HomeInsightK-I-S-S หลักการเขียนคอนเทนต์ กลับสู่ความเรียบง่าย แต่ตรึงใจคน ด้วยแนวคิด Keep It Simple Stupid

K-I-S-S หลักการเขียนคอนเทนต์ กลับสู่ความเรียบง่าย แต่ตรึงใจคน ด้วยแนวคิด Keep It Simple Stupid

แชร์ :

Chad Pollitt นักเขียนและนักทำคอนเทนต์มาร์เกตติ้ง ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Relevance เว็บไซต์ที่รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับคอนเทนท์โปรโมชั่น ข่าว และอินไซต์ต่างๆ มาแชร์แนวคิดการทำคอมเทนต์มาร์เก็ตติ้งในแบบที่เขาได้เรียนรู้มาจากการเข้าร่วมกองทัพสหรัฐกว่าสิบปี 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

อันที่จริงมันอาจไม่ใช่หลักการสำหรับการทำคอนเทนต์ซะทีเดียว แต่เรียกว่าเป็นหลักการที่เอามาจัดการเรื่องต่างๆ ในชีวิตก็ว่าได้ หลักการที่ว่านั้นเรียกว่า ‘K-I-S-S’ (Keep It Simple Stupid) Pollitt บอกว่าแนวคิดนี้ไม่เคยทำให้เขาผิดหวังและมันถูกใช้ในหลายๆ สถานการณ์ เขาจึงรวบรวมมันและมาแชร์ให้เราฟังในมุมของการนำเอาไปใช้ในด้านคอนเทนต์มาร์เกตติ้ง

เมื่อพูดถึงการเขียนและการตลาดด้านเนื้อหา หลักการแบ่งออกเป็นสี่ส่วน –

Tell them what you’re going to tell them

Tell them what you told them you were going to tell them

Tell them what you told them

Tell them what to do next

สี่ข้อนี้กลายมาเป็นพื้นฐานของบทความมากกว่า 1,000 บทความที่เขาเขียนในอาชีพการทำงานของเขา

1. Tell them what you’re going to tell them “การแนะนำ”

นั่นก็คือการเปิด “หัวข้อ” ผู้เขียนต้องดึงดูดความสนใจได้อย่างรวดเร็วหลังจากที่ดึงคนเข้ามาอ่านด้วยหัวข้อเรื่องได้แล้ว ถ้าผ่านขั้นตอนนี้ไปไม่ได้ เนื้อหาอื่นๆ ก็อย่าหวังว่าจะได้เสนอหน้ามาสู่สายตาผู้อ่าน และนี่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในสี่ส่วนของหลักการ K.I.S.S. กับคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง

สิ่งที่ควรอยู่ในพาร์ทแรกนี้คือการบอกผู้อ่านในสิ่งที่เขาต้องการอ่าน เขาจะได้อะไรจากการอ่านคอนเทนต์นี้ ปัญหาอะไรกำลังถูกแก้ไข? มีเรื่องน่ารู้อะไรสำหรับพวกเขา? หากผู้เขียนสามารถตอบคำถามทั้งสองนั้นได้ และมันเป็นเรื่องที่กลุ่มเป้าหมายสนใจพอดี ส่วนแรกของหลักการนี้ก็สมบูรณ์

ในแง่ของการเขียนเพื่อธุรกิจ อย่าลืมว่าธุรกิจต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วขายของที่สร้างมาเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ดังนั้นคอนเทนต์ของคุณควรเขียนให้มันสะท้อนถึงการแก้ปัญหาเหล่านั้น

2. Tell them what you told them you were going to tell them  “เนื้อความ”

ขั้นตอนนี้ นักเขียนต้องทำการส่งมอบสัญญาที่เกริ่นเอาไว้ในพาร์ทแรก หากผู้เขียนทำตามไม่ได้ที่บอกไว้ในสัญญา ผู้อ่านจะไม่มีความสุขและความรู้สึกนั้นไม่ได้จบลงแค่คอนเทนต์นั้นๆ แต่ฝั่งในใจของผู้อ่านยามเมื่อนึกถึงแบรนด์

พาร์ทนี้ผู้เขียนต้องแบไต๋การแก้ปัญหา และหรือการพิสูจน์ที่บอกไว้ในพาร์ทแรกให้ได้อย่างแจ่มแจ้ง เป็นพาร์ที่ต้องการหลักฐาน, ข้อเท็จจริง หรือตรรกะที่ชัดเจนและตรงไปตรงมา

และหากคุณทำได้ดีจนคนอ่านรู้สึกว่า เอ้อ มันมีประโยชน์กับเขา เขาจะยังคงอ่านคอนเทนต์นั้นๆ ต่อไป แต่ย้ำอีกครั้งว่าเนื้อหาส่วนนี้จะต้องให้คุณค่าบางอย่างตามที่บอกเอาไว้ในตอนแรกให้ได้

3. Tell them what you told them  “บทสรุป”

มาถึงส่วนของการเตือนความจำ ทบทวนอีกครั้งถึงสิ่งที่คนอ่านได้อ่านไปแล้ว เขาได้อ่านอะไรไปบ้าง เนื้อหาควรอ้างอิงถึงปัญหาที่กล่าวถึงในบทนำ ส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องยาว แค่หนึ่งหรือสองย่อหน้าก็เพียงพอ

4. Tell them what to do next  “Call to action”

เป็นหน้าที่ของนักเขียนเสมอที่จะบอกผู้อ่านว่าพวกเขาต้องทำอะไรต่อไป หากพวกเขาใช้เวลาว่างจากตารางงานที่ยุ่งเหยิงของพวกเขามาอ่านคอนเทนต์ที่คุณบรรจงเขียนขึ้นมา ก็ควรตอบแทนเขาด้วยการบอกถึงสิ่งที่ควรทำในขั้นตอนต่อไป

อย่างไรก็ตามนักเขียนไม่สามารถคาดหวังให้ผู้อ่านบริโภคบทความจนจบและซาบซึ้งจนเริ่มคลิกไปที่เว็บไซต์เพื่อซื้อสินค้าหรือดาวน์โหลดอะไรบางอย่างที่สร้างเงินให้กับบริษัท แต่สิ่งที่ผู้อ่านต้องการคือทิศทางและคำแนะนำเกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆ เพื่อจะทำในสิ่งที่เขาพึ่งได้อ่านจบไปให้เป็นจริงได้ (และถึงตอนนี้ถ้ามันบังเอิญขายของได้ก็เริ่ดดดดมากกกกก)

ยุคนี้ความง่ายและเร็วยังเป็นหัวใจสำคัญ แม้ว่าเพื่อนร่วมงานของเราบางคนยังชอบที่จะทำอะไรให้มันซับซ้อน คุณอาจลองแหวกแนวและกลับสู่ความเรียบง่ายแต่ทรงพลัง อย่างที่ไม่จำเป็นต้องซับซ้อนดูก็อาจจะเข้าท่าดี ซึ่งหลักการ ‘K-I-S-S’ (Keep It Simple Stupid) นี้ที่เราได้เอามาเล่าก็นับเป็นสูตรสำเร็จที่ดีสำหรับการผลิตคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็นบล็อกโพสต์หรือคอนเทนต์ยากๆ ก็ตาม

Source

 


แชร์ :

You may also like