HomeBrand Move !!ปลูกป่าทุกวัน ป่าหายทุกปี … ปัญหาเรื้อรังที่ทุกคนต้องร่วมแก้

ปลูกป่าทุกวัน ป่าหายทุกปี … ปัญหาเรื้อรังที่ทุกคนต้องร่วมแก้

แชร์ :

kbank CP nan forest

“ไปปลูกป่ากันเถอะ” ประโยคสั้นๆที่เชิญชวนเราให้ไปร่วมกันเพิ่มจำนวนพื้นที่สีเขียวให้กับโลกและประเทศของเรา  แต่ไฉนเลยลองกลับมามองดูสถิติของพื้นที่ป่าของไทยกลับลดน้อยลงทุกปี  หรือจะเรียกว่า  “ปลูกป่าทุกวันแต่ป่าหายทุกปี” เป็นเหตุให้เกิด กิจกรรมคืนผืนป่า ในโครงการรักษ์ป่าน่าน  ที่ทาง บัณฑูร ล่ำซ่ำ ปลุกปั้นกับมือลงแรง ลงพื้นที่ด้วยตนเองมากกว่า 2 ปีในการศึกษาและผลักดันให้ฟื้นฟูพื้นป่านี้ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง พร้อมกับสนับสนุนให้อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน  ที่ผ่านมา Brand Buffet  มีโอกาสเข้าร่วมสังเกตการณ์ครั้งนี้ด้วย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

Bantoon Kbank

บัณฑูร ล่ำซ่ำ เล่าโครงการฯด้วยตนเอง

จุดเริ่มต้น…รักษ์ป่าน่าน

โครงการรักษ์ป่าน่านเกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติเมืองน่านในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเรื่องของการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่โดยตรงแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศน์ภาพรวมของประเทศไทยด้วย เนื่องจากที่นี่เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำน่าน หนึ่งในแม่น้ำสายสำคัญซึ่งเป็นปริมาณน้ำกว่าร้อยละ 40 ของแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงติดตามความก้าวหน้าของโครงการตามพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดน่านได้ทอดพระเนตรเห็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว ทรงห่วงใยและทรงเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ให้คืนสู่สมดุลโดยเร็วที่สุด จึงมีพระราชดำริให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมกันจัดทำโครงการประชุมวิชาการเรื่อง “รักษ์ป่าน่าน” ขึ้น  เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2557  และ ครั้งที่สองเมื่อต้นปี 2558 พร้อมกับ บัณฑูร ล่ำซ่ำ เห็นความสำคัญของป่าต้นน้ำจึงได้คลุกคลีอยู่กับโครงการฯนี้ด้วยตนเองในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

ปลูกป่าทุกวัน ป่าหายทุกปี

ประเทศไทยเรามีการรณรงค์หรือกิจกรรมการปลูกป่ากันมากมาย  แต่สาเหตุการตัดไม้ทำลายป่ายังไม่ถูกกำจัดออกไป  จากสถิติพื้นที่ป่ากลับลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน  ตัวอย่างเช่น พื้นที่ป่าสงวนในจังหวัดน่านที่เป็นแห่งต้นน้ำที่สำคัญของประเทศไทย  ลดลงทุกปีประมาณ 1.5 แสนไร่ (2507 – 2556)  คนส่วนใหญ่คิดว่าจำนวนพื้นที่ป่าไม้ที่ลดลงเป็นเพราะการบุกรุกของกลุ่มนายทุนเป็นเหตุหลัก  แต่แท้จริงแล้วยังมีอีกปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กันคือ  การบุกรุกพื้นที่ป่าของชาวบ้าน ที่ขยายการพื้นที่ทำไร่ทำสวนออกไปเขตพื้นที่ป่าสงวนเพื่อหาเลี้ยงชีพ ทั้งเกิดจากความตั้งใจบ้างและไม่ตั้งใจของชาวบ้าน ที่ต้องการขยายพื้นที่การเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะพืชเชิงเดี่ยวที่มีแนวโน้มเกิดผลเสียในอนาคต  เช่น  การข้าวโพด เพื่อทำเป็นอาหารส่งให้กับโรงงานเลี้ยงสัตว์ หรือปลูกยางพารา ซึ่งไม่คุ้มค่ากับพื้นที่ป่าต้นน้ำที่เสียไป  ทำให้เป็นผืนป่าโล้นและแห้งแล้ง

Kbank Cp Nan forest

แผนที่ปัจจุบันและอนาคตการคืนผืนป่า2

ขอคืนผืนป่า

บัณฑูร ล่ำซ่ำ เสนอหลักการแก้ปัญหา  คือ  เริ่มจากการขอคืนผืนป่าจากชาวบ้านอย่างประนีประนอม ทั้งการใช้เจ้าหน้าของรัฐฯหรือกองทัพเข้าพูดคุยอธิบายปัญหาการลุกล้ำพื้นที่ป่าสงวน พร้อมกับร่วมกันหาทางออกหรือชดเชยค่าลงทุนการปลูกให้กับเกษตรกร  ขั้นตอนต่อมาสร้างระบบน้ำเพื่อการเกษตรเพาะปลูกแบบเดิมแต่ในเนื้อที่น้อยลง หรือ ส่งเสริมอาชีพการเกษตรในรูปแบบอื่นๆอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ

ทั้งนี้ช่วงการเปลี่ยนถ่ายแต่ละเฟสจึงมีความสำคัญมาก  เนื่องจากชีวิตของเกษตรกรต้องดำเนินเพื่อให้มีกินมีใช้ในแต่ละวัน  การสนับสนุนด้านเงิน , เทคโนโลยี , องค์ความรู้ , ส่งเสริมการตลาด , ประกันราคา เป็นต้น ดังนั้นภาคเอกชนหนึ่งในห่วงโซ่สำคัญของประเทศ ควรเข้ามาร่วมด้วยช่วยกันสนับสนุนโครงการนี้

โครงการนำร่องครั้งแรกนี้  บัณฑูร ล่ำซ่ำ ธนาคารกสิกรไทย  เชิญ ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการบริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะภาคเอกชนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเกษตรกร/ปศุสัตว์โดยตรงมาร่วมสนับสนุนและผลักดันโครงการนี้ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยจะเข้ามาให้องค์ความรู้ การตลาด และช่วยให้ชาวบ้านได้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพและดำรงชีพอยู่ได้  การขอคืนผืนป่าครั้งแรกนี้สามารถขอคืนผืนป่าจาก 4 หมู่บ้าน ต.เมืองจัง อ.ภูเพียง จังหวัดน่านได้จำนวน  300 ไร่  และถ้าหากประสบความสำเร็จได้รับความร่วมมือจากเอกชนอื่นๆ จะขยายขอคืนผืนป่าในเขตอื่นๆอีก …. ถึงเวลาที่เราร่วมมือกันแก้ปัญหาจากต้นเหตุหลักของการสูญเสียผืนป่า มิฉะนั้นแล้วเราคงจะไม่มี “น้ำ” ให้เราดำรงชีพ

Kbank Cp Nan forest2

kbank CP nan

kbank CP nan forest2

kbank CP nan forest3


แชร์ :

You may also like