HomeBrand Move !!ถอดบทเรียน Uber ลุย “เชียงใหม่” เรียนรู้อะไรนอกเมืองหลวง และสตาร์ทอัพไทยได้แนวคิดอะไรจาก Uber

ถอดบทเรียน Uber ลุย “เชียงใหม่” เรียนรู้อะไรนอกเมืองหลวง และสตาร์ทอัพไทยได้แนวคิดอะไรจาก Uber

แชร์ :

k-amy-1

วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันแรกที่ Uber ให้บริการในเชียงใหม่ นับเป็นครั้งแรกที่ Uber ให้บริการนอกกรุงเทพ เอมี่ กุลโรจน์ปัญญา ผู้อำนวยการสื่อสารองค์กรเเละนโยบาย, เอเชียแปซิฟิก อูเบอร์ เล่าถึงอินไซต์ที่เกิดขึ้นของทั้งฝั่งผู้ใช้บริการ(Rider) และมุมมองจากผู้ขับ(Driver) ที่น่าสนใจ และนำไปสู่การปรับกลยุทธ์ในเมืองอื่นๆ ของประเทศไทย ตามที่ Uber มีวิสัยทัศน์ว่าจะให้บริการทุกพื้นที่และทุกเวลา ดังนี้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

– เริ่มกันที่ผังเมืองของเชียงใหม่ ที่มีความแตกต่างจากกรุงเทพ ทำให้เส้นทางในกรุงเทพจะเป็นเส้นทางที่วิ่งระยะยาว ขณะที่เมืองเชียงใหม่ มีเขตเมืองเก่า และเมืองที่เติบโตขึ้นมาใหม่ รวมทั้งมีกรอกซอกซอย

– ระบบขนส่งของเชียงใหม่ มีตัวเลือกไม่มากเท่ากรุงเทพ จากการเก็บข้อมูลของ Uber พบว่ารถสาธารณะที่เชียงใหม่มีไม่ถึง 3,000 คัน ขณะที่ประชากรท้องถิ่นของเชียงใหม่มีราว 1.7- 2 ล้านคน และมีนักท่องเที่ยวอีก 7-9 แสนคนต่อปี ทำให้มีช่องว่างที่ Uber จะเข้าไปตอบสนองความต้องการได้อีกมาก และเป็นทางเลือกให้ผู้โดยสารที่อยู่ในซอย ซึ่งรถสาธารณะวิ่งเข้าไปไม่ถึง หรืออยู่นอกเขตให้บริการ

– รถส่วนบุคคลในเชียงใหม่มีจำนวนทั้งสิ้น 250,000 คัน จึงเอื้อให้เกิดอาชีพเสริมกับประชากรในพื้นที่

– การเติบโตของจำนวนผู้โดยสารและผู้ขับในเชียงใหม่ ถือว่าเติบโตเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับเมืองใหม่ๆ ที่ Uber เริ่มต้นให้บริการในช่วง 2-3 เดือนหลัง เมื่อรวมกับผู้ใช้บริการในกรุงเทพ ทำให้ตลาดในประเทศไทยได้รับการจับตามองอย่างมากจาก Uber  เอเชีย-แปซิฟิค

cm-map-uber

– สัดส่วนผู้ใช้บริการในเชียงใหม่ แบ่งเป็น คนไทยต่างถิ่น 28% ชาวต่างชาติ 61%  และคนท้องถิ่น 11% สะท้อนให้เห็นว่าเทคโนโลยีได้เข้ามาทะลายกำแพงในแง่ของภาษาและค่าเงิน ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ลดความกังวลทั้งขาไปและขากลับ

uber-cm-number

– อย่างไรก็ตามความจำนวนผู้ขับในเชียงใหม่ ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ Uber มีตัวเลขเป้าหมายว่าในการเรียกบริการแต่ละครั้งรถของ Uber ควรไปรับผู้โดยสารได้ภายใน 2-3 นาที ซึ่งเทียบเท่ากับการหยิบกุญแจรถ ตอนนี้ในเขตกรุงเทพทำสถิติโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 6 นาที แต่ที่เชียงใหม่สถิตินี้ยังอยู่ห่างไกลกับเป้าหมายอีกมาก

  นอกเหนือจากการรุกตลาดในต่างจังหวัดแล้ว Uber ยังปรับปรุง UX/UI ของ Application เป็นครั้งแรก โดยใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาคาดเดา จดจำพฤติกรรมและสถานที่ที่ใช้งานประจำของ User เฉพาะราย ทำให้เมนูที่ใช้บ่อยจะปรากฏให้เห็นใช้งานง่ายขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มระบบ Family Profile ครอบครัวเดียวกันสามารถเรียกเก็บเงินกับผู้ปกครองได้เลย โดยที่เด็กๆ หรือคนอื่นในครอบครัวไม่ต้องกังวลเรื่องการจ่ายเงิน ในส่วนของผู้ขับ ก็มีตัวช่วยด้านความปลอดภัยเพิ่มเติมขึ้นมา เรียกว่า Telematics

– ในประเทศไทยยังมีบริการอีกอย่างที่ Uber ยังไม่เปิดตัวอย่างเป็นทางการ แต่ในต่างประเทศเริ่มต้นใช้งานแล้ว เช่น Uber Eat บริการสั่งอาหารให้มาส่ง, การเชื่อมโยงกับ Google Calendar เพื่อดึงนัดหมายกับสถานที่แล้ว เรียกรถ Uberได้เลย ฯลฯ ทั้งหมดนี้ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการเจรจากับพันธมิตรเพื่อนำบริการมาเพิ่มประสบการณ์การใช้งานที่ดีต่อไป

อินไซต์จากการลุยตลาดในต่างจังหวัดนอกเหนือจากกรุงเทพ รวมทั้งบริการใหม่ๆ ที่เริ่มต้นแล้วในต่างประเทศ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นข้อคิดที่ Uber นำมาปรับใช้ ในเมืองอื่นๆ โดยมุ่งเน้นที่การสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดกับทั้งผู้โดยสารและผู้ขับขี่ และตอบสนองความต้องการของผู้คนทั่วทุกพื้นที่ ทุกเวลา การเติบโตและแนวคิดของ Uber ในประเทศไทย น่าจะเป็นบทเรียนให้กับสตาร์ทอัพอื่นๆ ได้เรียนรู้เช่นกัน ในเรื่องของการมองหาช่องว่างทางการตลาด โดยใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีมาเติมเต็มช่องว่างนั่น เหมือนที่ Uber บริการรถ ที่หลายคนอาจจะเรียกว่า “แท็กซี่” แต่ Uber กลับให้บริการได้ครอบคลุมกว่า ทั้งในแง่ของพื้นที่และผู้ใช้งาน และเมื่อเกิดความต้องการในตลาดแล้ว ก็ยังพัฒนาตัวเองต่อไป ทั้งที่เกิดจากการพัฒนาจากภายในเอง รวมทั้งการจับมือกับพันธมิตรใหม่ๆ


แชร์ :

You may also like