HomeBrand Move !!จับตา PTT x GPSC ลุยธุรกิจแบตเตอรี่พลังงานสะอาด รองรับโอกาสตลาดพลังงานหมุนเวียนในอนาคต

จับตา PTT x GPSC ลุยธุรกิจแบตเตอรี่พลังงานสะอาด รองรับโอกาสตลาดพลังงานหมุนเวียนในอนาคต

แชร์ :

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)  ลงนามความร่วมมือกับ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ในสัญญา “โครงการวิจัยและพัฒนาโรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบ (Pilot Plant) ด้วยเทคโนโลยีเซมิ-โซลิด (Semi-Solid)” ต่อยอดเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ปิดจุดอ่อนพลังงานหมุนเวียนที่ไม่สามารถผลิตไฟได้ต่อเนื่อง

เนื่องจากเทรนด์ของโลกที่กำลังมาแรงด้านการผลิต “ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน” เนื่องด้วยพลังงานไฟฟ้าซึ่งมีความสำคัญต่อการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่และเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของทุกประเทศทั่วโลกเริ่มมีข้อจำกัด จากความต้องการในการใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติถ่านหิน ดังนั้น ฟอสซิลซึ่งถือเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตจึงเริ่มหมดลงในอนาคต

“โซลาร์รูฟ” (SOLAR ROOF) หรือ ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาที่อยู่อาศัย กลายเป็นหนึ่งในไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากเมื่อเทียบกับไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เช่น ลม ชีวมวล ฯลฯ เนื่องจากแสงอาทิตย์ไม่มีวันหมด เป็นพลังงานสะอาด และยังมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่นับวันก็ยิ่งถูกกว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจาก แต่ก็ยังคงมีจุดอ่อนคือ การผลิตที่ไม่สม่ำเสมอ

ปัจจุบัน หลายประเทศเริ่มผลักดันการใช้ใช้พลังงานสะอาดไม่ว่าจะเป็นในด้านอุตสาหกรรม หรือในภาคประชาสังคม อาทิ “คอสตาริก้า” เดินหน้าใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากเขื่อน โซลาร์เซลล์ แก๊สชีวมวล ฯลฯ 100%  หรือ “สวีเดน” จูงใจให้คนหันมาใช้รถยนต์พลังงานทางเลือก อาทิ ลดภาษี ใช้ทางด่วนฟรี และเพิ่มรอบวิ่งรถไฟฟ้าและรถเมล์ เพื่อมุ่งสู่การเป็นประเทศแรกของโลกที่เลิกใช้น้ำมันในปี 2020

สำหรับประเทศไทย มีการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามแผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP 2015) ซึ่งขณะนี้เตรียมปรับปรุงสู่แผนใหม่หรือ AEDP 2018 และยังกำหนดนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มุ่งสู่การนำนวัตกรรมมาปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอนาคต

ขณะที่หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ถูกกำหนดไว้ คือ ยานยนต์ไฟฟ้า กลุ่ม ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานของประเทศ ที่ดูแลความมั่นคงด้านพลังงาน จึงมองการขยายโอกาสไปยังธุรกิจใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ทิศทางการใช้พลังงานในอนาคตและนโยบายรัฐ ขณะที่ตลาดแบตเตอรี่ เริ่มเป็นที่ต้องการของหลายภาคธุรกิจ ทั้งเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพ การลดต้นทุน การบริหารจัดการพลังงานภายในชุมชน หรือเมือง ในรูปแบบ Smart Energy

ปักธงโรงงานผลิตในอเมริกา

ที่ผ่านมา GPSC ได้ร่วมกับ ปตท. ทดลองนำร่องดำเนินการพัฒนา Smart Energy Community ในพื้นที่ EECi วังจันทร์วัลเล่ย์ จังหวัดระยอง ซึ่งจะมีการติดตั้งโซลาร์รูฟ และโซลาร์ลอยน้ำ ใช้บล็อกเชนในการซื้อขายไฟฟ้าแต่ละอาคาร รวมถึงมีการใช้เทคโนโลยี AI ในการติดตามสภาวะอากาศที่เหมาะสมในการผลิตและเลือกใช้แหล่งผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสม เป็นต้น

การลงนามความร่วมมือดังกล่าว จึงนับเป็นการปูพรมเส้นทางไปสู่การบรรลุเป้าหมายของธุรกิจใหม่ในอนาคต ต่อยอดเทคโนโลยีแบตเตอรี่หรือระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) เพื่อปิดจุดอ่อนของพลังงานหมุนเวียนที่ไม่สามารถผลิตไฟได้ต่อเนื่อง  เพราะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและกลไกทางธรรมชาติ

นำมาสู่แนวคิดสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบ เพื่อต่อยอดไปสู่กระบวนการผลิตเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเริ่มที่การตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบด้วยกระบวนการผลิต Semi-Solid ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัท 24 M Technology ที่ GPSC เข้าไปร่วมลงทุน เพื่อให้การดำเนินงานรวดเร็ว และสะดวกต่อการพัฒนาพร้อมนักวิจัย

ทั้งนี้ เทคโนโลยี Semi-Solid ถือเป็นคำตอบของนวัตกรรมการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบใหม่ของ 24M Technology มีจุดเด่นอยู่ที่กระบวนการออกแบบเซลล์แบตเตอรี่ให้มีความปลอดภัยสูง และสามารถลดขั้นตอนกระบวนการผลิตได้มากกว่า 50% ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตลดลง รวมถึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถนำวัสดุบางอย่างกลับมาใช้ได้ใหม่

โครงการก่อนสร้างดังกล่าว ได้วางกรอบการดำเนินการในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในไตรมาส 2/2563 ด้วยกำลังการผลิต 10 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง ซึ่งโรงงานต้นแบบนี้ สามารถผลิตแบตเตอรี่สูตร LFP เพื่อใช้งานภายในบ้านที่อยู่อาศัย  และแบตเตอรี่ Lithium Nickel Manganese Cobalt Oxide หรือ NMC สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ได้

พร้อมตั้งเป้าลงทุนสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ดังกล่าว ในขนาดเล็ก เพื่อใช้ในพื้นที่เขตนวัตกรรมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการใช้แบตเตอรี่สำหรับผลิตไฟฟ้าสูงก่อน ภายหลังจากการก่อสร้างโรงงานที่สหรัฐอเมริกาแล้วเสร็จ

นี่จึงถือเป็นอีกก้าวของความท้าทายครั้งสำคัญ ของ กลุ่ม ปตท. ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมไฟฟ้าในอนาคต พร้อมจุดหมายปลายทาง คือ การก้าวไปสู่เทคโนโลยีธุรกิจไฟฟ้าใหม่ๆ ที่เป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ ที่จะมีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไทยให้มั่นคงต่อไป

ทำให้วันนี้ GPSC เตรียมความพร้อมสำหรับ การรุกธุรกิจไฟฟ้า และนวัตกรรมพลังงานเพื่อให้เกิดความแข็งแกร่งและยั่งยืน สู่แผนปรับโครงสร้างทางการเงินของธุรกิจที่น่าสนใจ สำหรับผู้ถือหุ้น GPSC ที่เร็วๆนี้ จะมีการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน ในราคา 56 บาทต่อหุ้น  เพื่อการระดมทุน 7.4 หมื่นล้านบาท กำหนดวันจองซื้อได้ตั้งแต่ วันที่ 30 ก.ย.62 ถึงวันที่  4 ต.ค.62 หรือไม่ก็สามารถ Download  ข้อมูลรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ WWW.GPSCGROUP.COM นับอีกก้าวสำคัญของความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมพลังงานของภูมิภาคอาเซียน

 


แชร์ :

You may also like