HomeDigitalDIGITAL TRENDS 2016 หมดเวลา..ยุคดิจิตอลแบบของเล่น

DIGITAL TRENDS 2016 หมดเวลา..ยุคดิจิตอลแบบของเล่น

แชร์ :

digital 2016 cj worx Chy 2

สำหรับนักการตลาด ดิจิตอล (Digital) ถือเป็นเครื่องมือ/ช่องทางอันทรงพลัง สำหรับการทำการตลาดหรือสื่อสารกับผู้บริโภค ณ ชั่วโมงนี้ BrandBuffet.in.th สัมภาษณ์พิเศษกับ CJ Worx หนึ่งในดิจิตอลเอเจนซี่แถวหน้าของไทย โดย สหรัฐ สวัสดิ์อธิคม กรรมการผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์  มาอัพเดทสถาณการณ์ของดิจิตอล ปี 2016

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

จากปีที่ผ่านมาดิจิตอลถูกนำมาใช้เป็นช่องทางการปล่อยโฆษณาหรือปล่อยกิจกรรมเล่นๆแล้วจบไป คล้ายๆกับการยิงโฆษณาบนโทรทัศน์แล้วก็ผ่านไป  แต่แกนหลักหรือ Core สำหรับปี 2016 เป็นต้นไป เน้นไปที่ Interaction on Conversation  หมายถึง  การทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคในแต่ละ “ประสบการณ์” ของผู้บริโภค (Customized Experience)

“โดยทางทฤษฏีคือการที่สามารถทำการส่งสารให้คนต่างกลุ่มต่างความต้องการให้ได้สารต่างกัน เช่นคนที่ไม่รู้จักสินค้ามาก่อนเค้าต้องได้รับโฆษณาเชิงแนะนำคุณสมบัติ แต่คนที่รู้จักสินค้าแล้วควรทำให้เค้าซื้อเพิ่มหรือใช้มากขึ้น แต่คนที่ใช้เยอะอยู่แล้วทำไงให้เค้าแนะนำเพื่อน แบบนี้คือตัวอย่างนึง”

#1  The Rise of  New Internet User

The New Internet User  หรือ  ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตหน้าใหม่  หมายถึง  คนที่เราไม่รู้ว่าเป็นใครในอดีตที่ใช้โมบายเข้าสู่โลกอินเตอร์เน็ต  เช่น  เด็ก  แม่ค้าในตลาด  คนขับรถ  ซึ่งกระจายอยู่ทั้งหัวเมืองใหญ่และหัวเมืองเล็กๆ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้ คือ มือถือสมาร์ทโฟนราคาถูกลง และหาซื้อได้ง่าย  จำนวน The New Internet User  ปัจจุบันเทียบเท่ากับ Old internet User  และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ  ซึ่งส่งผลทำให้ประชากรผู้ใช้อินเตอร์เน็ตรวม (Internet Population ) ใหญ่ขึ้นมาก

#2 อะไรก็ต้อง Mobile First

จากการเพิ่มจำนวนของ The New Internet User  ซึ่งโดยส่วนใหญ่ใช้มือถือหรือสมาร์ทโฟนเป็นหลัก  จากสถิติ 3 ปีที่แล้วสัดส่วนการเข้าเว็บไซต์ผ่านโมบายมีเพียง 5% แต่ปัจจุบัน 50-70%   ทำการตลาดใดๆต้อง Mobile First ทั้งรูปแบบเว็บ  โฆษณา แบนเนอร์ เป็นต้น เนื่องจากกลุ่มนี้ไม่มีคอมพิวเตอร์ มีแต่มือถือ  ดังนั้นต้องออกอะไรก็ตามต้องเป็น Mobile ก่อน ไม่มีเวอร์ชั่น Desktop ไม่เป็นไร แต่ไม่มี Mobile ไม่ได้

#3 เกมส์เปลี่ยน Digital Leads

ตลาดหุ้นร่วง เศรษฐกิจทั้งในประเทศและทั่วโลกไม่เสถียรมากนัก ส่งผลทำให้การจับจ่ายของผู้คนก็ลดลง  การทำโฆษณาต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ ลูกค้า(แบรนด์)จะ Switch งานเข้าสู่ดิจิตอล  เนื่องจากปลอดภัยกว่าในเชิงการลงทุน  อีกทั้งดิจิตอลสามารถเข้าถึงกลุ่มระดับล่างได้แล้วด้วย Mobile  จากเดิมที่เข้าถึงด้วยทีวี  วิทยุชุมชน เป็นต้น  แต่ปัจจุบันมีตัวเลือกเพิ่มเติมเข้าถึงด้วยดิจิตอล

ทำให้ลูกค้านำ Digital มาเป็นตัวนำ หรือเป็น Lead แคมเปญ  จากนั้นใช้สื่อ Above the line  อย่าง ทีวี , วิทยุ , บิลบอร์ด เป็นส่วนซัพพอร์ตของแคมเปญ (ในบางรายบางแคมเปญ)   การใช้ Above the line หรือ Traditional  ยังคงมีอยู่แต่ค่อยๆลดสัดส่วนลงเรื่อยๆ จนเข้ามาสู่ Digital Lead  ทั้งหมด

“การทำดิจิตอลไม่เหมือนกับการทำโฆษณาสมัยก่อน Above the line จะทำแค่ส่วนเริ่มต้นเท่านั้นแต่ไม่สามารถไปสุดทางตลอด Consumer Journey ได้  แต่ดิจิตอลสามารถทำได้ตั้งแต่ต้น กลางทาง จนถึงปลายทาง สินค้าบางราย”

#4  ศาสตร์ Digital PR 

การทำ PR หรือ ประชาสัมพันธ์ในโลกดิจิตอล (Digital PR) ไม่เหมือนกับโลก Traditional  ที่สร้างข่าวประชาสัมพันธ์ไปยังสำนักข่าวต่างๆ  เนื่องจากประชาชนฉลาดขึ้น แยกแยะ ข่าวประชาสัมพันธ์สินค้ากับข้อมูลได้  Digital PR  คือ  การผสมผสานระหว่างศาสตร์ของโซเซี่ยลมีเดียกับงานข่าวเข้าด้วยกัน  เพื่อให้เกิด Interaction กับผู้รับสาร เช่น  Like Comment Share  และกลายเป็น Conversation   หากบทความหรือคอนเท้นท์ไหนที่ไม่ตรงกับความสนใจพวกเขาจะไม่มีปฏิสัมพันธ์  ซึ่งส่งผลทำให้ไม่เกิดกระแสหรือแรงกระเพื่อมในโลกโซเซี่ยลมีเดีย  คำว่า Digital PR และ Conversation  จึงมาแรงกว่าทุกๆครั้ง

#5  บ๊ายบาย  Seeding 

Seeding หมายถึง การปลอมตัวเป็นผู้บริโภคเข้าไปชื่นชมสินค้าของตนเองในโลกออนไลน์ (ประเทศพัฒนาแล้วจะไม่ค่อยทำ) จะลดลงเรื่อยๆ  เนื่องจากมีการจับม้า(หน้าม้าอวยสินค้า) และส่งผลเสียหายต่อแบรนด์เมื่อโดนจับได้  แต่จะหันไปทำ Sponsored Review บนพันทิพย์แทน   การขายสินค้าต้องตรงๆแบบบริสุทธิ์ใจ  แต่ต้องไม่ขายจนเกินไป  สิ่งที่ให้ไปต้องมี Value มีประโยชน์ต่อพวกเขาด้วย  แบบ win-win

#6  Video ยังไปได้สวย

พื้นฐานของวิธีการสื่อสาร ได้แก่  ข้อความ  ภาพนิ่ง  และวีดีโอ   ซึ่งคอนเท้นท์ในรูปแบบวีดีโอ (Video) ยังคงอยู่แน่นอน ยังไม่มีสัญญานว่าจะลดลงหรือมีตัวไหนมาแทนที่ได้  มีแต่จะเพิ่มมากขึ้นทั้งในแง่เม็ดเงินที่นักการตลาดลงทุนเพิ่มเติม  และ คุณภาพของวีดีโอก็ยังดีขึ้นด้วยเช่นกัน

จึงทำให้  Facebook video กับ  Youtube  ยังมีแนวโน้มโดดเด่นทั้งสองแพลตฟอร์ม  หากต้องการได้ประสิทธิภาพด้านราคา Facebook Video ทำได้ดีกว่า แต่ไม่สามารถค้นหาวิดีโอได้เนื่องจากยังไม่มีศูนย์กลางค้นหาวีดีโอ  ขณะที่ Youtube สามารถค้นหาได้   มีตัวเลขสถิติบนโลกออนไลน์ชัดเจน  พร้อมกับมี Related Search  และ โชว์โฆษณาใกล้เคียงกับสิ่งที่กำลังดูอยู่   ส่วน Line Sticker มีแนวโน้มลดลง เพราะมีตัวเลือกอื่นที่ effective กว่า

#7  ผงชูรส VR 

เทคโนโลยีที่ใช้ในโฆษณาจะค่อยๆหายไป เช่น QR Code หรือ  Facebook App  แต่ถูกนำไปใช้ในเชิงการใช้งานมากกว่า  อย่าง VR  (virtual reality) จะถูกพูดถึงกันกว้างขวางในปีที่ผ่านมาแต่ยังน่าสงสัยถึงการนำมาใช้งานเชิงโฆษณา เนื่องจากเดิมเคยถูกมองว่าเป็นแค่กิมมิค ไม่ได้มีผลต่อการรับรู้อะไรต่อผู้บริโภค หรือเรียกว่าเป็นแค่ผงชูรส ซึ่งรสจริงๆ แต่ยังไม่น่าใช่ Revolution ของตลาด

#8 Programmatic มาแล้ววว

Programmatic Advertising  ระบบจัดการและวางแผนโฆษณา เครื่องมือที่ช่วย Optimize โฆษณาได้อัตโนมัติ  จากเดิมที่ใช้สมองคนมือมนุษย์ในการบริหารจัดการ  ในต่างประเทศใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนในประเทศไทยเริ่มมาใช้กันบ้างแล้วในเอเจนซี่

สุดท้าย ณ วันนี้แบรนด์ไหนยังไม่เริ่มต้นกับดิจิตอล คงต้องระวังให้ดี เนื่องจากผู้บริโภคอยู่กับดิจิตอลไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมงผ่านมือถือ ใช้เฟซบุ๊ค  อ่านสิ่งที่คนอื่นแชร์  ถ้าแบรนด์ไม่ได้อยู่ในช่องทางเหล่านั้น คุณจะเสียโอกาสที่ผู้บริโภคไม่เห็นคุณ  ตัวอย่างของ SMEs ในปัจจุบันก็เริ่มเข้าสู่ดิจิตอลจาก Facebook และ Google Ads จนประสบความสำเร็จ

[xyz-ihs snippet=”LINE”]


แชร์ :

You may also like