HomeBrand Move !!คุยกับทายาท รุ่น 3 ของพลาสเตอร์ยา “ไทเกอร์พล๊าส-เทนโซพล๊าส” และ “แป้งตาบู”

คุยกับทายาท รุ่น 3 ของพลาสเตอร์ยา “ไทเกอร์พล๊าส-เทนโซพล๊าส” และ “แป้งตาบู”

แชร์ :

หากพูดถึงชื่อของ บริษัท แจ๊กเจียอุตสาหกรรม (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ JCT หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูชื่อนี้มากนัก แต่ถ้าพูดถึงแบรนด์ที่อยู่ในมือของ “แจ๊กเจีย” เชื่อว่าหลายคนต้องร้องอ๋อเลยทีเดียว เพราะแบรนด์ใน Portfolio ของแจ๊กเจียมีทั้ง “ไทเกอร์พล๊าส” และ “เทนโซพล๊าส” แบรนด์พลาสเตอร์และเทปปิดแผล OMRON” แบรนด์เครื่องมือแพทย์ “ตาบู” แบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว รวมถึง “จิงโจ้” แบรนด์น้ำมันยูคาลิปตัส  “รอนสัน” น้ำมันไฟแช็ค

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

และล่าสุด “ไทเกอร์พล๊าส แมสก์ชีลด์ พลัส นวัตกรรมสเปรย์เพิ่มประสิทธิภาพการกรองหน้ากากผ้า ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ล่าสุดที่ ไทเกอร์พล๊าส จับมือกับ บริษัท แนบโซลูท จำกัด ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพภายใต้การบ่มเพาะของศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ (CU Innovation Hub) เพื่อพัฒนาและทำตลาดร่วมกันเป็นครั้งแรก โดยเหตุผลที่ “ไทเกอร์พล๊าส” จับมือกับ “แนบโซลูท” พัฒนานวัตกรรมไทเกอร์พล๊าส แมสก์ชีลด์ พลัส นอกจากจะเป็นการขยายไลน์สินค้ามาสู่ตลาดผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเพื่อตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคในปัจจุบันที่ใสใจในสุขภาพมากขึ้นแล้ว

คุณพงศ์รัตน์ อรุณวัฒนาพร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บริษัท แจ๊กเจียอุตสาหกรรม (ไทย) จำกัด (มหาชน) บอกว่า ยังเป็นจิ๊กซอว์สำคัญที่จะทำให้แจ๊กเจียก้าวไปสู่ Regional Brand ได้อย่างเต็มตัว ซึ่งนับเป็นความท้าทายไม่น้อยสำหรับทายาทรุ่น 3 ที่จะต้องนำพาองค์กรที่มีอายุเกือบ 70 ปีไปถึงเป้าหมายนี้ให้ได้

“แจ๊กเจีย”  ชื่อบริษัทของผู้ก่อตั้งตัวจริง

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่บริษัทถือกำเนิด โดย นาย Jack Chia คุณตาของคุณพงศ์รัตน์ ที่ในตอนนั้นอาจจะใช้คำว่าเสื่อผืนหมอนใบ มาสร้างธุรกิจในประเทศไทย กระทั่งวันนี้

“แจ๊กเจียดำเนินธุรกิจในไทยมายาวนานกว่า 60 ปี และปัจจุบันส่งไม้ต่อมาถึงเจเนอเรชั่นที่ 3 โดยมีผลิตภัณฑ์หลากหลาย เช่น เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ น้ำมันยูคาลิปตัส และแป้งหอมตาบู วันนี้หลายคนชอบถามว่าแจ๊กเจียคือชื่ออะไร เพราะถ้าพูดถึงชื่อนี้แทบไม่มีใครรู้จัก ซึ่งจริงๆ แล้วแจ๊กเจียเป็นชื่อผู้ก่อตั้ง แต่ถ้าพูดชื่อสินค้าอย่างไทเกอร์พล๊าส เทนโซพล๊าส ทุกคนจะรู้จัก” คุณพงศ์รัตน์ เล่า

และบอกว่า แม้ Perception ของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์แจ๊กเจียจะน้อย ทว่านั่นไม่ใช่ปัญหา และก็ยังไม่คิด Rebrand เพราะสำหรับสินค้าเวชภัณฑ์ ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องรู้จัก Corporate Brand เหมือนสมัยก่อนคนยังไม่รู้จักชื่อยูนิลิเวอร์ แต่รู้จักสบู่ลักส์ ดังนั้นแค่รู้จักผลิตภัณฑ์และใช้สินค้าของบริษัทนับว่าเพียงพอแล้ว

แต่สิ่งที่เป็นโจทย์ใหญ่คือ การเป็นองค์กรที่กำลังจะมีอายุเกือบ 70 ปี ทำให้แบรนด์อาจจะดูเชยในสายตาผู้บริโภค จึงจำเป็นต้องเสริมภาพลักษณ์องค์กรให้ดูร่วมสมัยมากขึ้น แต่ในความทันสมัยก็ต้องรักษาจุดแข็งในประวัติศาสตร์ที่มีมายาวนานด้วย รวมถึง ต้องพาธุรกิจ “แจ๊กเจีย” ให้เติบโตใน Regional มากขึ้นกว่านี้

“เราอยากให้ไทเกอร์พล๊าสเป็น Regional brand ซึ่งการจะเป็น Regional brand นอจากการทำตลาดครบทุกประเทศในอาเซียนแล้ว เราต้องเป็นผู้นำในแต่ละผลิตภัณฑ์ด้วย โดยตอนนี้เราเข้าไปทำตลาดแล้วในกลุ่ม CLMV คือ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม”

แบรนด์ดังในอดีต จะมีอนาคตได้อย่างไร 

คุณพงศ์รัตน์ เล่าว่า สำหรับตัวเขาเข้ามารับหน้าที่ในบริษัท 10 ปีที่แล้ว โดยเริ่มจากตำแหน่ง รองผู้จัดการทั่วไป และขึ้นมาเป็น ผู้จัดการทั่วไปเมื่อประมาณ 3 ปีก่อน ถึงแม้ว่าในบริษัทจะมีแบรนด์อยู่มากมาย แต่กลุ่มสินค้าที่ใหญ่และสร้างรายได้ให้กับบริษัทมากที่สุด ก็คือ กลุ่มใหญ่ที่สุดเป็นผลิตภัณฑ์ประเภท Consumer Healthcare (ได้แก่ Tigerplast , Tensoplast , Kangaroo , Therma plast) ด้วย Trend ของผู้บริโภค ที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น ทาง JCT จึงมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ในหมวด Consumer healthcare มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลาสเตอร์ปิดแผล ซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญของบริษัทที่สามารถผลิตสินค้าคุณภาพสูงได้รับการยอมรับจากทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม สารพัดแบรนด์ดังที่ชื่อคุ้นเคยในอดีตก็ยังไม่ทิ้ง แล้วอาศัยวิธีการบริหาร Portfolio ตามจังหวะและความพร้อม ปัจจุบันแบรนด์อย่าง น้ำมันยูคาลิปตัส ตราจิ้งโจ้ ก็ยังมีสางจำหน่ายอยู่ในร้านขายยา หรือร้านอย่างวัตสัน แต่เจาะกลุ่มลูกค้าแม่และเด็กทำให้คนทั่วไปอาจจะไม่พบเห็นมากนัก ส่วนน้ำมันไฟแช็ครอนสัน ก็ยังมีขายอยู่ตามร้านขายของชำ และเป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่เล่นไฟแช็ค

ฉีกกรอบ สร้างความต่างด้วย “นวัตกรรม”
ทายาทรุ่น 3 ยังอธิบายต่ออีกว่า ในตลาดเวชภัณฑ์ดูแลแผลของเมืองไทย “ไทเกอร์พล๊าส” อาจจะ แข็งแกร่ง โดยปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดพลาสเตอร์ปิดแผลเป็นอันดับ 2 แต่ในตลาดอาเซียนยังต้อง พัฒนา อีกมาก เนื่องจากแบรนด์ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก อีกทั้งการจะเข้าไปทำตลาดด้วยสินค้าแบบเดียวกันกับที่มีอยู่ในตลาด จึงเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ไทเกอร์พล๊าสเข้าไปปักหมุดได้

ดังนั้น เขาจึงต้องเปลี่ยนวิธีการใหม่ และครั้งนี้เลือกใช้ “นวัตกรรม” เป็นตัวบุกตลาดแทน เพราะเชื่อว่า นวัตกรรมจะช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์มีความแตกต่าง เมื่อผู้บริโภครับรู้ถึงความต่างและผลิตภัณฑ์ติดตลาดแล้ว ก็สามารถจะต่อยอดให้ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เข้าสู่ตลาดได้ง่ายขึ้น

“เราจะใช้นวัตกรรมเป็นตัวบุกเบิกให้ผู้บริโภครู้จักแบรนด์ และทำให้เราสามารถเข้าไปทั่วทุกประเทศได้มากขึ้น โดยนวัตกรรมตัวแรกที่จะใช้นำร่องรุกตลาดอาเซียนก็คือ ไทเกอร์พล๊าส แมสก์ชีลด์ พลัส”

สำหรับไทเกอร์พล๊าส แมสก์ชีลด์ พลัส เป็นนวัตกรรมที่ใช้เวลาในการพัฒนาและผลิตสินค้าเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น โดยมีจุดเด่นที่เทคโนโลยี Shield+ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกรองหน้าการผ้า และฝุ่น PM 2.5 ได้ดีขึ้น ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมใหม่ในตลาด และเมื่อประกอบกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น คุณพงศ์รัตน์ จึงมั่นใจว่า ไม่ช้าเกินไป ที่เพิ่งออกนวัตกรรมตัวนี้ในตลาด

ปัจจุบันนอกจากการวางจำหน่ายในประเทศไทยตามร้านขายยา ร้านสะดวกซื้อแล้ว ยังวางจำหน่ายผ่านบุญถาวรและช่องทางออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่างๆ ตลอดจนเข้าไปทำตลาดในต่างประเทศแล้ว 2 ประเทศคือ อินโดนีเซียและเมียนมา ดังนั้น หากสามารถพัฒนาสินค้านวัตกรรมออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เขาก็มั่นใจว่าจะสามารถปั้นแบรนด์ไทเกอร์พล๊าสก้าวสู่ Regional Brand ได้ภายใน 5 ปีอย่างแน่นอน

เมื่อโลกเปลี่ยน ต้องทำสิ่งใหม่ๆ และปรับการทำงานให้เร็วขึ้นกว่าเดิม

10 ปีที่เข้ามาสานต่อธุรกิจของครอบครัว คุณพงศ์รัตน์ บอกว่า ธุรกิจปรับเปลี่ยนไปมาก ทำให้ต้องมีการปรับสูตรการทำธุรกิจตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเจอสถานการณ์วิกฤต ธุรกิจยิ่งต้องปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง

คุณพงศ์รัตน์ ยอมรับว่า แม้การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจและธุรกิจมากมาย แต่แจ๊กเจียถือว่ากระทบน้อยกว่าคนอื่น เนื่องจากเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตภายใต้ New Normal เช่น แอลกอฮอล์ หน้ากากผ้า รวมถึงการขยายผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Support เข่า ข้อเท้า และข้อมือมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ช่วงที่ล็อกดาวน์ หลายธุรกิจถูกปิดหมด แต่ร้านขายยาซึ่งเป็นช่องทางจำหน่ายหลักของบริษัท ยังสามารถเปิดให้บริการอยู่ จึงทำให้ในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมาผลประกอบการของบริษัทจึงเติบโตต่อเนื่อง

แต่คุณพงศ์รัตน์ย้ำว่า “ชะล่าใจไม่ได้” เพราะในช่วงไตรมาส 2 กำลังซื้อเริ่มลดลง และคาดว่าในครึ่งปีหลังกำลังซื้อน่าจะหายไป จึงทำให้ธุรกิจต้อง ฉีกกรอบการทำงานเดิมๆ และ ปรับแผนการทำงานให้เร็วขึ้นกว่าเดิม จากเดิมที่จะวางแผนการทำงานแบบปีต่อปี มาเป็นการวางแผนทุกสัปดาห์ รวมถึงพัฒนาช่องทางการทำตลาดใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ ซึ่งเดิมทียังมีสัดส่วนน้อยไม่ถึง 10%

“ปีนี้เป็นปีที่ทั้งโหดสุด และสนุกสุดในรอบ 10 ปีที่ทำงานมาเลย เนื่องจากแผนที่มีอยู่ในปีนี้โยนทิ้งลงขยะหมด เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะมานั่งวางแผนเพราะสถานการณ์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้บริษัทต้องปรับตัวเร็วเพื่อให้สามารถอยู่รอดในสภาวะแบบนี้”

ปัจจุบันตลาดพลาสเตอร์ปิดแผลมีอัตราเติบโตประมาณ 4-5% ต่อปี โดยในปีนี้คงไม่เติบโต ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวเป็นศูนย์ ทำให้เมื่อจำนวนนักท่องเที่ยว 40 ล้านคนหายไป เท่ากับประชากรครึ่งประเทศแล้ว และโดยปกตินักท่องเที่ยวจะซื้อพาสเตอร์ใสกันน้ำเพื่อพกติดตัวสำหรับไปเที่ยวทะเล ซึ่งเป็นกลุ่มพลาสเตอร์ที่มีมูลค่าสูงกว่าพลาสเตอร์ทั่วไป

โดยปัจจุบันกลุ่มพาสเตอร์ยังคงเป็นสินค้าหลักที่ทำรายได้ให้กับบริษัทสูงสุดเป็นสัดส่วนเกือบ 50% โดยคุณพงศ์รัตน์ บอกว่า ในอนาคตอยากให้มีสัดส่วนของสินค้านวัตกรรมมากขึ้น เพราะเป็นแนวทางที่สามารถจะสร้างความแตกต่างให้กับองค์กร ซึ่งก็จะทำให้องค์กรที่มีอายุเกือบ 70 ปี ยังคงทันสมัยและสามารพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ออกมาตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา

“ถ้าเราอยู่เฉยๆ คนอื่นก็นำหน้า เราต้องลองทำอะไรใหม่ๆ กันไป บางอย่างก็เวิร์คบางอย่างก็ไม่เวิร์ค ทุกอย่างต้องเรียนรู้ ทว่าสิ่งสำคัญต้องไม่ใช่แค่สินค้าใหม่ แต่ต้องเป็นสินค้านวัตกรรม” คุณพงศ์รัตน์ ย้ำท้ายถึงความท้าทายในการพัฒนาสินค้าของแจ๊กเจียนับจากนี้

 


แชร์ :

You may also like