้รับการอุดหนุนอย่างมหาศาลจากคนอเมริกัน รวมทั้งปลุกกระแสความนิยมให้ขยายกลับไปยังตลาดญี่ปุ่น รวมทั้งในตลาดอื่นๆ ทั่วโลก

ล่วงเลยมากว่า 3 ทศวรรษ G-SHOCK ยังคงรักษาความนิยมและมีฐานแฟนคลับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะยังคงยึดสปิริตของแบรนด์ที่ว่า Never Gave Up ทำให้ยังคงสตรองมาได้มากกว่า 3 ทศวรรษ  รู้แบบนี้แล้วก็ไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไม G- SHOCK ถึงทนและแกร่งได้ถึงเพียงนี้ เพราะได้รับ DNA พันธุ์แกร่งมาจากเจ้าพ่อ G-SHOCK อย่างคุณอิเบะนี่เอง

และต้องนับว่าเป็นโอกาสดีสุดๆ ของเหล่าแฟนพันธุ์แท้ สาวก G-SHOCK คนไทย ที่จะมีโอกาสใกล้ชิดและรับพลังบวก จาก The Father of G-SHOCK ตัวจริง เสียงจริง ของผู้สร้างตำนาน  G-SHOCK  เมื่อ ‘คิคุโอะ อิเบะ’ เตรียมมาพบแฟนคลับถึงในประเทศไทยแบบใกล้ชิด ในวันที่ 28 เมษายนนี้ ที่ G-Factory CentralWorld ตั้งแต่  15.00-16.00 น.  โดยได้มอบความพิเศษให้กับผู้ซื้อสินค้า  MOG / G-Shock / Baby-G  ด้วยโปรโมชั่นสุดพิเศษภายในงานวันเดียวเท่านั้น

ปีนี้ต้องถือเป็นอีกหนึ่งปีที่คึกคักของ G-SHOCK  เพราะนอกจาก จะได้กระทบไหล่ผู้ปลุกปั้นแบรนด์แล้ว ก่อนหน้านั้น1 วัน คือ ในวันที่ 27 เมษายน  จะมีการจัดปาร์ตี้สุดช็อค ให้เหล่าสาวกได้มาระเบิดความมันส์ กันแบบสุดขั้วกับงาน  Casio G-SHOCK  Presents Culture Shock Party  2017 : The Master Of Sound Battle สุดยอดการปะทะกันของ 3  ตัวท็อป ทีมดีเจชั้นนำของเมืองไทย ในแต่ละศาสตร์ดนตรี   ณ ลาน OASIS GARDEN (RCA) ประตูเปิด 2 ทุ่มเป็นต้นไป

งานครั้งนี้ G-Shock เตรียมเนรมิตลาน OASIS GARDEN ให้กลายเป็นลานประลองเพลงเต้นรำจากเหล่าดีเจชื่อดังหลากหลายแนว ภายใต้คอนเซ็ปต์ Sound Clashนำโดย Quay Record จ้าวแห่งดนตรี Underground ของเมืองไทย, Bangkok Invader กับสุดยอดซาวด์ดนตรี HipHop และ Lazerface ที่ขนบทเพลง EDM มาประชัน โดยจะมีเพียง 1 ทีม ที่จะได้ครองตำแหน่ง Master of  G ของงาน

ผู้สนใจรับบัตรร่วมงาน เพียงซื้อนาฬิกา G-SHOCK หรือ BABY-G ราคาปกติ ครบ 5,000 บาทขึ้นไป ที่ G-FACTORY ทุกสาขา, ร้าน Watch Station และเคาท์เตอร์นาฬิกาชั้นนำ รับบัตรจำนวน 2 ใบทันที และพิเศษยิ่งขึ้น หากซื้อสินค้ากลุ่ม Master of G นอกจากได้รับบัตรร่วมงาน 2 ใบ ยังได้รับของที่ระลึกสุดพิเศษจาก G Shock จำนวนจำกัด  โดยมีระยะเวลารับบัตรถึง 27 เมษายน 2560  นี้ เท่านั้น  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ G-FACTORY ทุกสาขา, ร้าน Watch Station และเคาท์เตอร์นาฬิกาชั้นนำ


แชร์ :

You may also like