HomeBig Featuredทำคอนเทนต์ให้สุด ต้องไม่หยุดที่แชร์ อ่านแล้วชอบต้อง Shop สูตรทำ Content Commerce โมเดลธุรกิจใหม่ของ “อมรินทร์พริ้นติ้ง”

ทำคอนเทนต์ให้สุด ต้องไม่หยุดที่แชร์ อ่านแล้วชอบต้อง Shop สูตรทำ Content Commerce โมเดลธุรกิจใหม่ของ “อมรินทร์พริ้นติ้ง”

แชร์ :

ยืนหยัดฐานะ Printing & Publishing มาตลอด 40 ปี แม้ในยุคยากลำบากของสื่อกับการฝ่าฟันกระแสคลื่น Digital Disruption จนทำให้เพื่อนร่วมวงการจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะกลุ่มที่เคยแข็งแรงในฟากของปริ้นท์มีเดีย ค่อยๆ หายหน้าหายตาไปจากสนาม

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ขณะที่ อมรินทร์พริ้นติ้ง ที่ด้วยชื่อขององค์กรอาจจะดูสวนทางกับทิศทางธุรกิจในยุคที่ต้อง Transform เพื่อการอยู่รอด แต่กลับสามารถขยายการเติบโตและสร้างความแข็งแรงให้ Ecosystem ภายในเครือ ด้วยการขยายหลากหลายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น On Print,  Online, On Ground, On Air รวมทั้งการมี On Shop ผ่านร้านนายอินทร์ อีกหนึ่งธุรกิจในเครือเช่นกัน

ครบทุกแพลตฟอร์มใน AMARIN Universe  

สำหรับ On Print ซึ่งถือป็นธุรกิจขาหลักและดั้งเดิมของอมรินทร์มาตลอด 40 ปี โดยเฉพาะแบรนด์ “บ้านและสวน” ที่ปัจจุบันก้าวข้ามมากกว่าแค่การเป็นหัวหนังสือในยุคเริ่มต้นบุกเบิกธุรกิจ มาสู่การเป็นแบรนด์ที่ได้รับความเชื่อมั่นในแวดวงของผู้ที่สนใจเรื่องของบ้านและการตกแต่งบ้าน จนสามารถต่อยอดไปสู่การเป็นคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มอื่นๆ ในเครือ

รวมทั้งยังมีหัวหนังสืออื่นๆ ภายในเครือ เช่น อมรินทร์เบบี้แอนด์คิดส์, แพรว, สุดสัปดาห์ ที่ต่างก็ยังคงสามารถรักษาความแข็งแรงของแบรนด์ไว้ได้เป็นอย่างดี แม้แต่ในภาวะที่มีข่าวการปิดหัวหนังสือแบรนด์ใหญ่ๆ อายุหลายสิบปีให้ได้ยินอย่างต่อเนื่อง แต่ในทางกลับกันหนังสือในกลุ่ม Lifestyle ของเครืออมริมทร์บางหัวกลับมีจำนวนยอดพิมพ์เพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งรักษาความเป็นผู้นำในกลุ่มธุรกิจ Print ภายในเซ็กเม้นต์เดียวกัน ด้วยการมีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 78% เลยทีเดียว

ส่วนธุรกิจ On Ground หรือในส่วนของอีเวนท์ต่างๆ เป็นอีกหนึ่งขาธุรกิจที่เติบโต ภายใต้การขับเคลื่อนผ่านแบรนด์ในเครือที่เชื่อมโยงกับแต่ละกลุ่มธุรกิจ เช่น กลุ่มบ้านและสวน กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มแฟชั่น หรือกลุ่มอาหาร เป็นต้น โดยมีการจัดงานหมุนเวียนในแต่ละปีรวม 23 งาน ยอดคนเข้างานรวมทั้งปีมีมากกว่า 5.5 ล้านคน และจำนวนยอดผู้ร่วมงานที่ลงทะเบียนไว้อีกไม่ต่ำกว่าหลักล้านคน

ขณะที่ในกลุ่ม ON Air ผ่านการบริหารช่องทีวีดิจิทัลอมรินทร์ 34 ที่มีการเติบโตทั้งในส่วนของรายได้ และจำนวน Eye Ball ที่เพิ่มขึ้นมีการเติบโตได้ถึง 85% รวมทั้งการสร้างบุคลากรให้กับแวดวงทีวีจนเป็นที่รู้จักในระดับประเทศได้สำเร็จ เช่นเดียวกับแพลตฟอร์ม Online ที่สามารถขึ้นแท่นเป็นผู้นำ Lifestyle Online Publisher สามารถสร้าง Social Reach ได้มากกว่า 7 ล้านคนต่อวัน และ Social Engagement ได้มากถึง 1.7 ล้านคน  และหากรวมการเข้าถึงผู้บริโภคในแต่ละวันของทุกแพลตฟอร์มที่อยุ่ใน AMARIN Universe จะสามารถเข้าถึงผู้คนได้มากกว่า 16 ล้านคน ขณะที่จะมีผู้เห็นคอนเทนต์ต่างๆ ในทุกๆ แพลตฟอร์มมากก่วา 24 ล้านคนเลยทีเดียว

ปั้นนิวมีเดีย Content Commerce

การปรับตัวเพื่อขยับรับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการก้าวข้ามจากธุรกิจในฟากของออฟไลน์มาสู่ความเป็นดิจิทัลที่ทางเครืออมรินทร์ไม่ได้เพิ่งมาเริ่มในช่วงยุคตื่นเทคโนโลยีเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ แต่ทำมาเกือบ 20 ปีแล้ว ด้วยการพัฒนาเว็บไซต์บ้านและสวน (www.baanlaesuan.com) โดยพัฒนามาแล้วหลากหลายเวอร์ชั่น รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ ด้วยการพยายามสร้างคอนเทนต์ที่สะท้อนตัวตนของแต่ละแบรนด์ในเครือได้อย่างชัดเจน จนสามารถสร้างฮีโร่คอนเทนต์อย่าง Celeb Blog ด้วยการเล่าเรื่องจากเหล่าเซเลบริตี้ ในมุมที่แต่ละคนชื่นชอบผ่านสไตล์ของแต่ละคน ภายใต้การ Collaborated ร่วมกับอีกหนึ่งแบรนด์ที่แข็งแรงในเครืออย่าง “แพรว”

รวมไปถึงเป้าหมายในการสร้าง Engagement ที่สำคัญในมุมของ Content Provider โดยเฉพาะบนโลกโซเชียลที่ User หรือ Audience จะมีต่อคอนเทนต์ที่ชื่นชอบด้วยการ Share แต่ทางอมริมทร์มองว่า หากสามารถเปลี่ยน Action จากการแชร์ มาเป็นการกดซื้อสินค้าที่อยู่ในคอนเทนต์ได้ จะสร้างโอกาสทางการตลาดที่มากกว่าและเพิ่มมูลค่าให้กับคอนเทนต์จากการทำหหน้าที่ในมิติของการพีอาร์มาเป็นการสร้างยอดขายได้อีกทางหนึ่ง หรือเป็นการเปลี่ยนมิติในการสร้าง Engagement จาก See it, Love it, Share it. มาเป็น See it, Love it, Buy it. นั่นเอง

คุณเจรมัย พิทักษ์วงศ์ กรรมการผู้จัดการ และ คุณอาสา ผิวขำ ผู้อำนวยการฝ่าย New Media แห่งอมรินทร์ พริ้นติ้ง และพับลิชชิ่ง ให้ข้อมูลร่วมกันว่า ก่อนจบปีนี้ จะเริ่มเห็นการซื้อขายในรูปแบบ Content Commerce บนแพลตฟอร์มต่างๆ ในเครือ ทั้งเว็บไซต์ หรือโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่สามารถคลิกบนรูป หรือจากหน้าคอนเทนต์ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลสินค้าต่างๆ เพื่อลิงก์มาสู่การสั่งซื้อสินค้าชิ้นนั้นๆ ได้ทันที โดยไม่ต้องออกไปหน้าเว็บอื่นเพื่อทำการสั่งซื้อ และยังเป็นรูปแบบในการซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ที่แตกต่างจากอีคอมเมิร์ซผ่านมาร์เก็ตเพลสทั่วๆ ไป โดยเฉพาะความเชื่อมั่นต่อสินค้าต่างๆ ที่นำมาเสนอขาย เนื่องจาก เป็นสิ่งที่ทางกองบรรณาธิการได้คัดสรรมาเบื้องต้น ทำให้ลดความกังวลในเรื่องคุณภาพ หรือการได้รับสินค้าตามที่มีการสั่งซื้อไว้ รวมไปถึงเงื่อนไขด้านราคาที่เหมาะสม

“รูปแบบนี้ที่ยังไม่มีใครทำมาก่อนในประเทศไทย เพราะเป็นโมเดลธุรกิจที่ต้องมีความพร้อมในเรื่องของคอนเทนต์ และเป็นข้อแตกต่างจากอีคอมเมิร์ซทั่วไป ที่ผู้ซื้อต้องหาข้อมูลสินค้าต่างๆ หรือเลือกร้านที่จะสั่งซื้อด้วยตัวเอง โดยไม่มีการการันตีได้ว่าจะน่าเชื่อถือได้มากแค่ไหน หรือจะได้รับสินค้าตามที่สั่งหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันจะเห็นโมเดลลักษณะนี้ในต่างประเทศ ในกลุ่มแฟชั่นหรือบิวตี้ต่างๆ แต่สินค้าของอมรินทร์จะมีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นสินค้าเกี่ยวกับบ้านและการแต่งบ้าน แม่และเด็ก และกลุ่มแฟชั่นบิวตี้ในอนาคต”

สำหรับศักยภาพที่ทำให้อมรินทร์สามารถปั้นโมเดลธุรกิจคอนเทนต์ คอมเมิร์ซได้ รวมทั้งโอกาสทางธุรกิจที่จะเพิ่มมากขึ้นจากการพัฒนาโมเดลนี้  ประกอบด้วย

1. การมีเครือข่ายจากกลุ่มแบรนด์และผู้ประกอบการที่เคยมาออกงานแฟร์มาก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะในกลุ่มบ้านและสวนที่มีคอนเน็คชั่นมากถึง 3,500 ราย ที่ตั้งเป้าว่าจะนำผู้ประกอบการราวครึ่งหนึ่ง มานำร่องในการทำคอนเทนต์ คอมเมิร์ซ ก่อนที่จะขยายไปสู่กลุ่มอื่นๆ ทั้งแม่และเด็ก แฟชั่น หรือบิวตี้ต่างๆ

2. การมีบรรณาธิการกว่า 20-30 คน ที่มีความเชี่ยวชาญ และคร่ำหวอดในกลุ่มสินค้าที่ดูแล ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบคุณภาพสินค้าในแต่ละกลุ่ม การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่างๆ แก่ผู้อ่าน รวมทั้งการเป็นผู้ Selected ว่าควรจะนำสินค้าอะไรมาขายบนแพลตฟอร์ม

3. สามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาแพกเกจความร่วมมือที่นอกเหนือจากการมาลงโฆษณา มาเป็นการครีเอทคอนเทนต์ เพื่อให้สามารถเทิร์นการรับรู้กลับไปเป็นยอดขายให้แก่แบรนด์หรือสินค้าต่างๆ ได้

4. เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น จากที่ต้องรองานแฟร์ ที่จัดเพียงช่วงหนึ่งในแต่ละปี ก็ทำให้สามารถสั่งซื้อได้ตลอดทั้งปี รวมทั้งกลุ่มผู้บริโภคที่อยู่ต่างจังหวัดหรือเดินทางได้ไม่สะดวกก็สามารถเลือกดูสินค้าที่ต้องการได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

5. นอกจากการทำคอนเทนต์เพื่อสร้างดีมานด์ในกับสินค้าต่างๆ ที่มี Need อยู่แล้ว ยังสามารถต่อยอดไปสู่พันธมิตรในกลุ่มบริการ เพื่อเป็นการครีเอทดีมานด์ให้กับผู้อ่าน โดยเฉพาะในส่วนการดูแลรักษาบ้านหรืออุปกรณ์ต่างๆ ผ่านการครีเอทคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้อง ก่อนจะแนะนำพันธิมตรเหล่านี้ให้แก่ผู้ดูแลบ้าน เช่น บริการล้างแอร์ ติดตั้ง-เปลี่ยน สายไฟภายในบ้าน เป็นต้น

6. สำหรับแพลตฟอร์มในการเข้าถึงคอนเทนต์ คอมเมิร์ซ นอกจากผ่านเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียของแบรนด์ในเครือแล้ว ทางอมรินทร์จะทำการพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นสำหรับเป็นแพลตฟอร์มกลางเพื่อการสั่งซื้อในรูปแบบคอนเทนต์ คอมเมิร์ซ เพิ่มเติมขึ้นมา โดยคาดว่าจะเริ่มนำร่องให้ลองสั่งสินค้าได้ราวเดือนตุลาคมนี้

7. การสั่งซื้อสินค้าต่างๆ ในเฟสแรก คาดว่าจะเริ่มเห็นได้ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ส่วนการพัฒนาที่เป็น Full Scale แบบเต็มรูปแบบคาดจะแล้วเสร็จประมาณไตรมาสแรกของปีหน้า

8. โมเดลนี้จะช่วยเพิ่มรายใด้ให้แก่กลุ่มอมรินทร์ ผ่านการแบ่ง GP กับกลุ่ม Sellers ที่นำสินค้ามาขายบนแพลตฟอร์ม  ขณะเดียวกันยังมีการครีเอทคอนเทนต์ในลักษณะของการซื้อแพกเกจตามรายละเอียดในสัญญา ซึ่งแม้ว่าจะสิ้นสุดสัญญาแล้วแต่ก็ยังมีคอนเทนต์อยู่บนแพลตฟอร์มทำให้ยังสามารถสั่งซื้อได้ต่อเนื่อง และหากขายได้ก็ยังมีรายได้จากการแบ่ง GP เช่นเดิม

9. ในส่วนของคู่ค้าหรือพาร์ทเนอร์ที่มักจะมาออกบูธในงานแฟร์กับทางอัมรินทร์ ซึ่งจะเป็นกลุ่ม First Priority ที่จะได้มาขายในรูปแบบคอนเทนต์ คอมเมิร์ซ ก่อนกลุ่มอื่นๆ จะเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายได้มากขึ้น จากที่เคยขายได้เฉพาะในช่วงงานแฟร์ไม่กี่วัน ทำให้สามารถขายได้ตลอดทั้ง 365 วัน 24 ชั่วโมง

ต่อยอดฮีโร่ คอนเทนต์ พร้อมลงทุนดาต้ามากขึ้น   

อีกหนึ่งฮีโร่ คอนเทนต์ของอมรินทร์ที่โดดเด่นในปีที่ผ่านมา คือ โปรเจ็กต์เซเล็บบล็อก หรือ แพรว X Celeb Blog ซึ่งเป็นการนำเสนอประสบการณ์ความใกล้ชิดและไลฟ์สไตล์ต่างๆ ของเหล่าเซเลบริตี้กับทางผู้อ่าน ให้มีโอกาสได้สัมผัส และเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการครีเอทคอนเทนต์ให้กับแบรนด์ต่างๆ ในอนาคต ซึ่งหลังจากเปิดตัวด้วย คุณสู่ขวัญ บูลกุล และประสบความสำเร็จด้วยยอด Social Engagement ในระดับที่สูงมาก จนจบซีซั่นด้วยยอดวิวมากกว่า 30 ล้าน View ก่อนจะพัฒนาโปรเจ็กต์ผ่านเซเลบริตี้คนอื่นๆ ในแต่ละแง่มุมที่แต่ละคนชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นมาดามแป้ง  หน่อย บุษกร ศรีริต้า รวมทั้งฟลุ๊ก เกริกพล ที่เป็นผู้ชายเพียงคนเดียวในขณะนี้ และมาพูดในมุมของการใช้เงินอย่างฉลาด ซึ่งก็ได้รับการตอบรับที่ดีเช่นเดียวกัน

“ก่อนหน้านี้เราทำเซเล็บบล็อกมาหลายปี แต่มีการต่อยอดและเปลี่ยนวิธีการเล่าเรื่องใหม่ ในสไตล์และเรื่องราวที่เหมาะกับเซเลบแต่ละคน เป็นการเปลี่ยนบทบาทของดารา เซเลบริตี้จากที่เคยเป็น Presenter หรือ Endorser  มาสู่บทบาทของ Story Tellers ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และเป็นการพิสูจน์แนวทางในการสร้างฮีโร่คอนเทนต์ ว่าไม่จำเป็นต้องตลก หรือหยาบคาย ก็สามารถสร้างคอนเทนต์ที่เป็น Viral ให้ประสบความสำเร็จได้ ขณะที่เราก็พยายามสร้างเซเลบริตี้ใหม่ๆ เพื่อเข้ามาเป็น Influencer ในมิติที่แต่ละคนสนใจเพิ่มมากขึ้น และในอนาคตจะขยับไปในกลุ่มอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น Mom&Kids, Living, Beauty&Fashion หรือ Health เป็นต้น”

สำหรับทิศทางที่ทางอมรินทร์จะให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นในปีหน้าคือ การลงทุนทางด้านการจัดการข้อมูลต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นองค์กรมีทิศทางในการขับเคลื่อนแบบ Data Driven จากจำนวน Users ภายในแต่ละแพลตฟอร์มของ AMARIN Universe ที่ไม่ใช่การให้ความสำคัญเพียงแค่จำนวน แต่สามารถระบุ และแยกเซ็กเม้นต์ Audience ที่อยู่บนแพลตฟอร์มว่าเป็นใคร หรือมีความสนใจเรื่องใดบ้าง เพื่อเป็นข้อมูลในการนำไปทำงานต่อกับลูกค้า หรือในเชิงของการบริหารจัดการสื่อที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น

ที่สำคัญเรื่องของประสบการณ์ จะเป็นสิ่งที่ทางอมรินทร์ให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ประสบการณ์จาก Online Media แต่เป็นการเชื่อมต่อประสบการณ์กับสื่อทุกแพลตฟอร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากในอนาคต เส้นแบ่งของความเป็นสื่อออนไลน์หรือออฟไลน์จะหายไป สิ่งสำคัญไม่ใช่การมีแพลตฟอร์มออนไลน์หรือไม่ หรือการมีแพลตฟอร์มมากน้อยแค่ไหน แต่อยู่ที่ความสามารถในการ Utilize หรือจัดสรรการใช้ประโยชน์จากสื่อที่มีอยู่ได้อย่างลงตัวและเหมาะสม

รวมทั้งทางรอดของสื่อในยุคที่หลายๆ ฝ่ายกำลังกังวลต่อการถูก Disrupt จากเทคโนโลยีหรือดิจิทัล สิ่งที่แต่ละองค์กรต้องโฟกัสและพยายามให้ความสำคัญกับทักษะต่างๆ ที่ Machine ไม่สามารถทำได้หรือทำได้ไม่ดีเท่ากับคนทำ โดยเฉพาะ 4 เรื่อง ต่อไปนี้  ได้แก่

1. Creative การสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่แตกต่าง และมีความน่าสนใจ

2. Collaboration การสร้างโอกาสหรือสถานการณ์ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์แบบ Win -Win

3. Off Line การดึงประสบการณ์ต่างๆ ให้สามารถจับต้องและสัมผัสได้จริง

4. Curator ความสามารถในการหาโซลูชั่นส์ที่แตกต่างไปจากสิ่งเดิมๆ ที่เคยทำ ไม่ยึดติดกับต้นฉบับหรือแนวทางเดิมๆ

 


แชร์ :

You may also like