HomeBrand Move !!ซัมซุงดัน “Galaxy for Work” เจาะลูกค้าองค์กร คาดเพิ่มการเติบโตธุรกิจ B2B 20%

ซัมซุงดัน “Galaxy for Work” เจาะลูกค้าองค์กร คาดเพิ่มการเติบโตธุรกิจ B2B 20%

แชร์ :

ซัมซุง (Samsung) รุกตลาดลูกค้าองค์กร รับการทำงานแบบ Hybrid ด้วย Galaxy for Work เผยกลุ่มเป้าหมายหลัก “ค้าปลีก-ธนาคาร-การผลิต-โลจิสติกส์-เฮลท์แคร์-หน่วยงานรัฐ” พร้อมเปิดตัวไลน์อัพผลิตภัณฑ์ครบทุกเซกเมนต์ ตั้งเป้าโต 20% ในปี 2024

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สำหรับแผนการรุกตลาดองค์กรของซัมซุงในปีนี้มาจากความเปลี่ยนแปลงขององค์กรยุคใหม่ที่ทำงานแบบยืดหยุ่น หรือ Flexible Workplace มากขึ้น โดยคุณภาณุพัฒน์ เกษมสุข หัวหน้ากลุ่มธุรกิจองค์กร โมบายล์ เอ็กซ์พีเรียนซ์ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด ได้อ้างอิงผลสำรวจจาก Tech Research Asia (TRA) ที่ระบุว่า 82% ขององค์กรใช้นโยบายนี้แล้ว และอีก 13% เตรียมใช้นโยบายนี้ในเวลาไม่เกิน 1 ปี ซึ่งพนักงานที่ตอบแบบสอบถามชี้ว่า อุปกรณ์สื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงาน

ดึง Galaxy for Work เจาะตลาด Hybrid Workplace

เพื่อเจาะตลาดดังกล่าว ผู้บริหารซัมซุงมองว่า Galaxy for Work สามารถเป็นทางเลือกแก่ลูกค้าองค์กรได้ โดยตัวอุปกรณ์ที่ขายผ่าน Galaxy for Work เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Enterprise Edition ที่องค์กรสามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการ (รวมถึง Rugged Series ที่เหมาะกับงานภาคสนาม) ขณะที่ในส่วนของการปรับแต่ง สามารถทำได้ผ่านบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ หรือ System Integrator (SI) ที่เป็นพาร์ทเนอร์กับทางซัมซุงโดยตรง โดยคุณภาณุพัฒน์ระบุว่าปัจจุบันมีพาร์ทเนอร์ประมาณ 10 ราย (มีค่ายโอเปอเรเตอร์ อย่างเอไอเอส และทรู-ดีแทคด้วย)

สำหรับอุตสาหกรรมที่ผู้บริหารซัมซุงมองเห็นว่ามีศักยภาพสำหรับ Galaxy for Work ในประเทศไทยพบว่า ประกอบด้วย ภาคค้าปลีก (ส่วนแบ่งประมาณ 30%) สถาบันการเงิน โลจิสติกส์ และภาคการผลิต (Manufacturing) ขณะเดียวกันก็มองตลาดอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น กลุ่มเฮลท์แคร์ และกลุ่มองค์กรภาครัฐด้วย

เร่งสร้าง Awareness ให้ Galaxy for Work

อย่างไรก็ดี ความท้าทายของการเจาะตลาดดังกล่าวก็คือ การสร้าง Awareness ให้กลุ่ม Enterprise มองเห็นถึงประโยชน์จากการซื้ออุปกรณ์ที่มาพร้อมบริการปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการ โดยผู้บริหารซัมซุงเผยว่า ที่ผ่านมา ธุรกิจอาจมองว่าซื้อผ่านช่องทางอื่น ๆ ก็สะดวกเช่นกัน แต่ในการใช้งานจริง อุปกรณ์แบบ Enterprise Edition อาจมีคุณสมบัติบางอย่างเหนือกว่า เช่น สามารถอัปเดทซอฟต์แวร์ได้พร้อมกันในคราวเดียว มีการรับประกันที่นานกว่า สามารถเข้าถึงระบบซีเคียวริตี้ต่าง ๆ ได้มากกว่าการซื้อเครื่องแบบทั่วไป ฯลฯ

เพื่อสร้างการรับรู้ให้มากขึ้น คุณภาณุพัฒน์เผยว่า จะมีการเพิ่มบูธให้กับกลุ่มสินค้า Galaxy for Work ในศูนย์บริการต่าง ๆ เช่น เซ็นทรัลเวิลด์ ฯลฯ รวมถึงในกรณีเครื่องมีปัญหา ก็สามารถส่งเข้าศูนย์บริการของซัมซุงทุกแห่งทั่วประเทศได้ทันที

นอกจากนี้ ทางคุณภาณุพัฒน์ยังชี้ว่า สินค้าในกลุ่ม Enterprise Edition มีสิทธิพิเศษที่แตกต่างจากสินค้ากลุ่ม Consumer หลายข้อ เช่น การมี Samsung Knox Suite สำหรับดูแลเรื่องความปลอดภัย การอัปเดตด้านความปลอดภัยนานสูงสุด 5 ปี และอัปเกรดระบบปฏิบัติการได้ถึง 4 ครั้ง

อย่างไรก็ดี อุปกรณ์ที่เข้าร่วมใน Galaxy for Work ของประเทศไทยจะไม่มีผลิตภัณฑ์ในตระกูลพับได้ ทั้ง Flip และ Fold ซึ่งตรงข้ามกับต่างประเทศ โดยผู้บริหารซัมซุงให้เหตุผลว่า เป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายที่กลุ่ม Enterprise ในต่างประเทศอาจรับผิดชอบได้มากกว่า แต่สำหรับในประเทศไทย สินค้าตระกูลแฟลกชิปที่ราคาสูงที่สุดในกลุ่ม Enterprise Edition ก็คือรุ่น Galaxy S23 FE EE

คุณภาณุพัฒน์ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า ตลาดอุปกรณ์ Rugged ทั่วโลกเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ โดยปี 2566 มีมูลค่าตลาดราว 4,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 6,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเติบโตราว 7.8% ในปี 2570 โดยความนิยมใช้งานจะอยู่ที่ธุรกิจขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม และค้าปลีกตามลำดับ

ทั้งนี้ คุณภาณุพัฒน์ คาดว่า Galaxy for Work จะสามารถผลักดันธุรกิจสมาร์ทดีไวซ์ในกลุ่มลูกค้าองค์กรให้เติบโตถึง 20% ภายในสิ้นปี 2024


แชร์ :

You may also like