HomeBrand Move !!5 อันดับ นักท่องเที่ยวต่างชาติ “ช๊อปปิ้งเกินงบ” ในประเทศไทย

5 อันดับ นักท่องเที่ยวต่างชาติ “ช๊อปปิ้งเกินงบ” ในประเทศไทย

แชร์ :

 

 INFO GRAPHIC OK5

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เวสเทิร์น ยูเนี่ยน (Western Union)  ผู้นำในการให้บริการรับและส่งเงินระดับโลก เผยผลการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายและการบริหารเงินของนักท่องเที่ยวในประเทศไทยที่จัดทำขึ้นโดยบีเอ็มอาร์เอส เอเชีย (BMRS Asia) ในนามของเวสเทิร์น ยูเนี่ยน ซึ่งระบุว่า นักท่องเที่ยวที่มาเยือนไทยส่วนใหญ่ในสัดส่วนร้อยละ 85 เดินทางมาเที่ยวไทยด้วยงบประมาณที่กำหนดไว้ แต่ 1 ใน 3 ของนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าว หรือร้อยละ 36 เผยว่า มีแนวโน้มใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อนในไทย สูงกว่างบที่ตั้งไว้ และสูงกว่าจุดหมายปลายทางอื่นๆ ที่เคยไปเยือนมา

ทั้งนี้ การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะใช้ไปกับอาหาร เครื่องดื่ม และที่พัก โดยมีสัดส่วนสูงถึง 2 ใน 3 หรือประมาณ ร้อยละ 62 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด นอกจากนี้ ไทยยังเป็นเมืองแห่งการจับจ่ายที่ดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยว มีการใช้จ่ายเกินกว่างบประมาณที่กำหนดไว้ โดยนักท่องเที่ยวที่มีการใช้จ่ายเกินงบประมาณ ส่วนใหญ่มาจากภูมิภาคอเมริกาเหนือ ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลีย อเมริกัน และสิงคโปร์ส่วนใหญ่เป็นผู้มีวินัยสูง โดยพยายามควบคุมตนเองไม่ให้เพลิดเพลินกับการจับจ่ายเกินกว่างบประมาณที่มีอยู่

 

ผลการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายและการบริหารเงินของนักท่องเที่ยวในประเทศไทยที่สำคัญ

  • นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียเหนือที่มีแนวโน้มใช้จ่ายในประเทศไทยเกินงบที่ตนเองกำหนดไว้ ได้แก่ จีน ร้อยละ 38 เกาหลี ร้อยละ 45 ไต้หวัน ร้อยละ 50 และญี่ปุ่น ร้อยละ 50 รวมทั้งจากสหราชอาณาจักร ร้อยละ 48 และฝรั่งเศส ร้อยละ 53 ขณะที่นักท่องเที่ยวจากสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มของการใช้จ่ายภายในวงเงินที่กำหนด

  • รายการที่มีการใช้จ่ายสูงสุดระหว่างการท่องเที่ยวพักผ่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม
    ในอัตราร้อยละ 37 ที่พัก ร้อยละ 25 และช้อปปิ้งสำหรับตนเอง ร้อยละ 18 โดยการใช้จ่ายทั้ง 3 หมวดนี้คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 80 ของการใช้จ่ายทั้งหมด
    • นักท่องเที่ยวหญิงชาวเอเชียที่มีอายุ 34 ปีขึ้นไป จะใช้จ่ายกับการซื้อของเพื่อตนเองมากที่สุด
      เป็นอันดับ 1 นักท่องเที่ยววัยหนุ่มสาวที่มีอายุต่ำกว่า 34 ปี จะใช้จ่ายสำหรับอาหาร
      และเครื่องดื่มที่ระบุไว้ในแผนการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนอยู่ในอันดับที่สูงขึ้น
  • นักท่องเที่ยวส่วนมากยังคงให้ความสำคัญกับการถือเงินสดสำหรับใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อนในไทย
  • นักท่องเที่ยวมากกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 54 ระบุว่า จะใช้เงินสดสกุลเงินบาทไทยในการจับจ่ายต่างๆ และนักท่องเที่ยว 3 ใน 4 คน พกบัตรเครดิตติดตัวอย่างน้อย 1 ใบ
  • นอกจากการถือเงินสดเป็นเงินบาทไทยแล้ว นักท่องเที่ยวหลายรายเผยว่า เขาถือเงินเหรียญสหรัฐ
    และ/หรือเงินสกุลประเทศของตนเอง เพื่อนำมาใช้แลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทในกรณีที่ต้องการอีกด้วย
  • มีนักท่องเที่ยวจำนวนน้อย ซึ่งน้อยกว่าร้อยละ 3 ระบุว่า มีการใช้เช็คเดินทาง หรือบัตรเดบิตสำหรับ
    ชำระค่าใช้จ่าย ในการท่องเที่ยวพักผ่อน

 นางสาววิภาวรรณ ยงวิกุล ผู้อำนวยการ เวสเทิร์น ยูเนี่ยน ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ตลอดเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยถือเป็นสวรรค์สำหรับนักท่องเที่ยวทั่วโลก เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย สามารถตอบสนองความสนใจและงบประมาณในกระเป๋าของนักเดินทางได้อย่างลงตัว ทั้งนักท่องเที่ยวหนุ่มสาวที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวแบบประหยัด (backpackers) ซึ่งต้องการออกมาเรียนรู้โลกกว้าง จนถึงนักท่องเที่ยวตามฤดูกาลที่มุ่งมองหาบริการที่เป็นเลิศและความสะดวกสบายสูงสุด”

 

 อนึ่ง ข้อมูลจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของไทย ระบุว่า ในปี 2555 ที่ผ่านมา มีผู้เดินทางเข้าประเทศไทยเป็นจำนวนสูงถึง 22.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2554 เกือบร้อยละ 161  โดยสภาการเดินทางและท่องเที่ยวโลก (The World Travel & Tourism Council) เผยว่า การท่องเที่ยวช่วยสร้างการเติบโตให้แก่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของไทย (GDP) คิดเป็นมูลค่า 1,561.9 พันล้านบาทในปี 2553 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 1,772.6 พันล้านบาทในปี 2555 ทั้งยังคาดการณ์จะเพิ่มขึ้นถึง 3,286.6 พันล้านบาทในปี 25632

 

บีเอ็มอาร์เอส เอเชีย (BMRS Asia) เป็นผู้ดำเนินการสำรวจเชิงปริมาณ โดยสอบถามนักท่องเที่ยวจำนวน 300 คน (จาก 17 ประเทศ) ที่ได้เดินทางมาเยือนกรุงเทพฯ และพัทยา เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้จ่ายและการบริหารเงินระหว่างที่พำนักอยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวดังกล่าวได้พักอยู่ในไทยต่ำสุด 3 วัน และเป็นนักท่องเที่ยวอิสระ ซึ่งไม่ได้มากับกลุ่มทัวร์ใดๆ

 

western union travelling spending 2013

คลิกภาพใหญ่ที่นี่


แชร์ :

You may also like