HomeSponsoredKBank Private Banking ฟันธงการลงทุนเพื่อความยั่งยืน คือ “ทางรอด” ไม่ใช่ “ทางเลือก”

KBank Private Banking ฟันธงการลงทุนเพื่อความยั่งยืน คือ “ทางรอด” ไม่ใช่ “ทางเลือก”

แชร์ :

ท่ามกลางภาวะโลกร้อนที่รุนแรงและหนักหน่วงมากขึ้นทุกปี หากต้องการรับมือกับวิกฤตภัยธรรมชาติที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนจะต้องขยับและปรับตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืนทั้งองคาพยพ เช่นเดียวกับที่ KBank Private Banking ผนึก Lombard Odier เห็นพ้องต้องกันว่าการลงทุนอย่างยั่งยืนที่จะเป็น “ทางรอด” ไม่ใช่เพียงแค่ “ทางเลือก” อีกต่อไป เชื่อว่าความยั่งยืนของโลกจะนำไปสู่การเติบโตที่มั่นคงให้กับทั้งธุรกิจและการลงทุนในระยะยาว โชว์ผลตอบแทน 3 ปี ของกองทุนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เติบโตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 10% ต่อปี พร้อมแนะนักลงทุนปรับพอร์ตเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงผ่าน 3 ขั้นตอน คือ 1.ปรับแนวคิดการลงทุนมุ่งสู่ Net Zero 2.พิจารณาพอร์ตการลงทุนใหม่ และ 3.เสริมพอร์ตด้วยกองทุนเปลี่ยนโลก

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

พอร์ตการลงทุนในอนาคตไม่ใช่แค่รักษ์โลก แต่ให้ผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจในระยะยาว

คุณจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลกระทบต่อสมดุลของระบบนิเวศน์ รวมถึงสร้างทั้งความเสี่ยงและโอกาสแก่ภาคธุรกิจและการลงทุนอย่างมหาศาล ในฐานะผู้นำด้านบริการบริหารความมั่งคั่งในประเทศไทยและผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน จึงเชื่อว่าการลงทุนอย่างยั่งยืนจะเป็นทางออกสำหรับวิกฤตินี้  ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถสร้างผลตอบแทนที่มั่นคง ผ่านการสนับสนุนธุรกิจดาวเด่นที่ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันจากการปรับตัวเข้ากับเศรษฐกิจที่มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ได้ เพราะไม่ได้มีศักยภาพในการดำเนินการเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้นเท่านั้น แต่ยังบ่งบอกว่ามีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจอีกด้วย”

สถิติผลตอบแทนของกองทุนเพื่อความยั่งยืนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่บริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่มีผลการดำเนินงานเหนือกว่าดัชนีชี้วัด นับเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า การลงทุนเปลี่ยนโลกไม่ได้เป็นทางเลือกที่มีต้นทุนสูงกว่าราคาเฉลี่ย แต่ทว่าเป็นการสร้างทางรอดที่โรยไปด้วยกลีบกุหลาบให้กับพอร์ตการลงทุนในอนาคต

คุณแม็กซีม เพอเคอ Head of Sustainable Investment, Lombard Odier Investment Managers

ESG ก็ดี แต่ธุรกิจติดดาวที่แท้จริง ต้องเติบโตได้ด้วยระบบเศรษฐกิจที่มุ่งสู่ Net Zero

คุณแม็กซีม เพอเคอ Head of Sustainable Investment, Lombard Odier Investment Managers  กล่าวเสริมว่า “ในยุคปัจจุบันและอนาคต การบริหารพอร์ตการลงทุนเพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืนบนกรอบแนวคิด ESG อาจไม่เพียงพอที่จะเฟ้นหาธุรกิจติดดาวได้ เนื่องจากมาตรวัด ESG คำนึงถึงบทบาทของบริษัทในฐานะพลเมืองของสังคม เช่น การปฎิบัติต่อพนักงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และชุมชนท้องถิ่น แต่การลงทุนเพื่อความยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยเกณฑ์ในการคาดการณ์แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจในอนาคต ในระบบเศรษฐกิจที่ลดการพึ่งพาคาร์บอนลง เช่น แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัทเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน ความสามารถของบริษัทในการบริหารจัดการต้นทุน การตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต และการใช้ประโยชน์จากโอกาสต่าง ๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่เป็นรูปธรรมและรวดเร็วด้วยเทคโนโลยี กล่าวคือ ต้องให้ความสำคัญกับโมเดลธุรกิจของบริษัทที่จะขับเคลื่อนการเติบโตในอนาคต ควบคู่ไปกับแนวปฏิบัติของบริษัทในปัจจุบันนั่นเอง”

ทั้งนี้ ลอมบาร์ด โอเดียร์ เป็นผู้ให้บริการไ​พรเวทแบงค์ระดับสากลที่ดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี1796 ซึ่งนับเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างสูงด้านการให้บริการไพรเวทแบงค์ และให้บริการลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงมาแล้วทั่วโลก

จับตาธีมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนที่กำลังร้อนแรง

ในฐานะพันธมิตรที่ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด คุณจิรวัฒน์บอกถึงหนึ่งในธีมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนที่ ลอมบาร์ด โอเดียร์ ให้ความสำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีธุรกิจเป้าหมายที่กองทุนลงทุนแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

1. Solution Providers  กลุ่มธุรกิจที่นำเสนอแนวทางและผลิตภัณฑ์ที่ช่วยแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอน
ไดออกไซด์ เช่น TSMC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่และล้ำสมัยที่สุดของโลกจากไต้หวัน ซึ่งกำลังขยายกำลังการผลิตชิปสำหรับรถยนต์ประเภท EV/HEV และตั้งเป้าที่จะใช้พลังงานทดแทนสำหรับฐานการผลิตทั้งหมดในปี 2573 ตัวอย่างธุรกิจอีกราย คือ Darling Ingredients จากเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ผู้พัฒนาและผู้ผลิตส่วนผสมจากธรรมชาติที่ยั่งยืนจากสารอาหารชีวภาพทั้งที่กินได้และกินไม่ได้ โดยสร้างส่วนผสมและโซลูชันพิเศษเฉพาะสำหรับลูกค้าในอุตสาหกรรมอาหาร อาหารสัตว์ เชื้อเพลิง พลังงานชีวภาพ และปุ๋ย

2. Transition Candidates  กลุ่มธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต และ/หรือ รูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero เช่น Cummins บริษัทข้ามชาติอเมริกันที่ออกแบบ ผลิต และจำหน่ายเครื่องยนต์ การกรอง และผลิตภัณฑ์การผลิตไฟฟ้า ปัจจุบันเป็นผู้ริเริ่มและเป็นผู้นำการผลิตระบบส่งกำลังพลังงานไฮโดรเจนในรถไฟ ซึ่งสำเร็จไปแล้ว 2 ขบวนแรกในโลก และมีแผนจะเพิ่มอีก 40 ขบวนทั่วโลก ส่วน NextEra Energy บริษัทสัญชาติอเมริกันผู้ประกอบการด้านสาธารณูปโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่เบนเข็มธุรกิจมาด้านพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน

3. Adaptation Opportunities กลุ่มธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และ/หรือ กระบวนการปรับธุรกิจเพื่อเข้ามุ่งสู่ Net Zero เช่น American Water บริษัทบริหารจัดการน้ำและบำบัดน้ำเสียที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับประโยชน์จากโครงการขจัดสารปนเปื้อนและฟื้นฟูแหล่งน้ำ รวมถึงการวางระบบการป้องกันน้ำท่วม ตัวอย่างอีกราย คือ Accenture บริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจและเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก มีความโดดเด่นในด้านการส่งมอบเทคโนโลยีและโซลูชั่นใหม่ ๆ เพื่อการแก้ปัญหาทางธุรกิจให้กับลูกค้าอย่างตรงจุด ที่มีบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อความยั่งยืน

กรณีศึกษา GC กลุ่มธุรกิจ Transition Candidates ที่ปรับตัวสู่ความยั่งยืนอย่างจริงจัง

ดร.ชญาน์ จันทวสุ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานความยั่งยืนองค์กร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC หนึ่งในบริษัทชั้นนำของประเทศไทยที่มุ่งผลักดันเรื่อง Net Zero อย่างจริงจัง กล่าวว่า “สำหรับแนวทางในการทำธุรกิจของ GC จะไม่ลงทุนในธุรกิจดาวร่วง แต่จะลงทุนในธุรกิจใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับเทรนด์ที่จะเติบโตในอนาคต โดย GC เดินหน้าสู่ความยั่งยืนมานานสิบกว่าปีแล้วตั้งแต่ยังไม่มีความตกลงปารีส แต่หลังจากนั้น 5-6 ปี เกือบ 200 กว่าประเทศให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ยิ่งปีที่แล้วมีการประชุม COP26 ทำให้มีการตื่นตัวในเรื่องนี้ในหลายภาคส่วน แต่สำหรับภาคธุรกิจอย่าง GC เห็นว่ามีการกีดกันภาษีทางการค้าด้วยเรื่องนี้มานาน และนับวันจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้นเรื่อย ๆ และหากใครเพิกเฉย ไม่ยอมทำ ยิ่งจะทำให้มีต้นทุนสูงมากขึ้น”

“การที่ GC เริ่มต้นก่อน ย่อมทำให้ได้เปรียบก่อน จากเมื่อราวปี 10 ลงทุนในสินค้ารักษ์โลก อย่างไบโอพลาสติก แต่ขาดทุนมาตลอด คนอยากใช้ แต่ไม่มีใครอยากจ่ายเพิ่ม จนกระทั่ง 3-4 ปีที่ผ่านมา ผลิตไม่ทันขาย เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเยอะมาก ทำให้แม้จะขายแพงกว่า 20-30% แต่ผู้บริโภคยอมจ่าย เพราะอยากช่วยโลก เขาเห็นถึงความยั่งยืน เห็นถึงเส้นทางวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ใช้มีที่มาที่ไป”

ดร.ชญาน์ จันทวสุ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานความยั่งยืนองค์กร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC

ไม่เพียงเท่านี้ GC ยังได้ปรับโครงสร้างของธุรกิจ ด้วยการลงทุนในธุรกิจใหม่ ซึ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ เช่น พลาสติกชีวภาพ พลาสติก รีไซเคิลคุณภาพสูง และเคมีภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง จากการเข้าซื้อกิจการ allnex จากเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกในธุรกิจผลิตภัณฑ์สารเคลือบผิว (Coating Resins) และสารเติมแต่งสำหรับงานอุตสาหกรรมที่มีความหลากหลายสำหรับใช้กับวัสดุทุกประเภท

ทั้งนี้ GC คาดว่าจะใช้เงินลงทุนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ 2.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำเพื่อการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ควบคู่ไปกับการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยผลการดำเนินงานที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า ความสำเร็จของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนสามารถสร้างผลตอบแทนในเชิงธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม”

จากการที่ GC มีแผนดำเนินการระยะสั้น กลาง ยาวในเรื่องนี้ชัดเจน และสามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้ จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ได้รับการจัดให้เป็นอันดับ 1 ของโลก จากดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI) 3 ปีต่อเนื่องในกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ ล่าสุดตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20% ภายในปี 2573 และมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593

โดยปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ GC บรรลุความสำเร็จที่ท้าทายนี้ได้ ต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ เช่น เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) เป็นเทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  จากนั้นนำมากักเก็บภายใต้พื้นดินหรือใช้ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมอื่น ๆ ซึ่งคาดว่าในอนาคตอีก 20 ปี ข้างหน้าเทคโนโลยีนี้จะมีการใช้อย่างแพร่หลายในทุกอุตสาหกรรม

คุณจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย

ถ้าไม่อยากตกขบวน ต้องเดินตามแนวทาง C.L.I.C Economy

คุณจิรวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “โลกกำลังเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจที่มีแนวทางการผลิตและบริโภคที่สร้างความเสียหายแก่โลก หรือ W.I.L.D  ซึ่งหมายถึงธุรกิจที่สิ้นเปลือง (Wasteful) เพิกเฉย (Idle) ไม่เท่าเทียม (Lopsided) และสกปรก (Dirty) สู่ระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น หรือ C.L.I.C Economy ซึ่งหมายถึง เศรษฐกิจที่มีการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน (Circular) ใช้ทรัพยากรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและไม่ผลิตของเสียในกระบวนการ (Lean)  มีความเท่าเทียมและคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่ม (Inclusive) และไม่ส่งผลกระทบหรือทำลายสิ่งแวดล้อม (Clean)

โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงแต่จะสร้างประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสครั้งสำคัญของนักลงทุนที่สามารถเริ่มต้นด้วยการบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนผ่าน 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. ปรับแนวคิด เปลี่ยน mindset ในการลงทุนมุ่งสู่ Net Zero และมองความยั่งยืนในฐานะแหล่งที่มาของผลตอบแทนที่มั่นคงในระยะยาว

2. พิจารณาพอร์ตการลงทุนว่ามีสัดส่วนการลงทุนหรือกลไกด้านความยั่งยืนที่ชัดเจนและวัดผลได้หรือไม่ และที่ปรึกษาด้านการลงทุนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด

3. เสริมพอร์ตให้แข็งแกร่งขึ้นด้วยการลงทุนในกองทุนเปลี่ยนโลกที่สนับสนุนธุรกิจติดดาวหรือธุกริจที่มีโอกาสสูงที่จะเป็นผู้ชนะโดยตรง

ด้วยความเชี่ยวชาญ และทีมงานมากประสบการณ์ ร่วมกับพันธมิตรที่แข็งแกร่ง KBank Private Banking พร้อมให้บริการการบริหารความมั่งคั่งอย่างครบวงจร ด้วยมาตรฐานระดับสากล แก่ลูกค้าธนาคารกสิกรไทย ที่มีเงินฝากและเงินลงทุนกับธนาคาร ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป ที่สนใจในการลงทุนอย่างยั่งยืน เพื่อให้ธุรกิจเติบโตสอดรับทิศทางการขับเคลื่อนของโลก

โดยที่ผ่านมา KBank Private Banking ได้นำเสนอโอกาสในการลงทุนในธุรกิจเหล่านี้ผ่านกองทุน K-CLIMATE เป็นครั้งแรกในปี 2563 และสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 10% อีกทั้งยังมีความผันผวนที่ต่ำกว่าดัชนีตัวชี้วัด ขณะเดียวกันกองทุนหลักยังได้รับการรับรองเป็น Article 9 Fund โดย EU Sustainable Finance Disclosure Regulation (SFDR) ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดของกองทุนเพื่อความยั่งยืนที่ต้องมีเป้าหมายและดัชนีชี้วัดด้านความยั่งยืนโดยตรงอีกด้วย

สุดท้ายนี้ KBank Private Banking หวังว่านักลงทุนจะหันกลับมามองเรื่องความยั่งยืนในมุมใหม่ที่มุ่งสู่ Net Zero เพราะนี่ไม่ใช่เพียง ‘ทางเลือก’ แต่คือ ‘ทางรอด’ ทางเดียวของทั้งการลงทุน ธุรกิจ เศรษฐกิจ และโลกของเรา” คุณจิรวัฒน์ กล่าวสรุป


แชร์ :

You may also like