HomeBrand Move !!พลาสเตอร์ปิดแผลจากเซลลูโลสอ้อย สุดยอดไอเดียนวัตกรรมจากเด็กไทยต่อยอดพืชเศรษฐกิจ Bio Economy

พลาสเตอร์ปิดแผลจากเซลลูโลสอ้อย สุดยอดไอเดียนวัตกรรมจากเด็กไทยต่อยอดพืชเศรษฐกิจ Bio Economy

แชร์ :

เป็นที่รับรู้กันว่าประเทศไทยเป็น ประเทศ  Agriculture Based  ขณะที่ทางรอดในยุค  Technology  Disruption จำเป็นต้องพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ให้ธุรกิจอยู่เสมอ  เพื่อสร้างความต่าง  สร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้น  และที่สำคัญต้องเข้ามาตอบโจทย์  แก้ปัญหา หรือ  Pain Point ต่างๆ  ที่ผู้บริโภคต้องพบเจอในแต่ละมิติให้ได้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

Bio Economy  หรือแนวทางในการโฟกัสเศรษฐกิจฐานชีวภาพ  และน่าจะเป็น Best  Solution ในการสร้างตัวตน และหาจุดยืนที่แข็งแกร่งให้กับประเทศไทย  ด้วยการใช้ความได้เปรียบจากการเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีพืชเศรษฐกิจหลากหลาย และหลายตัวยังสามารถดึงศักยภาพที่มีอยู่มาใช้ได้มากกว่าที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน  โดยเฉพาะการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาผสมผสาน  การศึกษาผลงานวิจัยต่างๆ  เพื่อนำมาต่อยอด  ในการสร้าง High Value Added ให้กับพืชเศรษฐกิจเหล่านี้ได้อย่างสูงสุด  โดยไม่จำเป็นต้องมองในกรอบของการเป็นพืชเกษตร หรืออาหารเท่านั้น  แต่อาจมองในมิติของการนำไปเป็นวัตถุดิบตั้งต้นให้กับอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง  ทั้งในด้าน  Energy  IT หรือ Medical เป็นต้น

การขับเคลื่อนประเทศไปสู่ทิศทางดังกล่าว  จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นนโยบายที่ต่อเนื่องและจริงจังของรัฐบาล ซึ่งมีสัญญาณดีให้เห็นจากการขับเคลื่อนนโยบบาย Thailand 4.0  บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมทั้งด้านกำลังคนและงบประมาณ   รวมทั้งองค์กรอิสระที่มีบทบาทและหน้าที่ในการสนับสนุนเรื่องของการประดิษฐ์คิดค้น  การวิจัยและพัฒนา  การใช้ความคิดสร้างสรรค์  รวมทั้งฟากฝั่งของผู้ให้การสนับสนุนในเรื่องของเงินทุน เพื่อต่อยอดผลงานวิจัยต่างๆ  ให้กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม   มีความแตกต่าง  สามารถตอบโจทย์และเข้ามาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ให้กับผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง

กลุ่มมิตรผล ในฐานะองค์กรที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 60  ปี และมีนโยบายในการขับเคลื่อนธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว  จากฐานะผู้ผลิตและทำตลาดน้ำตาลรายใหญ่ของประเทศ  เริ่มขยายธุรกิจไปในเซ็กเตอร์ใหม่ๆ  จากฐานของ Bio Economy  และมีความชัดเจนขององค์กรในการให้ความสำคัญกับการต่อยอดธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำให้ปัจจุบันกลายเป็นผู้นำในธุรกิจหลากหลาย ทั้งธุรกิจเกษตร  อาหาร และพลังงาน

คุณ ประวิทย์  ประกฤตศรี  ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มธุรกิจพลังงาน  กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า  ตลอด 60 ปี กลุ่มมิตรผลให้ความสำคัญกับเรื่องของการพัฒนาและยกระดับนวัตกรรมให้กับธุรกิจมาโดยตลอด  เนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงเทรนด์ที่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น  แต่ยังเป็นกระแสที่เกิดขึ้นทั่วทั้งโลก  ทำให้การผลิตสินค้าจากนี้ไปจะไม่ใช่เพียงแค่การผลิตสินค้าตามปกติ แต่ต้องผสมผสานนวัตกรรมเข้าไปด้วย  ขณะที่ธุรกิจจากพืชผลการเกษตรเป็นหนึ่งในตัวตนของกลุ่มมิตรผล  ประกอบกับทิศทางของกลุ่มมิตรผลที่ให้ความสำคัญกับการต่อยอดธุรกิจในภาพของ  Bio Economy  มาโดยตลอด  ด้วยการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวกับพืชผลทางการเกษตร เพื่อมองหาผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาต่อยอดและสร้างให้เกิดโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ ให้กับธุรกิจได้  จากเดิมที่กลุ่มมิตรผลมีธุรกิจหลักคือ น้ำตาล  ต่อยอดมาสู่ธุรกิจพลังงาน  วัสดุทดแทนไม้  และจะขยายไปสู่เซ็กเตอร์ใหม่ๆ เพิ่มเติม ทั้งในกลุ่ม  Bio Chemical. Functional  Food  รวมทั้งการเข้าไปในธุรกิจที่มีมูลค่าสูงอย่าง กลุ่มของผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ   ซึ่งล้วนเกิดขึ้นมาจากการต่อยอดในเรื่องของการวิจัยและพัฒนาพืชเศรษฐกิจต่างๆ

หนึ่งในคณะกรรมการกิตติมศักดิ์อย่าง ดร. วิเชียร สุขสร้อย ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายยุทธศาสตร์นวัตกรรม  NIA กล่าวเพิ่มเติมว่า  Bio Tech เป็นอีกหนึ่งกระแสที่เกิดขึ้น และขยายตัวเช่นเดียว Fin Tech, Health Tech  แม้การเพิ่ม Value ในกลุ่มนี้ จะไม่สูงมากเหมือนฝั่งไอที แต่ต้องพยายามหาโซลูขั่นส์  ที่สามารถเข้ามาเพิ่ม High Value Added  ที่แตกต่างไปจาก Norm เดิมๆ  ซึ่งถือเป็นเรื่องท้าทายและต้องอาศัยเวลา  โดยเฉพาะการพัฒนาคน เป็นเรื่องท้าทายมากที่สุด การเปิดโอกาสให้กับกลุ่ม Young Talent  ที่มีแนวคิด  มีไอเดียคอนเซ็ปต์ ที่สามารถต่อยอดทางการตลาดและสร้างมูลค่าเพิ่มได้  จึงมีความจำเป็น และเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมความแข็งแรงให้กับระบบนิเวศทางด้านนวัตกรรมของประเทศอีกด้วย

หนึ่งกิจกรรมที่เข้ามาเสริมสร้าง  Innovation Ecosystem  ให้เติบโตและแข็งแรงอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่  Mitr Phol Bio Innovator Award 2016  นวัตกรรมความคิด  พลิกชีวิตสู่อนาคต   ของกลุ่มมิตรผลที่ต้องการเปิดเวทีประชันไอเดียจากโจทย์ในเรื่อง  Bio Economy   กับการต่อยอดพืชเศรษฐกิจไทยให้ยั่งยืน  โดยประกาศผลรอบสุดท้าย และได้ทีมชนะเลิศ ที่ได้รับเงินรางวัล 2 แสนบาท พร้อมโล่รางวัล คือ  ทีมคุณหมออ้อย จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน  กับผลงาน  Gen-Treat  แผ่นพลาสเตอร์ปิดแผลจากเซลลูโลสอ้อย  ที่พัฒนาแผ่นปิดแผลจากธรรมชาติ 100%  และมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ โดยการดึงเอาเอนไซม์น้ำตาลสดจากต้นอ้อย มาผสานกับแผ่นแบคทีเรียลเซลลูโลสเพื่อให้ผลิตเป็นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์  ช่วยป้องกันการติดเชื้อ และลดรอยแผลเป็น รวมทั้งสามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ  เพื่อมาทดแทนแผ่นปิดแผลเดิมที่มีอยู่ในท้องตลาด ที่ทำมาจากสารเคมี และส่วนใหญ่นำเข้ามาจากต่างประเทศ

งานครั้งนี้มีไอเดียจากกลุ่มเยาวชนมากกว่า 300 คน ที่เข้ามานำเสนอนวัตกรรมที่ต่อยอดมาจากงานวิจัย  เป็นหนึ่งแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   ให้สอดคล้องกับทิศทาง Thailand 4.0  ที่จะมี Innovation เป็นแกนหลักสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ รวมทั้งยังเป็นการสร้างให้เกิดเครือข่ายในการพัฒนาและต่อยอดในเรื่องของนวัตกรรมที่ไม่ใช่เพียงเฉพาะในประเทศเท่านั้น  แต่ยังสามารถเชื่อมโยงไปสู่ทั่วทั้งโลกได้ในอนาคตอีกด้วย


แชร์ :

You may also like