HomeBrand Move !!เปิดใจ ‘พี่ฉอด’ ดีล 1 พันล้านจากกลุ่มเจ้าสัวเจริญ ไม่ใช่ไม่มีตังค์ แต่ก้าวสู่เป้าหมายเร็วขึ้น

เปิดใจ ‘พี่ฉอด’ ดีล 1 พันล้านจากกลุ่มเจ้าสัวเจริญ ไม่ใช่ไม่มีตังค์ แต่ก้าวสู่เป้าหมายเร็วขึ้น

แชร์ :

หลังจากวันที่ 24 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จํากัด (มหาชน) แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ได้ขายหุ้นบริษัทจำนวน 50% ให้กับ บริษัท อเดลฟอส จํากัด บริษัทด้านการลงทุนของลูกชายเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี โดยดีลนี้นายฐาปน สิริวัฒนภักดี และนายปณต สิริวัฒนภักดี เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จะเข้ามาถือหุ้น 50% ในบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง คิดเป็นเงินมูลค่า 1,000 ล้านบาท (อ่านที่นี่) ล่าสุด พี่ฉอด สายทิพย์ มนตรีกุล  ณ อยุธยา เปิดโต๊ะแถลงข่าวถึงเบื้องหลังดีลครั้งนี้ รวมไปถึงทิศทางต่อไปข้างหน้าของธุรกิจ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

พี่ฉอด กล่าวเริ่มต้นว่า ก่อนหน้านี้จะบอกว่าเราเนื้อหอมมีหลายนักลงทุนเข้ามาแสดงความสนใจ  โดยสาเหตุที่ตกลงกับอเดลฟอสเพราะว่ามีศักยภาพตรงกันมากที่สุดเป็นักลงทุนมืออาชีพ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการบริหารทำให้ทีมงานมีความเป็นอิสระ ขณะที่อเดลฟอสเลือกเราเพราะว่า ได้จับตามองและเล็งเห็นโอกาสธุรกิจดิจิตอลทีวี GMM25 และบรีิษัทในกลุ่มของแกรมมี่มีความแข็งแกร่งในด้านคอนเท้นท์ รวมไปถึงความเชี่ยวชาญด้านออนไลน์ จึงทำให้เกิดดีลครั้งนี้ขึ้น

“มีหลายกระแสพูดว่าการเพิ่มทุนครั้งนี้เพราะว่าไม่มีเงินแล้ว ไม่จริง เพราะเรามีเงินกระแสเงินสดหรือ Cashflow มากพอที่จ่ายค่าใบอนุญาติดิจิตอลทีวี”

ในแง่การบริหารบอร์ดผู้บริหารแบ่งจาก GMM และ อเดลฟอส 50%-50%  แต่ในการปฏิบัติงานพนักงานกว่า 600 คน ยังทำงานเช่นเดิม แต่สำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้โครงสร้างเครือกลายเป็น จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง มี 3 กลุ่มบริษัท ได้แก่ 1. บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนลฯ (จีเอ็มเอ็ม 25) 2. บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดียฯ ซึ่งมีบริษัทลูก 2 บริษัท คือ บริษัท เอ-ไทม์ มีเดียฯ และ 6. บริษัท เอ-ไทม์ ทราเวิลเลอร์ฯ และ 3. บริษัท จีเอ็มเอ็ม ทีวีฯ จากเดิม จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มี 3 กลุ่มบริษัท ที่เกี่ยวข้องกับปรับโครงสร้างครั้งนี้ ได้แก่ 1. บริษัท จีเอ็มเอ็ม ทีวี จำกัด 2. บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จำกัด ที่มีบริษัทลูก คือ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด (จีเอ็มเอ็ม 25) และ 3. บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ที่มีบริษัทลูก ได้แก่ เอ-ไทม์ มีเดีย เอ-ไทม์, ทราเวิลเลอร์ เอ็กแซ็กท์, ซีเนริโอ, ทีน ทอร์ก และบลิส (ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนยกเลิกบริษัท และเสร็จสิ้นการชำระบัญชีต่อกระทรวงพาณิชย์แล้ว อยู่ระหว่างการรอรับเงินคืนุนจากการชำระบัญชี)

“ก่อนหน้าเหตุการณ์หรือดีลนี้ เรามีแผนการธุรกิจที่พัฒนาคอนเท้นท์และสื่อต่างๆ แล้วก็อยู่ในผลลัพธ์ที่ดีมาก แต่อัตราการเติบโตอาจจะช้า  พอได้เงินลงทุนเข้ามาใหม่นี้จะช่วยกระตุ้นให้ GMM25 ไปสู่เป้าหมายเร็วขึ้น โดยเงินทุนใหม่ที่เข้ามาจะนำไปด้านผลิตคอนเท้นท์ให้กับช่องและการสื่อสารตลาดกับองค์กรให้มากขึ้น เช่น ละครใหม่ รายการใหม่  รวมไปถึง การซื้อรายการลิขสิทธิ์จากเมืองนอก เป็นต้น”

ทั้งนี้เป้าหมายของ GMM25 ในแผนปีหน้าจะขยายฐานกลุ่มผู้ชมจากในกรุงเทพฯและปริมณฑล ให้กว้างขึ้นไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น พร้อมทั้งขยายกลุ่มคนดูในกลุ่ม Gen C กลุ่มผู้บริโภคไม่ได้วัดกันที่ช่วงอายุ แต่มีไลฟ์สไตล์ชอบเทคโนโลยี  รับสื่อใหม่ๆ และชื่นชอบในคอนเท้นท์สไตล์ GMM25 แต่ไม่ลงไปแข่งขันในกลุ่มแมสเหมือนช่องใหญ่ๆ  ส่วนในแง่การขายโฆษณาจะไม่ยึดติดที่เรตติ้งแบบ CPRP มากนัก  แต่เน้นนำเสนอขายแพ็คเกจสื่อและบริการในเครือที่ครบวงจร หรือเป็น One Stop Shopping ให้กับลูกค้าทั้ง On-air , Online , On-ground บวกกับใช้สถิติของทางออนไลน์มาวัดผลให้กับลูกค้า

 

ความสำเร็จล่าสุด ละครแหวนดอกไม้ ที่ประเทศจีนขอซื้อลิขสิทธิ์ไปฉายแบบ Smulcast (ฉายพร้อมกันที่ไทยและจีน)

แหวนดอกไม้ cr: Tammy Chantasaditr


แชร์ :

You may also like