HomePR Newsทีม YOUTHTHINK ผลงาน MUSIAM คว้ารางวัลชนะเลิศ Hackulture นวัต…วัฒนธรรรมไทยฯ จาก สดช. รับถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ พร้อมเงินรางวัล 4 หมื่นบาท [PR]

ทีม YOUTHTHINK ผลงาน MUSIAM คว้ารางวัลชนะเลิศ Hackulture นวัต…วัฒนธรรรมไทยฯ จาก สดช. รับถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ พร้อมเงินรางวัล 4 หมื่นบาท [PR]

แชร์ :

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดงานแถลงข่าวประมวลกิจกรรมและมอบรางวัล การเรียนรู้และแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ หรือ Hackathon เพื่อส่งเสริมการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสู่รูปแบบดิจิทัล ที่มีชื่อว่า Hackulture นวัต…วัฒนธรรม : เรียงร้อยวัฒนธรรมไทย…สู่โลกดิจิทัล” ในหัวข้อ “เห็นแต่ไม่เคยรู้” ณ ห้องวายุภักษ์ 5 โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โดยกิจกรรมดังกล่าว เชิญชวนนิสิตนักศึกษา อายุระหว่าง 16-24 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า รวมทีมจำนวน 4-6 คน แข่งขันถ่ายทอดเรื่องราวของมรดกวัฒนธรรมไทยทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น ผ่านรูปแบบดิจิทัลคอนเทนต์รูปแบบใดก็ได้ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัลรวม 110,000 บาท ซึ่งมีผู้ส่งผลงานทั้งหมด 66 ทีม ประกาศผล 20 ทีมสุดท้าย และเข้าร่วมกิจกรรมค่ายฝึกอบรม (Boot Camp)  ไปเมื่อวันที่ 29-31 ตุลาคม 2564 และทั้ง 20 ทีมลงมือสร้างสรรค์ผลงานร่วมกับ Mentor หรือที่ปรึกษาประจำกลุ่มเพื่อผลิตผลงานจริงรอบสุดท้าย ซึ่งได้นำเสนอผลงานไปเมื่อวันที่ 20-21 ธันวาคม 2564

นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า “นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2561 – 2580 มีแผนงานที่สำคัญประการหนึ่งในการส่งเสริมให้ภาคเอกชนและภาคประชาชน ผลิตสื่อดิจิทัลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เช่น การผลิตสื่อภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยประชาชนและชุมชน  ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สดช. จึงจัดกิจกรรมการเรียนรู้และแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ หรือ Hackathon ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนหรือคนรุ่นใหม่หันมาสนใจวัฒนธรรมไทยและร่วมกันถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้อยู่ในรูปแบบ Digital Content ต่างๆ เช่น  Animation, AR/VR, Game, Infographic, Mobile Application, VDO และ Website ถือเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อดิจิทัลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เป็นการช่วยธำรงรักษามรดกทางวัฒนธรรมของไทยให้สามารถคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน”

สำหรับพิธีมอบรางวัล “Hackulture นวัต…วัฒนธรรม : เรียงร้อยวัฒนธรรมไทย…สู่โลกดิจิทัล” ในหัวข้อ “เห็นแต่ไม่เคยรู้” ประจำปี 2564 โดยได้รับเกียรติจาก นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานในพิธีถวายราชสักการะและเปิดกรวยดอกไม้ธูปเทียนแพถวายราชสักการะเบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์ ร่วมด้วยท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ที่ให้เกียรติเป็นผู้มอบรางวัลชนะเลิศให้กับทีมที่ได้คะแนนสูงสุด และนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้เกียรติร่วมในพิธีดังกล่าวด้วย

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า “กิจกรรมการเรียนรู้และแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ “Hackulture นวัต…วัฒนธรรม” จะช่วยรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติได้อย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นให้คนรุ่นใหม่เห็นคุณค่าและมีความหวงแหนในมรดกวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้าน Digital Content เพื่อรองรับอุตสาหกรรมดิจิทัลและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศ ภายใต้แนวคิด การต่อยอดอดีต มองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต นำจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายของชาติ มาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับเศรษฐกิจและสังคมยุคดิจิทัล ซึ่งการแปลงมรดกวัฒนธรรมของชาติที่มีอยู่เป็นจำนวนมากให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ยังสามารถต่อยอดสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อสร้างให้เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมได้อีกด้วย”

คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการตัดสินการประกวดครั้งนี้ ได้แก่ นายเอกพงษ์ หริ่มเจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล ผู้กำกับภาพยนตร์ นางอรสา โตสว่าง Market Intelligence Director บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) นายอัษฎาวุธ สาคริก เลขาธิการ มูลนิธิหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) นายกฤษฎ์ชัย สมสมาน รองผู้อํานวยการ สำนักเลขาธิการองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นางสาววรรณศิริ พัวศิริ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนานโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงาน​คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีเกณฑ์การตัดสินจากเนื้อหาทางวัฒนธรรม การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ คุณค่าทางสังคมและเศรษฐกิจ และการทำงานเป็นทีมเวิร์ค

ผลการตัดสินมีดังนี้

  • รางวัลชนะเลิศ รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 40,000 บาท และประกาศนียบัตร ได้แก่ ทีม YOUTHTHINK จากการรวมตัวของ Stamford International University มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลงาน MUSIAM
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 รับโล่รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง พร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท และประกาศนียบัตร ได้แก่ ทีม  RAMAYANA จากมหาวิทยาลัยธนบุรี ชื่อผลงาน รามเกียรติ์
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 รับโล่รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง พร้อมเงินรางวัล 20,000 บาท และประกาศนียบัตร ได้แก่ ทีมง่วงนอน Studio จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผลงาน Muang Kung Pottery Forward to the new generation (เครื่องปั้นดินเผาของบ้านเหมืองกุง จังหวัดเชียงใหม่)
  • รางวัลชมเชยจำนวน 2 รางวัล รับโล่รางวัลชมเชย พร้อมเงินรางวัล ทีมละ 10,000 บาท และประกาศนียบัตร ได้แก่ ทีม Knock Out จากวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม บริหารธุรกิจ สะพานใหม่ SBAC ผลงาน รำมวยไทย และทีม Tomzaaap จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผลงาน ไม่มีฉันแล้วเธอจะไม่อร่อย(เครื่องแกงไทย)

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 110,000 บาท ส่วนอีก 15 ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจะได้รับประกาศนียบัตรจากสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ซึ่งสามารถชมนิทรรศการผลงานของทั้ง 20 ทีมจากการประกวดกิจกรรมการเรียนรู้และแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ หรือ Hackathon ที่มีชื่อว่า “Hackulture นวัต…วัฒนธรรม : เรียงร้อยวัฒนธรรมไทย…สู่โลกดิจิทัล” ในหัวข้อ “เห็นแต่ไม่เคยรู้” ได้ทาง www.facebook.com/hackulture

คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า กิจกรรมนี้ช่วยพัฒนาศักยภาพของเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ ให้มีวิสัยทัศน์และความสามารถในการแปลงทุนทางวัฒนธรรมที่มีในสังคม ไปสู่ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ มีโอกาสพบกับ Social Media Influencer ชั้นนำของไทย ที่มาถ่ายทอดเคล็ดลับและช่วยสร้างแรงบันดาลใจ รวมถึงได้ฝึกทักษะ Design Thinking และการสื่อสาร ที่สำคัญได้รับคำปรึกษาอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาวัฒนธรรม เทคโนโลยี การสื่อสารและวิธีการคิดวิเคราะห์ ถือเป็นการเปิดมิติใหม่ของการจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย จากที่คนส่วนใหญ่มองกันว่าวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่แตะต้องไม่ได้ มาสู่การตีความด้วยความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ ทำให้ความเข้าใจในวัฒนธรรมไทยเปิดกว้างขึ้น มีคุณค่ามากขึ้นและเป็นที่รู้จักกว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งในกลุ่มคนไทยด้วยกันเองและกลุ่มคนต่างชาติทั่วโลก


แชร์ :

You may also like