HomeCreativityภูมิปัญญา “มัมมี่โบราณ” สู่ “Off Grid Shirt” เสื้อที่จะอยู่ในตู้เสื้อผ้าเราได้เป็นร้อยปี

ภูมิปัญญา “มัมมี่โบราณ” สู่ “Off Grid Shirt” เสื้อที่จะอยู่ในตู้เสื้อผ้าเราได้เป็นร้อยปี

แชร์ :


อารยธรรมในยุคอียิปต์โบราณยังมีอีกหลายอย่างที่น่าค้นหา หนึ่งในนั้นคือเรื่องของ “เส้นใยและผืนผ้า” โดยมีบริษัทของสองพี่น้องฝาแฝดสัญชาติอังกฤษชื่อ Vollebak ทดลองนำพืชที่ใช้ในการผลิตเป็นผืนผ้าของชาวอียิปต์เมื่อ 5,000 ปีก่อนมาผลิตเป็นเสื้อเชิ้ต และพบว่า มันสามารถทนต่อความร้อน – ความชื้น ได้เป็นอย่างดี

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ทาง Vollebak ตั้งชื่อเสื้อดังกล่าวว่า “Off Grid Shirt” นัยว่าต้องการสื่อถึงเสื้อที่สวมใส่สบาย ทนทาน เหมาะกับชีวิตในเมือง โดยพวกเขาได้กล่าวถึงตัวเนื้อผ้าที่ใช้ว่า แทนที่จะสร้างเส้นใยชนิดใหม่ พวกเขาได้กลับไปค้นหาว่า ในยุคโบราณนั้น ชาวอียิปต์ใช้วัตถุดิบอะไรในการถักทอเป็นผืนผ้า ทั้งเพื่อสวมใส่ประจำวัน และใช้ในการพันร่างมัมมี่ โดยทีมงาน Vollebak พบว่า ชาวอียิปต์โบราณเลือกใช้วัตถุดิบอย่าง “ตำแย” (Nettle Fabric) มาผลิตเป็นเส้นใยนั่นเอง

ผลจากการค้นพบดังกล่าว Steve และ Nick Tidball สองพี่น้องฝาแฝดผู้ก่อตั้ง Vollebak บอกว่า พวกเขาได้นำมาพัฒนาต่อ โดยนำมาผสมกันระหว่างเส้นใยที่ทำจากตำแย หรือที่รู้จักกันในชื่อ Ramie และ Pima Cotton ซึ่งในส่วนของ Ramie นั้นพบว่า สามารถลดการเกิดแบคทีเรีย และโรคราน้ำค้างบนเนื้อผ้าได้ อีกทั้งยังทนทานกว่าเมื่อเทียบกับเส้นใยชนิดอื่น ๆ และเมื่อมาผสมกับ Pima Cotton ก็ทำให้เสื้อเชิ้ตนั้นนุ่มสบาย และมีน้ำหนักเบา อีกทั้งยังแห้งเร็ว จึงเหมาะสำหรับผู้บริโภคที่อาศัยในเมืองเขตร้อน

ส่วนสีที่ใช้ย้อมก็มาจากธรรมชาติเช่นกัน โดยทาง Vollebak ได้เลือกใช้บลูเบอรี่จากฟาร์มในจังหวัดนารา และหัวผักกาดแดงจากเมืองคิโสะของญี่ปุ่นมาใช้ในการย้อมสี พร้อมบอกว่า หัวผักกาดแดงเป็นของเหลือทิ้งจากการผลิตผักดอง ส่วนบลูเบอร์รี่ก็เป็นผลที่เกษตรกรญี่ปุ่นไม่เก็บไปขายเช่นกัน เนื่องจากผลบลูเบอร์รี่อาจมีรูปร่างไม่สวย หรือได้รับความเสียหาย พวกเขาจึงนำมาผลิตเป็นสีย้อมผ้าดังกล่าวเสียเลย

จากความทนทานดังกล่าว Steve และ Nick Tidball บอกว่า เสื้อ Off Grid Shirt นี้คาดว่าจะอยู่ในตู้เสื้อผ้าให้เราหยิบมาสวมใส่ได้เป็นเวลาหลักร้อยปีขึ้นไปเลยทีเดียว เรียกว่าถ้าไม่เบื่อที่จะหยิบมาใส่ มันก็เป็นการซื้อเสื้อผ้าที่คุ้มค่าพอตัว

Source

Source

Source


แชร์ :