HomeInsightไทยพาณิชย์เผย 3 แนวทาง “วางหมากประเทศไทย สู่การเติบโตที่ยั่งยืน”

ไทยพาณิชย์เผย 3 แนวทาง “วางหมากประเทศไทย สู่การเติบโตที่ยั่งยืน”

แชร์ :

 

6x4NUI_6247

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์หรืออีไอซี (EIC) จัดงานสัมนาประจำปี EIC Conference: Thailand in Transformation เหตุผลที่ทางไทยพาณิชย์มองว่าประเทศควรถึงเวลาที่จะต้องปรับตัวขนานใหญ่ก็เพราะปัญหาที่รุมเร้าหลายด้าน รวมทั้งการพัฒนาของประเทศอื่นๆ ที่กลายเป็นทั้งคู่ค้าและคู่แข่งของประเทศไทย

ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ Chief Econamist และผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ชี้ให้เห็นว่าการเข้าสู่ AEC เป็นโอกาสและข้อควรระวังสำหรับประเทศไทย เพราะเป็นพื้นที่ของตลาดใหม่ๆ ที่กำลังเติบโตแต่ในขณะเดียวกันประเทศเพื่อนบ้านของเราก็กลายเป็นคู่แข่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเวียดนามที่มีจุดเด่นด้านค่าแรง สำหรับประเทศไทยสินค้าที่เคยสร้างรายได้ให้กับ GPD ของประเทศอันดับต้นๆ เช่น Floppy Disk, เครื่องแฟ็กซ์ ก็กลายเป็นสินค้าที่ตกยุคไปแล้ว

จึงเป็นที่มาของการนำเสนอแนวทางออกสำหรับธุรกิจในประเทศ 3 แนวทาง “วางหมากประเทศไทย สู่การเติบโตที่ยั่งยืน” ดังนี้

1. ขับเคลื่อนประเทศไปสู่ห่วงโซ่การผลิตที่ใช้นวัตกรรมที่สูงขึ้น โดยทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันส่งเสริมการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับอุปสงค์ในตลาดโลก และการกระตุ้นให้ภาคเอกชนของไทยสนใจลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา เช่น การสร้างศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ผลิตไทยในการพัฒนานวัตกรรม เพื่อให้ไทยสามารถขยับไปสู่ห่วงโซ่การผลิตที่สูงขึ้น โดยกลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจ เช่น Health and Wellness, Bio-Technology, Modern Agriculture, Logistic, Smart Gadget และ Creative Business ซึ่งทั้งหมดเป็นธุรกิจที่อาศัยความเชี่ยวชาญด้านการบริการ การเป็นทำเลใจกลางของประชาคมอาเซียน ภาพลักษณ์ด้านธรรมชาติ และความคิดสร้างสรรค์

2.แสวงหาตลาดผู้บริโภคใหม่ๆ โดยการเสริมสร้างศักยภาพให้ SMEs ไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ตัวอย่างเช่น การปรับโครงสร้าง BOI เพื่อให้บริการที่ครอบคลุมการทำธุรกิจในต่างประเทศอย่างเต็มรูปแบบ จะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับธุรกิจไทยในการบุกเบิกตลาดที่มีโอกาสทางธุรกิจสูง เช่น ตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) รวมทั้งเมืองที่กำลังเติบโตของจีน ไม่ว่าจะเป็น ฉงชิ้ง, เฉิงตู ก็มีความน่าสนใจ แต่หลายคนอาจจะมองแค่ปักกิ่งหรือเซี่ยงไฮ้เท่านั้นเมื่อนึกถึงตลาดในประเทศจีน นอกจากนี้ยังกลุ่มชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศไทยซึ่งปัจจุบันมีตัวเลขเกือบ 1 ล้านคนในประเทศไทย และนักท่องเที่ยว ซึ่งคนกลุ่มนี้มีความต้องการสินค้าและบริการที่มีความซับซ้อนมากขึ้น งานภาคบริการทั้งหลาย โรงพยาบาล โรงเรียนนานาชาติก็น่าจะเกิดขึ้นมาเพื่อรองรับคนกลุ่มนี้ได้

3. ปรับตัวให้เข้ากับโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป ซึ่งธุรกิจควรปรับกลยุทธ์และโมเดลธุรกิจเพื่อรองรับความต้องการที่แตกต่างของผู้บริโภคจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยมีกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เป็นผู้สูงอายุเกือบ 5 ล้านคนต่อปี, บทบาทที่เพิ่มขึ้นของกลุ่ม Gen Y (ผู้ที่เกิดในช่วงปี 1981-2000) ซึ่งปัจจุบันคิดเป็น 28% ของประชากร ใกล้เคียงกับกลุ่มผู้สูงอายุ และมีพฤติกรรมการใช้จ่ายที่แตกต่างชัดเจนจากประชากรกลุ่มอื่นๆ เพราะคนกลุ่มนี้เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับยุคของอินเทอร์เน็ต พฤติกรรมการจับจ่ายจึงอาศัยข้อมูลในสื่อออนไลน์เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลสินค้า, มีสัดส่วนการออมเงินน้อย ซึ่งนิสัยเหล่านี้มักจะติดตัวไปในทุกช่วงอายุ สิ่งที่คนทำธุรกิจต้องคำนึงถึง เช่น โรงแรมควรมีบริการ Free Wifi เอาไว้รองรับลูกค้า

ภายในงานสัมนาเวทีเดียวกันนี้เอง ยังมีนักธุรกิจชั้นนำของไทยอีก 4 ท่าน ได้แก่

ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัยประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยคุณบุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)และคุณศุภลักษณ์ อัมพุช รองประธานกรรมการ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ร่วมพูดคุยในหัวข้อ “ปรับมุมมอง ส่องกลยุทธ์ธุรกิจยุคปฏิรูป”

6x4NUI_5981

ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ให้ความสนใจในเรื่องของการศึกษาที่ต้องป้อนแรงงานที่มีฝีมือให้กับภาคธุรกิจให้ได้ แต่ปัจจุบันบัณฑิตที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีมีคนทำงานไม่ตรงสายกับที่ตัวเองเรียนมาถึง 20% และแนวโน้มก็จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นการบ้านที่สำคัญที่การศึกษาจะต้องออกแบบหลักสูตรมาให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน

ส่วน คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ เน้นในเรื่องการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมที่ต้องมองเรื่องของการใช้เครื่องจักรเข้ามาเพื่อช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน โดยแรงงานก็ต้องการ Skilled Labour มากขึ้นเพื่อมาควบเครื่องจักรเหล่านั้น ส่วนเรื่องการมองตลาด กลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอาจจต้องโฟกัสไปที่บางประเทศเท่านั้น เช่น พม่า ที่มีการเติบโตปีละ 5-7% มีการนำเข้าสินค้าถึง 6 แสนล้านบาท แต่ประเทศไทยส่งเข้าไปแค่ 2 แสนล้านบาท ยังมีโอกาสอีกมาก ขณะที่ลาวไทยส่งสินค้าเข้าไป 80% ของตลาดแล้ว โอกาสจึงเหลืออีกไม่มากนัก

ด้าน คุณบุญชัย โชควัฒนา มองในเรื่องของนวัตกรรมที่ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานพยายามทำ โดยแสดงความเห็นว่า นวัตกรรมที่ดีควรเริ่มจากการพัฒนาตามความต้องการของผู้คนในสังคมและจุดเด่นทางการตลาด แต่ตอนนี้นวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นกลับโฟกัสตามความสนใจของนักวิทยาศาสตร์ทำให้เมื่อวิจัยจนสำเร็จ แต่ก็ไม่ได้นำมาประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ ส่วนเรื่องแรงงานที่ขาดแคลน คุณบุญชัยย้อนกลับไปมองที่ทัสนคติของการทำงานว่า ปัจจุบันคนที่เรียนจบในระดับปริญญาตรีไม่ยอมทำงานขายของ ในร้านค้าอีกต่อไปแล้ว เพราะรู้สึกว่าเป็นงานที่ต่ำต้อย ทำให้สังคมขาดแรงงานไปอีก

คุณศุภลักษณ์ อัมพุช เริ่มต้นการ “ปรับมุมมอง ส่องกลยุทธ์ธุรกิจยุคปฏิรูป” ด้วยการบอกว่าควรเริ่มที่ Fighting Spirit ของคนไทย โดยยกตัวอย่างธุรกิจของเดอะ มอลล์ที่เริ่มต้นครั้งแรกด้วยการต้องต่อสู้กับห้างสรรพสินค้าสัญชาติญี่ปุ่นหลายแห่ง จนกระทั่งปัจจุบันก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า คนไทยก็สามารถชนะในตลาดเมืองไทยได้เช่นกัน ตอนนี้เป็นยุคของ AEC คนไทยก็น่าจะยกระดับการแข่งขันโดยมองตัวอย่างจากหลายๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซียที่ประเทศมีแหล่งท่องเที่ยวน้อยกว่าไทย ก็สร้างตึกปิโตรนาส สร้างสนามแข่ง F1 ขึ้นมาเป็นจุดเด่น หรือสิงคโปร์ที่พยายามสร้างแหล่งท่องเที่ยวขึ้นมา ซึ่งหลังจากแหล่งท่องเที่ยวเหล่านั้นเปิดตัวก็ช่วยเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวได้ถึง 20% ในช่วงแรกๆ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ Value Added ซึ่งคนไทยควรนำเอาเรื่องราวของสินค้า และความคิดสร้างสรรค์ใส่เข้าไปในโปรดักท์เพื่อทำให้สินค้ามีมูลค่าสูงขึ้น เช่นเดียวกับที่สินค้าแฟชั่นทั้งหลาย สามารถตั้งราคาแพงๆ ได้ จากการเลือกใช้วัสดุ, Art and Craft หรือภาพลักษณ์ของประเทศที่นับจากนี้ คำว่า Made in Thailand ต้องมีค่าสูงขึ้น เป็นที่ต้องการของคนที่มาช็อปปิ้ง

 


แชร์ :

You may also like