HomeBrand Move !!“WORDLESSNESS” สื่อสารไร้ถ้อยคำ เทรนด์ใหม่ในโลกดิจิตอล

“WORDLESSNESS” สื่อสารไร้ถ้อยคำ เทรนด์ใหม่ในโลกดิจิตอล

แชร์ :

 

digital messenger

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

 แมคแคน ทรูธ เซ็นทรัล (McCann Truth Central) หน่วยงานค้นหาและจุดประกายความคิดเกี่ยวกับตัวตนของผู้บริโภคและธุรกิจ เพื่อเป็นส่วนช่วยในการวางแผนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นให้กับนักการตลาด สรุปภาพรวมเทรนด์ในโลกดิจิตอลชุดล่าสุดเรื่อง “WORDLESSNESS” สื่อสารไร้ถ้อยคำ เทรนด์ใหม่ในโลกดิจิตอล ดังนี้

🙂   🙁   😛   :'(   

ในยุคดิจิตอลสมัยนี้ คงไม่มีใครที่ไม่เข้าใจความหมายของสัญลักษณ์อิโมติคอน (Emoticon) ไม่น่าเชื่อเลยว่าสัญลักษณ์บนคีย์บอร์ดมาเรียงกันเพียงไม่กี่ตัว จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของภาษาที่ผู้คนใช้สื่อความหมายและความรู้สึกกันในชีวิตประจำวัน  และคงจะเห็นกันได้ว่า การสื่อสารในยุคโซเชียล ไม่ใช่เป็นเพียงการส่งและรับข้อความอย่างที่เคยเป็นมา แต่ความน่าสนใจกลับอยู่ที่ การสื่อสาร “ความรู้สึก” ผ่านเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สร้างมิติใหม่ๆในการสื่อสารอย่างไม่มีวันหยุดนิ่ง

Wordlessness 4

เมื่อสองมิติมาบรรจบกัน (2 WORLDS COLLIDE) 

คงเป็นที่คุ้นเคยกันไปแล้วกับภาพของผู้คนทุกเพศทุกวัยที่เดินไปมาตามท้องถนน ต่างก้มมองและพุ่งความสนใจไปที่จอมือถือหรือแท็บเล็ตของตัวเอง จนเกิดกระแสต่อต้าน “สังคมก้มหน้า” ที่เป็นแรงบันดาลใจสำหรับเพลงฮิตอย่าง “โอมจงเงย” โดยแสตมป์ อภิวัชร์ในปีที่ผ่านมา ไม่เพียงเท่านั้นทั่วโลกถึงกับมีการรณรงค์ “Stop Phubbing” (http://stopphubbing.com/) ซึ่งมาจากคำว่า “phone snubbing” หรือการให้ความสนใจกับมือถือตลอดเวลาแม้ตอนเข้าสังคม แทนที่จะพูดคุยกับคนจริงๆที่อยู่ข้างๆ

บางคนอาจมองว่าผู้คนสมัยใหม่ออกอาการ “ติดมือถือ” แต่เมื่อมาทำความเข้าใจกันจริงๆแล้ว ในยุค “Always On” ที่ทุกคนเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลาแบบ 24/7 การใช้ชีวิตในโลก online และ offline จึงบรรจบทับซ้อนกันอย่างแยกจากกันไม่ได้ ในขณะที่พวกเขากำลังใช้ชีวิต offline อยู่ ไม่ว่าจะระหว่างการเดินทางหรือนั่งรอ ชีวิต online ของเขาก็กำลังเดินหน้าไปด้วยในเวลาเดียวกัน จึงพูดได้ว่าชีวิตคนยุคใหม่ไม่ได้ดำเนินไปเป็นเพียงเส้นตรงเส้นเดียวอีกต่อไป

 

ยุคสมัยของแชท (EVOLUTION OF WORDLESSNESS)

“โอ๊ะ-โอ!”​ จำเสียงนี้กันได้มั้ย?  ถ้าเกิดคุณเป็นคนหนึ่งที่โตมาในยุคแรกๆของโปรแกรมแชททางคอมพิวเตอร์คงจะต้องจำ ICQ ได้แน่นอน ต่อจากนั้นก็เป็นยุคทองของ MSN Messenger ที่ไม่ว่าใครก็ต้อง​ “ออนเอ็มฯ” กันทั้งนั้น จนถึงยุคของการแชททางสมาร์ทโฟน เริ่มด้วย “BBM” (BlackBerry Messenger) โปรแกรมแชทสำหรับผู้ใช้มือถือ BlackBerry ด้วยกัน ที่ป๊อบปูล่าร์จนการจีบกันระหว่างหนุ่มสาว เปลี่ยนจากการขอเบอร์เป็นการ “ขอ PIN” แต่ทุกวันนี้คนรุ่นใหม่ ใครๆก็ต้องออกปาก “ขอ LINE” กันทั้งนั้นไม่ว่าจะใช้สมาร์ทโฟนค่ายใด   ในระยะเวลาเพียง 2 ปี LINE ก็กลายเป็นแอพโซเชี่ยลยอดฮิตที่มีผู้ใช้ถึง 230 ล้านคนทั่วโลก และถึง 18 ล้านคนในประเทศไทย เป็นรองจากเพียงเจ้าพ่อวงการโซเชียลอย่าง Facebook เท่านั้นที่มีผู้ใช้ในประเทศไทยอยู่ที่ 22 ล้านคน เห็นได้แบบจะๆว่าแอพการแชททางมือถือกลายเป็นวิธีสื่อสารหลักของคนยุคใหม่ไปแล้ว

 

สิ่งที่คำพูดไม่สามารถสื่อได้ (ESSENCE OF WORDLESSNESS)

คุณเคยเกิดอาการ “ไม่มีอะไรจะพูด เลยส่งสติกเกอร์ไปทัก” บ้างไหม?  ทุกวันนี้ เราสามารถสื่อ nonverbal communication เช่นการแสดงอารมณ์ทางใบหน้าผ่านเทคโนโลยีใหม่ๆ ปรากฎการณ์ใหม่ที่มาแรงแบบฉุดไม่อยู่ คือสติ๊กเกอร์ LINE นั่นเอง นับตั้งแต่วันนี้ได้มีการส่งสติ๊กเกอร์ LINE เกิน 1 พันล้านครั้งแล้ว และยังสามารถสร้างรายได้จากการขายสติ๊กเกอร์ในแอพถึง 10 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือนเลยทีเดียว (สิงหาคม 2013) ทุกคนคงจำได้ ช่วงสัปดาห์ที่ LINE ฉลองจำนวนผู้ใช้ทะลุ 200 ล้านคนในเดือนมิถุนายน โดยการแจกสติ๊กเกอร์ให้โหลดฟรี สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ใช้อย่างมาก จนทุกๆเช้าในอาทิตย์นั้นทุกคนจะทักทายกันด้วยคำว่า “โหลดสติ๊กเกอร์ใหม่ของวันนี้รึยัง?” แบรนด์ไทยหลายๆแบรนด์ก็พยายามเกาะกระแสสติ๊กเกอร์โดยการออกแบบสติกเกอร์ของแบรนด์ออกมาให้โหลดฟรี ด้วยเป้าหมายที่จะเข้าไปเป็นส่วนร่วมให้การพูดคุยของผู้บริโภคผ่าน LINE ที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

Wordlessness 1

 

– แบบสติ๊กเกอร์ที่มีให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่น่ารักกุ๊กกิ๊กไปถึงแบบตลกโปกฮาจนถึงสนุกเซ็กซี่ก็มี ความน่าสนใจของสติ๊กเกอร์คงหนีไม่พ้น

1) การสะท้อนไลฟ์สไตล์และความรู้สึกของคนยุคใหม่ได้ตรงจุดจนน่าตกใจ (คิดว่าตรงนี้ต้องมีหลายคนที่ไม่สามารถอดใจโหลดสติ๊กเกอร์ชีวิตกระต่ายสาวออฟฟิศได้)

2) แค่มองเพียงปราดเดียวก็เข้าใจในความหมายได้ทันที กลายเป็นว่าการส่งสติ๊กเกอร์อาจสามารถสื่อความรู้สึกได้ “โดนใจ” กว่าการใช้ถ้อยคำเสียอีก และ

3) สามารถช่วยให้ก้าวผ่านความเคอะเขินที่จะชวนคุย เป็นการเพิ่มโอกาสการสานความสัมพันธ์สำหรับคนยุคดิจิตอลที่เน้นความเป็นกันเอง ไม่ซีเรียส และไม่มากและน้อยเกินไป

 

มากภาพ น้อยคำ (PHILOSOPHY OF VISUAL STIMULATION)

จากความสำเร็จในวงกว้างของ Facebook ที่ตอบโจทย์ความต้องการมีส่วนร่วม และสร้างสรรการสื่อสารในรูปแบบที่หลากหลายขึ้น ทั้งคำพูด รูปภาพ คลิปวีดีโอ ฯลฯ โซเชียลมีเดียหน้าใหม่ๆที่เน้นการสื่อสารด้วยรูปภาพ อย่างเช่น Tumblr และ Flickr หรือ Pinterest ที่จัดเรียงเนื้อหาแบบ scrapbook แต่ที่เห็นว่าได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายที่สุดคงหนีไม่พ้น Instagram ซึ่งเป็นสื่อโซเชียลที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศไทย จากที่เริ่มจากการจำกัดให้โพสต์เพียงรูปภาพสี่เหลี่ยมเท่านั้น จนล่าสุดก็ได้เสริมฟังค์ชั่นในการโพสต์ภาพเคลื่อนไหวยาว 15 วินาทีเพื่อเท่าทัน Vine แอพแชร์คลิปภาพเคลื่อนไหวยาว 6 วิที่กำลังฮอตฮิตในสหรัฐอเมริกา ทั้งหลายทั้งมวลทำให้ทั้งผู้บริโภคและแบรนด์เข้าถึงวิธีการสื่อสารแบบทางเลือก ที่มีความคิดสร้างสรรค์แหวกแนวยิ่งขึ้น และพึ่งคำพูดน้อยลง

เมื่อมาดูนัยยะในแง่การตลาดแล้ว แนวทางในการสื่อสารให้เข้าถึงคนยุคใหม่จึงต้องปรับเปลี่ยนไปด้วย เพื่อให้ก้าวทันพฤติกรรมและมุมมองของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

 

  • เข้าใจความจำกัดของเวลา

คนปัจจุบันใช้เวลาน้อยลงมากในการรับสาร เห็นได้จากการจำกัดเวลาของโซเชียลมีเดียอย่าง Instagram และ Vine ไม่มีอีกแล้วที่คนจะมาตั้งใจให้เวลากับแบรนด์เพื่ออ่านศีกษาข้อมูลจำนวนมากๆ แต่หันไปเลือกสื่อที่กระชับตรงประเด็น อาทิ infographics ที่เลือกสื่อสารประเด็นหลักๆของข้อมูลที่ซับซ้อนในรุปแบบที่เข้าใจง่ายในเวลาสั้นๆ

  • เน้นประสาทสัมผัสและอารมณ์

ผู้คนมีแนวโน้มสื่อสารโดยใช้คำพูดน้อยลงไปเรื่อยๆ และหันมาเลือกตอบโต้ผ่านสื่อที่สามารถกระทบประสาทสัมผัสและอารมภ์ของผู้รับสารได้ดียิ่งขึ้น เช่นรูปภาพหรือคลิปวีดีโอที่มีบทบาทแทนคำพูดและตัวหนังสือมากขึ้นในแต่ละวัน

  • สื่อความเป็นตัวตนของแบรนด์ในมิติดิจิตอล

ในขณะที่เรายังไม่รู้ว่าอะไรจะเป็นสิ่งที่มาแรงแซง ‘สติ๊กเกอร์’ หลายๆแบรนด์คงจะต้องหันมาสื่อสารถึงความเป็นตัวตนที่ออกกรอบจากการสื่อสารในสื่อดั้งเดิมที่มีกฏกติกาที่ชัดเจน แบรนด์คอนเท้นต์ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลใหม่ๆยังมีอะไรให้สนุกกันอีกมาก โดยเฉพาะการทำ Co-creation ที่หันมาเน้นสรรสร้าง Online Content ไปร่วมกันในโลกของดิจิตอลที่ไอเดียยังคงเป็นหัวใจสำคัญ

McCann Truth central

รูป :  gfk

 


แชร์ :

You may also like