HomePR News3-4-50 โมเดลสุขภาพ ปรับเปลี่ยน 3 พฤติกรรมเสี่ยง ลด 4 โรคเรื้อรัง อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 50% ของคนทั่วโลก

3-4-50 โมเดลสุขภาพ ปรับเปลี่ยน 3 พฤติกรรมเสี่ยง ลด 4 โรคเรื้อรัง อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 50% ของคนทั่วโลก

แชร์ :

S03-160

การมีสุขภาพดี ไม่มีโรคภัย นับเป็นสิ่งที่คนเราต้องการ แต่ทว่าฆาตกรเงียบซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ของคนทั่วโลกมาจากกลุ่มโรค NCDs หรือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อ ซึ่งไม่สามารถแพร่กระจายไปสู่คนอื่นได้ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ซึ่งกลุ่มโรคเหล่านี้นอกจากจะมีลักษณะร่วมคือ ไม่ติดต่อ และ เรื้อรัง แล้ว ยังมีลักษณะร่วมที่สำคัญมากอีกอย่างคือ ส่วนใหญ่เป็นโรคจากการทำร้ายตัวเองด้วยการใช้ชีวิตเสี่ยงจากการไม่ออกกำลังกาย ทานอาหารไม่มีประโยชน์ สูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ทั้งนี้ Oxford Health Alliance องค์กรเพื่อสุขภาพในประเทศอังกฤษ ได้ศึกษาและนำเสนอ “โมเดล 3-4-50” เพื่อการมีสุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง นั่นคือ การปรับเปลี่ยน 3 พฤติกรรมเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดโรค คือ ทานอาหารไม่มีประโยชน์และลดความอ้วนแบบไม่มีคุณภาพ ออกกำลังกายไม่เพียงพอ และสูบบุหรี่ ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะช่วยป้องกัน 4 โรคเรื้อรังที่เกิดจากการใช้ชีวิตไม่เหมาะสม ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง และ โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 50% ของคนทั่วโลก จากสถิติขององค์การอนามัยโลก

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

 ในขณะที่รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2557 โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่าในปี พ.ศ. 2556 71% ของผู้เสียชีวิตในประเทศไทยหรือประมาณ 501,000 คน มีสาเหตุจากโรคกลุ่ม NCDs สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน อย่างลาว ที่มีอัตราการเสียชีวิต 48% กัมพูชา 52% พม่า 59% ฟิลิปปินส์ 67% และต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาที่มีอัตราการเสียชีวิต 81% หรือสิงคโปร์ 76% จากโรคกลุ่ม NCDs สะท้อนว่าคนไทยและคนในหลายประเทศทั่วโลกมีปัญหาด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงทำให้เป็นโรค

ทั้งนี้ มีการศึกษาวิจัยพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs ของคนไทย พบว่า

– คนไทยใช้เวลาเฉลี่ย 13.5 ชม. ต่อวันไปกับการนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์และกิจกรรมที่เคลื่อนไหวร่างกายน้อย แต่ใช้เวลาเพียง 2 ชม. ต่อวันในการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เดิน ทำงานบ้าน เดินทาง ฯลฯ

– 20% ของค่าใช้จ่ายด้านอาหาร คือ ค่าอาหารสำเร็จรูป

– สัดส่วนของรายได้ที่นำมาใช้จ่ายกับอาหารประเภทแป้งและผักผลไม้ที่นำมาปรุงเองลดลง

– บริโภคอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล และเกลือสูง โดยปริมาณของแคลอรีจากการบริโภคอาหารไขมันสูงเพิ่มขึ้นในอัตรา 15% ระหว่าง พ.ศ. 2503-2546

– คนไทยมีอัตราการบริโภคเครื่องดื่มประเภทน้ำหวานและน้ำอัดลมสูงเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียน หรือ 41 ลิตรต่อคนต่อปี

– หนึ่งในสามของคนไทยอายุระหว่าง 25-59 ปี ดื่มเครื่องดื่มประเภทน้ำหวานและน้ำอัดลมเป็นประจำทุกวัน

– คนไทยอายุมากกว่า 15 ปี ที่สูบบุหรี่มีจำนวน 11.4 ล้านคนในปี พ.ศ. 2557 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2556 ถึง 21%

– คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีอัตราการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงกว่า 7.1 ลิตรต่อปีโดยเฉลี่ย ซึ่งสูงกว่าอัตราเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึง 2 เท่า

จะเห็นได้ว่า เพื่อลดอัตราการเกิดโรค NCDs คนไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น ทั้งการทำความเข้าใจสุขภาพ และรู้จักและเข้าใจสุขภาพของตน เพื่อการปรับปรุงสุขภาพให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

 ดร. ปิยวัฒน์ เกตุวงศา อาจารย์และนักวิจัย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากผลการวิจัยและการศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ จะต้องได้รับแรงกระตุ้น ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และความเคยชิน ปัจจุบันได้มีการนำเอาหลักเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมมาช่วยเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อให้สามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตทำได้ง่ายขึ้น โดยการ “สะกิด” หรือใช้แรงจูงใจ ที่มีผลต่อการตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันเพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพดีในอนาคต

 “บุคคลจำนวนมากประสบปัญหาไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพบางคน อาจเพราะไม่มีความมุ่งมั่นหรือแรงบันดาลใจเพียงพอ ทำให้ถอดใจไปในระหว่างการดูแลรักษาสุขภาพ และคนจำนวนมากที่ถอดใจนี้ ในที่สุดก็ต้องตกเป็นเหยื่อของภาวะสุขภาพไม่ดีหรือโรคร้ายต่าง ๆ ซึ่งการมีสุขภาพดีต้องอาศัยความมุ่งมั่น การวางแผน การติดตามผลและการประเมินวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ  เพราะการมีสุขภาพดีนั้น ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่ค่าหมอค่ารักษาพยาบาล ค่ายา และค่าดูแลรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ลดลงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการมีชีวิต มีสุขภาพดี สามารถใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ในทุก ๆ วัน” ดร.ปิยวัฒน์ กล่าวสรุป

 สำหรับหลาย ๆ คนที่ประสบปัญหาในการเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้มีสุขภาพดี อาจต้องใช้วิธีหาแรงจูงใจที่จะช่วยรักษาพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพให้ยืนยาวเป็นทางออกในการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างได้ผล เพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ในระยะยาวและนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีของคุณเอง ซึ่งเราก็มีข่าวดีสำหรับคนที่กำลังมองหาแรงจูงใจที่ว่านี้ เพราะ เอไอเอ ประเทศไทย เพิ่งเปิดตัวโครงการ เอไอเอ ไวทัลลิตี้ (AIA Vitality) ไปสดๆ ร้อนๆ เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะสร้างแรงจูงใจให้คุณหันมาปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น ด้วยสิทธิประโยชน์มากมายจากพันธมิตรในโครงการ เตรียมพบรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการนี้จาก เอไอเอ ได้เร็วๆ นี้


แชร์ :

You may also like