HomeBrand Move !!‘ความขลังของใบปริญญาที่เริ่มถดถอย’ เมื่อ ‘ทักษะ’ บัณฑิตจบใหม่ใช้ไม่ได้จริงหน้างาน ช่องว่างที่ต้องเติมด้วยการ Reskill

‘ความขลังของใบปริญญาที่เริ่มถดถอย’ เมื่อ ‘ทักษะ’ บัณฑิตจบใหม่ใช้ไม่ได้จริงหน้างาน ช่องว่างที่ต้องเติมด้วยการ Reskill

แชร์ :

เรื่องของ “การพัฒนาคน” ​ถือเป็นกลไกสำคัญและเป็นพื้นฐานของทุกๆ การพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศชาติ โดยเฉพาะในยุคแห่งการเผชิญกับปัจจัยที่จะเข้ามา Disruption ได้จากรอบด้าน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่ารากฐานสำคัญในการพัฒนาคนก็คือ เรื่องของการศึกษา โดยเฉพาะการพัฒนา Skill ต่างๆ ให้ตอบโจทย์กับตลาดแรงงานในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

แต่เป็นที่น่าตกใจว่า มาตรฐานของระบบการศึกษาจากสถาบันต่างๆ ​ในประเทศ​ ส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ตลาดต้องการ ​โดยเฉพาะทักษะที่ภาคแรงงานต้องการนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการสอนอยู่ในระบบการศึกษาตามปกติ ทำให้กลายมา​เป็นภาระขององค์กรต่างๆ ในการเทรนเพื่อให้ได้บุคลากรที่มีทักษะและความสามารถในแบบที่แต่ละสายงานต้องการ

ช่องว่างระหว่าง Theory และ Practical

สิ่งเหล่านี้ได้รับคำยืนยันมาจาก เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ระดับประเทศอย่าง คุณอนุพงษ์​ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) เพราะหลายครั้งหลายหนในสนามจริงที่คุณอนุพงษ์รู้สึก “ช็อค” กับทักษะของพนักงานใหม่ เพราะแม้แต่บัณฑิตจากสถาบันระดับชั้นนำที่บางครั้งพอลงหน้างานแล้วจะรู้สึกได้เลยว่า “ไม่ใช่ตั้งแต่วันแรกที่ลงหน้างาน”

“เด็กบางคนไม่เข้าใจแม้แต่เรื่องสแตนดาร์ตทั่วไปของงานด้านวิศวโยธา ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญเมื่อจะเข้ามาประกอบอาชีพในสายงานนี้ มีแต่ทฤษฎีที่ทุกวันนี้แทบจะจมทฤษฎีตายกันอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถทำงานจริงๆ ได้ รวมทั้งยังมีอีกหลายๆ ทักษะที่จำเป็นต่อการทำงาน แต่ไม่สามารถหาได้จากเด็กจบใหม่ในตอนนี้ เพราะยังไม่มีการเรียนการสอนในระบบ เช่น กลุ่มงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ทำให้ภาระในการ Reskill ให้กับบุคลากรตกมาเป็นขององค์กรต่างๆ และเริ่มเห็นความไม่บาลานซ์ในภาคแรงงาน ธุรกิจหาแรงงานที่ต้องการไม่ได้ ขณะที่คนที่ไม่มีสกิลก็ไม่สามารถหางานทำได้ ซึ่งภาพเหล่านี้เชื่อว่าจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า”​  

คุณอนุพงษ์ มองว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น มาจาก Gap หรือช่องว่าง ที่นับวันจะขยายกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างการเรียนรู้ตามหลักสูตรของระบบการศึกษาแบบ Conventional ที่จะเน้นเรื่องของการปูพื้นฐานตามทฤษฎีเป็นหลัก แต่ไม่ได้ปูมาถึงการนำมาใช้งานในสนามจริง ซึ่งปัจจุบันเรื่องนี้ยังเห็นช่องว่างอย่างมโหฬาร​ ทำให้ผู้ประกอบการต้องเป็นคนลงมาเติมในจุดนี้เองหลังจากที่รับคนเข้ามาทำงานแล้ว เพื่อให้ได้คนที่พร้อมมาทำงานได้จริง ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่เอพี แต่เชื่อว่าทุกคนและทุกองค์กรก็พบปัญหาในลักษณะเดียวกัน

“สิ่งหนึ่งที่เราเห็นความแตกต่างระหว่างระบบการศึกษาของไทยและต่างประเทศ คือ การเสริมประสบการณ์ของตัวผู้สอนเอง เพราะอาจารย์มหาวิทยาลัยของไทย มีระเบียบทางวินัยที่ไม่อนุญาตให้นำเวลาในการสอนไปทำธุรกิจส่วนตัว ขณะที่อาจารย์ในต่างประเทศ จะต้องนำเวลา 10% ไปทำธุรกิจอื่นๆ ที่นอกเหนือจากการสอนหนังสือ ทำให้อาจารย์ในต่างประเทศจะมีประสบการณ์ตรงในการบุกเบิกธุรกิจ หรือการปั้นสตาร์ทอัพด้วยตัวเอง ทำให้มีแรงขับที่นอกจากทฤษฎีไปสู่โลกแห่งธุรกิจในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นได้ในประเทศไทย ทำให้ยังไม่สามารถเติมช่องว่างที่มีอยู่ให้เต็มได้”  

สอดคล้องกับข้อมูลจาก คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (SEAC) ในฐานะที่เป็นที่ปรึกษาธุรกิจให้กับองค์กรชั้นนำในประเทศ ทั้งองค์กรขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือแม้แต่ธุรกิจในกลุ่ม Family Business ที่ให้ข้อมูลถึงปัญหาที่บริษัทไทยส่วนใหญ่ต้องพบเจอ คือ พนักงานส่วนใหญ่ที่บางครั้งแม้จะจบมาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ บางคนมี Technical Skill ที่ดี ​แต่ยังขาดสกิลที่จำเป็นต่อการทำงานในหลายๆ เรื่อง เพราะในการทำงานจริงต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกอย่างหลากหลาย เช่น การทักษะในด้านการบริหารจัดการ ภาวะผู้นำ การแก้ปัญหาหรือตัดสินใจเฉพาะหน้า หรือยังขาดวิธีคิด และความเข้าใจในงานเพื่อยกระดับให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยหรือระบบการศึกษาของประเทศไทยไม่สามารถตอบสนองให้แก่ตลาดได้

เข้าสู่ยุค Reskill เพื่อรอด

นอกจากการปิดช่องว่าง เพื่อเติมทักษะในการประยุกต์เรื่องของทฤษฎีมาสู่การใช้งานได้จริงแล้ว สิ่งสำคัญคือ การเติมของใหม่ การอัพเดทความรู้และทักษะให้สอดคล้องกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงในตลาด เพราะทุกวันนี้มีทักษะใหม่ๆ ที่ต้องเรียนรู้ ถ้าไม่มีการเติมความรู้ มุมมองใหม่ๆ หรือวิธีคิดใหม่ๆ ให้กับบุคลากร ก็ไม่สามารถ​เป็นแรงงานที่มีทักษะและเป็นที่ต้องการของตลาด ขณะที่ในแง่ขององค์กรเองก็ไม่มีความสามารถที่จะแข่งขันได้

คุณอนุพงษ์ ยังให้ความเห็นต่อด้วยว่า “ทักษะสำคัญๆ ในภาคธุรกิจ ที่ต้องฝึกให้พนักงานมี นอกจาก Skill พื้นฐานที่จำเป็นต่อสายงานแล้ว ยังมีทักษะเฉพาะทาง และตอบโจทย์การแข่งขันในปัจจุบันในยุค 4.0 ไม่ว่าจะเป็น AI, Big Data, Data Analytic, Machine Learning รวมทั้งทักษะในกลุ่ม Leadershipสำหรับชั้นผู้บริหาร เช่น Design Thinking, Outward Mindset, Management Skill, ภาวะผู้นำหรือการแก้ไขหรือตัดสินใจต่อปัญหาต่างๆ ​เพราะหลายครั้งที่เรามีปัญหาในการโปรโมทพนักงาน ทำให้ต้องเสียเซลล์ฝีมือดี แต่กลับได้​ Sell Supervisor หรือ Sell Management ที่แย่มาแทน เพราะไม่ได้เติมทักษะในระดับ Management หรือเรื่องของการเป็นผู้นำ​ แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือ การที่องค์กรต้องสูญเสียบุคลากรที่มีคุณภาพไป เพราะส่วนใหญ่คนที่ถูกโปรโมท ถ้าทำงานที่ใหญ่ขึ้นไม่ได้จะไม่มีใครยอมกลับไปอยู่ในตำแหน่งเดิม แต่เลือกที่จะแก้ปัญหาด้วยการลาออกจากองค์กรแทน”

ดังนั้น เรื่องของการ Reskill เป็นความจำเป็นสำหรับการอยู่รอดทั้งในมุมขององค์กร หรือบุคคลทั่วไป แต่เมื่อภาคการศึกษายังไม่สามารถตอบโจทย์ได้ องค์กรธุรกิจต่างๆ ก็จำเป็นต้องช่วยเหลือตัวเอง ด้วยการเสริมความแข็งแรงใน BU เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรไม่ว่าจะเป็น Training Center หรือการมี Academy เพื่อปรับสกิลพื้นฐานให้มีความพร้อมในการทำงาน รวมทั้งการจัดคอร์สอบรม ด้วยการจ้างบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจมาอบรมให้แก่พนักงานในองค์กร

“ในส่วนของเอพี​ เรามี Academy ในการพัฒนาทักษะบุคลากรทั้ง Engineer Academy, Sell Academy และกำลังจะตั้ง Marketing Academy เพื่อ Reskill พนักงานในองค์กรให้สามารถแข่งขันได้ในธุรกิจ ที่มากกว่าแค่ในประเทศ แต่เป็นสกิลที่สามารถแข่งได้ในเวทีสากล ที่สำคัญเรายังให้ความสำคัญกับการ Diversify ธุรกิจไปสู่เรื่องของการศึกษา ด้วยการมองหาคนที่มี Passion เดียวกัน มาช่วยขับเคลื่อน”​

และด้วยมุมมองที่มีต่อปัญหา รวมทั้งเป้าหมายที่ต้องการแก้ไขปัญหาไปสู่วงกว้างในระดับประเทศมากกว่าแค่การแก้ปัญหาในบริษัท ประกอบกับการมีแนวความคิดที่ตรงกันกับ คุณอริญญา เถลิงศรี ซึ่งอยู่ในแวดวงของการเป็นที่ปรึกษาธุรกิจ​ โดยเฉพาะเรื่องของการพัฒนาคนมากว่า 25 ปี ในนาม APM Group ก่อนจะต่อยอดมาสู่ SEAC  ซึ่งเป็นอีกหนึ่งการ Diversify มาสู่ธุรกิจด้านการศึกษารูปแบบใหม่ของเอพี ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ใน SEAC 90% และอีก 10% ถือโดยคุณอริญญา พร้อมกับบทบาทในการเป็นผู้กำหนดกลยุทธ์ วางนโยบาย และทิศทางในการ Operation ต่างๆ  ของ SEAC ไปพร้อมกันด้วย

คุณอริญญา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า SEAC เกิดขึ้นจากหลายๆ Pain point โดยเฉพาะการมองเห็นช่องว่างของระบบการศึกษาที่ไม่สามารถ​มอบทักษะที่จำเป็นในการทำงานจริงให้กับผู้เรียนได้ รวมทั้งเป้าหมายในการสร้าง Lifelong Learning Ecosystem​ หรือสังคมแห่งการเรียนรู้ในทุกช่วงอายุ การมี SEAC จะเข้ามาช่วยเติมเต็มและลดช่องว่างในการยกระดับการศึกษาให้ สามารถออกมาจากข้อจำกัดและรูปแบบเดิมๆ ในการศึกษาด้วยการสร้างแพลตฟอร์มรูปแบบใหม่ เพื่อให้คนไทยสามารถเรียนรู้ภายใต้หลักสูตรเดียวกับในหลายๆ ประเทศที่ได้รับการยอมรับ เช่น มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสถาบันที่เราทำงานมาด้วยโดยตลอด หรือหลักสูตรเฉพาะจากสถาบันธุรกิจชั้นนำระดับโลก เช่น Google  เป็นต้น

“SEAC เริ่มมาประมาณ 2 ปี ด้วยเป้าหมายในการเข้ามายกระดับเรื่องของการศึกษา โดยโจทย์สำคัญทั้งของ SEAC และ AP คือ เราต้องเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการรเรียนรู้ และการศึกษา เพราะช้อยส์ในปัจจุบันในเรื่องของการเรียนรู้มีไม่มาก รวมทั้งการเข้ามา Reskill เพื่อพัฒนาคนในชาติ ซึ่งภาคการศึกษาไทยไม่สามารถตอบโจทย์ได้ และเราไม่สามารถคิดในแบบวิธีเดิมๆ ได้ นำมาซึ่งการพัฒนาโปรดักต์ และหลักสูตรทั้งหลาย​ที่บางส่วนเป็นการต่อยอดมาจาก APM Group รวมทั้งการค้นคว้าและรวบรวมเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักสูตรที่ตรงกับ Skill ที่จำเป็นสำหรับยุคนี้ โดยภาพใหญ่ที่เรามองคือ การเปิดโอกาสให้ทุกคนในชาติสามารถเข้าถึงระบบการศึกษาของ SEAC ได้อย่างทั่วถึง มากกว่าแค่คนที่สามารถเดินทางมาที่ SEAC ได้ แต่ยังรวมถึงคนในต่างจังหวัด รวมทั้งในต่างประเทศด้วย”​

สร้างแพลตฟอร์มลดกำแพงการเรียนรู้

เนื่องจาก หลักสูตรของ SEAC ​เน้นสอนหลักสูตรเสริมสร้างและพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อโลกปัจจุบันและอนาคต การสร้าง Community ทางวิชาการ เปิดพื้นที่เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา รวมถึงการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สำหรับทุกกลุ่ม​ ในรูปแบบ Blended Learning ด้วยการเรียนรู้ผ่าน 4 แพลตฟอร์ม ที่เปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถเลือกเรียนหลักสูตรที่สนใจได้จากทุกแพลตฟอร์ม และทุกหลักสูตรที่มีอยู่ได้อย่างไม่จำกัด ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ทาง SEAC เป็นผู้พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย​

1. Online : การเรียนผ่านวิดีโอคลิปหรือสื่อ Visual ต่างๆ ​ด้วยหลักสูตรเดียวกับที่สอนในสถาบันชั้นนำของต่างประเทศ โดยจะนำมาทำซับไทเทิลภาษาไทย เลือกแต่ละหลักสูตรที่เป็น Hot Issue ในภาคการศึกษา และจำเป็นต้องมีการ Reskill เพื่อให้เหมาะกับการมีทักษะที่ตอบโจทย์ในยุค 4.0 เช่น Outward Mindset, Design Thinking, Data Analytic, Big Data, AI, Coding, Machine Learning เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ได้อัพโหลดหลักสูตรลงระบบแล้วกว่า 100 หลักสูตร จากจำนวนลิขสิทธิ์หลักสูตรจากสถาบันต่างๆ กว่า 800 หลักสูตร และจะทยอยอัพโหลดเพิ่มเติม เพื่อ​เปิดโอกาสให้สมาชิกได้เรียนรู้หลักสูตรระดับสากล

2. Inline : การเรียนรู้ในคลาสที่ SEAC แบบ​​ Interaction เปิดโอกาสให้โต้ตอบ สอบถาม เพิ่มความเข้าใจได้ดีมากขึ้น​ โดยหลักสูตรส่วนใหญ่เป็นหลักสูตรที่มีในออนไลน์อยู่แล้ว เพื่อเสริมเรื่องของ Practical หลังได้ทฤษฎีจากออนไลน์แล้ว รวมท้ังในอนาคตจะมีการ Live การสอนในคลาส Inline ผ่านดาวเทียมเพื่อให้ทุกคนสามารถเรียนได้จากทุกที่ในประเทศไทย​ ดังนั้น การเรียนทั้ง Online และ Inline ของ SEAC จะสามารถรองรับการเรียนได้แบบ Anywhere Anytime สำหรับคนที่ไม่ต้องการเดินทาง

3. Beeline : เป็นการเรียนการสอนในรูปแบบ Community ระยะเวลาประมาณ 90 นาที ผ่านการ Live จากสถาบันต่างๆ ในต่างประเทศ​ เช่น Google, Stanford University เพื่อเปิดโอกาสให้คนไทยได้เรียนในคลาสเช่นเดียวกับอเมริกา แคนาดา จีน หรือยุโรปได้ ผ่าน Live บนแพลตฟอร์มของ SEAC โดยเฉพาะคนที่เข้าใจภาษาอังกฤษ จะสามารถเรียนได้อย่าง Realtime หรือสามารถเรียนย้อนหลังแบบมีซับไทเทิลภาษาไทยได้ ซึ่งเท่ากับเป็นการเรียนกับอาจารย์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกได้โดยตรง และสามารถโต้ตอบแบบ Interactive ได้ ซึ่งไม่ใช่โอกาสที่จะหาได้ง่ายนัก

4. Frontline : คลังการเรียนรู้ที่สามารถให้ผู้เรียนเข้าถึงข้อมูลการเรียนรู้ และดาวน์โหลดออกมาเป็นคัมภีร์พิชิตความสำเร็จในรูปแบบ Tool Template ในแต่ละหลักสูตร เพื่อสะดวกในการนำไป Apply ใช้ในการทำงานจริงได้อย่างสะดวกมากขึ้น

“​​จุดเด่นในการมาเรียนที่ SEAC นอกจากได้เรียนในหลักสูตรที่สอน Skill นอกเหนือจากสถาบันการศึกษาปกติแล้ว ยังได้รับใบผ่านการอบรมหลักสูตรต่างๆ จากสถาบันเจ้าของหลักสูตรโดยตรง เช่น Stanford University, Google ซึ่งหากต้องไปเรียนโดยตรงจะต้องเสียค่าใช้จ่ายหลักแสน ขณะที่หากมาสมัครเรียนกับทาง SEAC​ โดยเฉพาะในช่วงทดลอง จะมีค่าใช้จ่ายเพียง 10,000 -15,000 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งนอกจากค่าใช้จ่ายในระดับ​ Affordable ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ในวงกว้าง ยังสามารถเรียนซ้ำได้ในทุกคลาส ทุกรูปแบบ จนกว่าจะเข้าใจเนื้อหาอย่างถ่องแท้ จึงเป็นโอกาสให้คนในชาติสามารถ Reskill และพัฒนาตัวเองให้พร้อมสำหรับโลกธุรกิจในปัจจุบันได้จริงๆ” ​

ส่วนทาร์เก็ตสำคัญที่ทาง SEAC ต้องการเข้าถึงมีทั้งกลุ่มองค์กรที่ต้องการ Reskill พนักงาน และบุคคลทั่วไปที่ต้องการ​พัฒนาตัวเอง ทั้งเจ้าของธุรกิจรายย่อย ฟรีแลนซ์ สตาร์ทอัพ พนักงานบริษัทที่ต้องการพัฒนาตัวเอง โดยไม่ต้องรอให้บริษัทเป็นผู้ส่งไปเทรนนิ่ง แต่สามารถเข้าถึงหลักสูตรในระดับนานาชาติด้วยราคาที่เอื้อมถึงได้ รวมไปถึงกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ต้องการมาอัพเดทความรู้ต่างๆ ในการนำไปถ่ายทอดให้กับนักศึกษาต่อไป

ขณะที่ความเห็นจากคุณอนุพงษ์ ซึ่งประสบปัญหาตรงในการได้แรงงานที่ยังไม่มีความพร้อมในการทำงานจริง มีมุมมองว่า “โลกการทำงานในอนาคตส่ิงที่สำคัญกว่าใบปริญญา คือประสบการณ์และ Skill ที่สามารถใช้ได้จริงในการทำงาน​ ซึ่งทุกวันนี้เราเริ่มมองเห็นเอฟฟเฟ็กต์ในลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นบ้างแล้ว แต่ยังคงต้องมองควบคู่ไปกับการมีใบปริญญา แต่ในอนาคตหากการศึกษายังไม่สามารถยกระดับหรือ Reskill ได้ ความสำคัญของ Certificated หรือ Diploma ต่างๆ จะสะท้อนถึงความสามารถและเป็นปัจจัยให้ภาคธุรกิจยอมรับและมีความสำคัญมากกว่าการมีแค่ใบปริญญาแต่เพียงอย่างเดียว” ​​​​ดังนั้น การที่เอพี เข้ามาสนับสนุน SEAC ถือเป็นหนึ่งในการ Diversify ที่สามารถตอบ Passion ที่ต้องการเห็นการยกระดับการศึกษาให้เกิดข้ึนได้จริงในวงกว้าง และทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ด้วยค่าใช้จ่ายราคาไม่แพง และเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่ต้องการเข้ามา Subscirbe เป็นสมาชิกว่า SEAC เป็นหนึ่งในขาธุรกิจของเอพี ที่สามารถเชื่อถือได้ว่าจะให้บริการได้ในระยะยาว เพราะการใช้ทุนในการสนับสนุนให้ธุรกิจของ SEAC สามารถขับเคลื่อนได้ในระยะยาวนั้น ถือว่าไม่มากเมื่อเทียบกับการใช้เงินในการซื้อที่ดินในแต่ละปีเป็นหลักหมื่นล้าน แต่ผลลัพธ์ที่ได้จาก SEAC เป็นสิ่งที่ทำให้สังคมสามารถพัฒนาได้อย่างแท้จริง


แชร์ :

You may also like