HomeFeaturedThe Future Banking ศึกชี้ชะตา KBank-SCB  รบครั้งนี้พี่ต้องชนะ(ใจลูกค้า)

The Future Banking ศึกชี้ชะตา KBank-SCB  รบครั้งนี้พี่ต้องชนะ(ใจลูกค้า)

แชร์ :

banking kbank scb2

ดิจิตอลเข้ามาอยู่ในชีวิตของคนเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มิหน่ำซ้ำกำลังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ขาดไม่ได้แล้ว  ธุรกิจการเงินก็ได้รับผลกระทบ จึงต้องรุดหน้าให้ก้าวนำลูกค้า เพื่อรักษาฐานลูกค้าและยังอยู่ในใจลูกค้าตลอดไป BrandBuffet.in.th มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษกับผู้บริหารระดับสูงจากธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารไทยพาณิชย์  อธิบายถึงทิศทางองค์กรและการลงทุนในเรื่องเทคโนโลยีและดิจิตอล เพื่อก้าวไปสู่ The Future Banking หรือ ธนาคารแห่งโลกอนาคต ที่ยังไม่มีใครรู้ว่าหน้าตาจะเป็นอย่างไร

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

KBank  ศึกแห่งอนาคต (The Future Banking)

kbank ceo Pan Bantoon

KBank บัณฑูร ล่ำซ่ำ CEO

บัณฑูร ล่ำซ่ำ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย(KBank) หรือรู้จักกันในนาม เจ้าสัวปั้น  เปิดเผย กลยุทธ์องค์กรสำหรับปี 2016  เริ่มจาก การปรับโครงสร้างบริหารองค์กร โดยนำเอาคนรุ่นใหม่มาบริหารงานเพื่อรับความท้าทายของธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยแต่งตั้ง President หรือ กรรมการผู้จัดการคนใหม่ คือ ขัตติยา อินทรวิชัย ก่อนหน้าดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ และรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ทำหน้าที่ผู้บริหารสายงานการเงินและควบคุม จึงทำให้มีกรรมการผู้จัดการ 3 คนเป็นครั้งแรกร่วมกับ ปรีดี ดาวฉาย และนายธีรนันท์ ศรีหงส์   และก่อนหน้าได้แต่งตั้งให้ สาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต เข้ามาเป็นกรรมการธนาคาร 

ประเด็นสำคัญต่อมา คือ การจัดตั้ง Kasikorn Business-Technology  บริษัทใหม่ภายใต้เครือกสิกรไทย ที่ค่อนข้างจะถูกจับตามองมากที่สุด เนื่องจากเป็นบริษัทแยกตัวออกมาใหม่ ทำหน้าที่ดูแลและพัฒนาโครงสร้างไอทีทั้งภายใน-นอกองค์กร และรวมไปถึงการลงทุนกับเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป

ธีรนันท์ ศรีหงส์ อธิบายภาพรวมและภารกิจของบริษัทใหม่ Kasikorn Business-Technology กับ BrandBuffet.in.th ว่า  เนื่องจากโลกเปลี่ยนแปลงธุรกิจหลายธุรกิจถูกกระทบด้วยดิจิตอล  ธุรกิจของธนาคารบางมุมกำลังถูกผู้อื่นกระโดดเข้ามาเล่น  ซึ่งบางรายเริ่มประสบความสำเร็จ แต่ว่าไซส์ยังไม่สามารถเปรียบเทียบกับธนาคารที่มีปัจจุบันได้นัก

“ไอเดียใหม่ๆที่พวกเค้าทำออกมาค่อนข้างน่าสนใจ และมีโอกาสเกิดขึ้นได้สูง  เช่น  ในต่างประเทศ Lending club Peer to Peer Lending , Paypal , Apple Pay , Google Pay   หรือแม้กระทั้งโอกาสจาก Social Network ที่ Facebook กับ Line (Line Pay) เข้ามาเล่นใน Financial Services ซึ่งทำให้เกิด Person to Personal Payment ทำให้แบงก์ต้องกลับมาถามตัวเองบทบาทของเราอยู่ตรงไหน  เราจึงกำลังสร้าง ธนาคารแห่งอนาคต  The Future Banking  ไม่ว่าอนาคตธนาคารจะเป็นอย่างไร เราต้องเป็นผู้นำในโลกอนาคตนั้นให้ได้”

“ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุน Startup ที่เกี่ยวข้องทางการเงิน (Fintech)หรือไม่เกี่ยวข้องกับทางการเงิน  Startup มีไอเดียดีๆ แต่ส่วนใหญ่ไม่มีทักษะด้าน Scale Up ได้ หรือแม้แต่ก้าวเริ่มตั้งแต่ Day 1   แต่แบงก์มีวิธีการและสามารถสนับสนุนพวกเค้าได้หลายๆด้าน เช่น การให้เงินทุน (Funding)  ความรู้ด้านการเงิน (Banking Knowledge) เช่น ป้องกันหรืออุดข่องโหว่การโกง   การให้ฐานลูกค้าแบงก์ทั้งธุรกิจและลูกค้ารายย่อย  หรือ การใช้ระบบไอทีที่แบงก์มี โดยไม่ต้องลงทุนเลยก็ได้  เป็นต้น  ซึ่งทำให้ช่วยเร่งการเติบโต .. สตาร์ทอัพ (Startup) ทั่วโลกเกิดขึ้นจำนวนมากมายแต่ประสบความสำเร็จแค่หลักหน่วย”

สำหรับขั้นตอนการวางแผนงานสำหรับยูนิตใหม่นี้  เริ่มจากการวางยุทธศาสตร์ให้ชัดเจนเพื่อเป็น The Future Banking   พร้อมกับดึงดูดคนที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีและดิจิตอลเข้ามาร่วมทำงาน  ปัจจุบันมีพนักงานกว่า 200 คน และเตรียมย้ายพนักงานเทคนิคจากฝากธนาคารฯเข้ามาอีก 400 คน  จากนั้นก็เฟ้นหาคนมี Mixed Skill ด้านนี้เพิ่มเติมอีกจากทั่วทุกมุมโลกเข้ามาสมทบ ตัวอย่างเช่น ซิลิคอน วัลเลย์  นอกจากนี้ยังต้องวางโครงการบริหารและการทำงานองค์กรให้สอดคล้องกับโลกใหม่นี้

“เรื่องคน กับ วิธีการวางโครงสร้างในการทำงาน เป็นโจทย์ที่ยากและท้าทาย เนื่องจากลักษณะโครงการแบงก์เดิมไม่ได้เอื้อ สามารถให้เราทำอะไรแบบนี้ได้  เช่น ระบบการ Recruit  ระบบบริหาร ระบบประเมินผล performance   หรือวิธีการตัดสินใจภายในองค์กรยังไง  ถ้าไปในลักษณะโครงสร้างเดิมคงไม่น่าประสบความสำเร็จ  การทำงานกับ Startup ต้องรวดเร็ว ยืดหยุ่น และ informal  สร้างอะไรเล็กๆทดลอง แล้วขยายต่อ ซึ่งแบงก์จะไม่คุ้นกับการทำงานลักษณะนี้  ขณะนี้เราก็มองหาคนที่มี Talent ทั้งในประเทศและต่างประเทศ”

SCB   หมากเกมส์นี้ ..พี่ขอเดิมพัน

SCB CEO MD

ส่วนฝากธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศผลประกอบการ ปี 2558 และทิศทางบริษัท ปี 2559 ออกมาเช่นกัน โดยมีสาระสำคัญ  ปี 2558 เป็นปีที่ยากลำบากของสถาบันการเงินทั้งหลายรวมไปถึงธนาคารไทยพาณิชย์  ทั้งปัจจัยภาวะเศรษฐกิจโลกและประเทศไทยที่ชะลอตัวอย่าชัดเจน  ทำให้ผลกำไรสุทธิอยู่ที่ 47,182 พันล้านบาท ซึ่งลดลงจากปี 2557  11.5%  เป็นผลมาจากการตั้งสำรองที่สูงขึ้น เพื่อรองรับสินเชื่อด้อยคุณภาพที่เกิดขึ้นและการตั้งสำรองครบจำนวนตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย  แต่รายได้โดยรวมของธนาคารยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

และสาระสำคัญอีกประการ คือ การรุกไปเป็นธนาคารแห่งอนาคต โดยเริ่มต้น กันเงินจำนวน 1.5% จากผลกำไร หรือ ราว 500 ล้านบาททุกปีมาทำห้อง LAB สร้างดิจิตอลและเทคโลยีใหม่ๆไว้สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า   และอีก 50 ล้านเหรียญมาไว้เป็นกองทุน Venture Capital ให้กับ Startup ประเภท Fintech

” ณ วันนี้เราต้องหาเทคโนโลยีที่เข้าใจไลฟ์สไตล์ของลูกค้า  ต้องการอะไร  คิดอะไรอยู่ อยากได้อะไร ช่วงเวลาไหน  ถ้าหากรู้เราจะตอบสนองลูกค้าได้  หนีไม่พ้น Technology และ connectivity  และการตั้ง VC เพื่อวัตุถประสงค์ให้ธนาคารเข้าไปอยู่ใน Ecosystem ของโลกเทคโนโลยี  เข้าใจโลก  และ เป็นพาร์ทเนอร์กับโลกอีกด้านนึงที่ไม่เคยสัมผัสมากก่อน  หากให้เราไปสร้างเองคงไม่ทัน  เราไม่มีสามารถที่เพียงพอ” นายญนน์ โภคทรัพย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าว

อาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและรองประธานกรรมการบริหาร อธิบายเพิ่มเติมกับ BrandBuffet.in.th ว่า  เงิน 2 ส่วน แบ่งเป็น  1. เงินค่าใช้จ่าย คล้ายกับ R&D ประมาณ 1.5% ของกำไรทุกปี (500 ล้านบาท) ใส่ทุกปีๆ เอามาใส่ห้อง Lab  วิจัยและผลิตนวัตกรรมใหม่สำหรับธนาคารในอนาคต ตัวอย่าง สมมติว่า ทำอย่างไรฝากเงินโดยไม่ต้องใช้สมุดเงินฝาก หรือการ payment  การโอนเงินระหว่างประเทศ  wealth management  และ data analytics แบบใหม่ๆ  ซึ่งจะไปตอบสนองประสบการณ์ต่อลูกค้าที่มันแตกต่างจากปัจจุบัน   ส่วนที่ 2  50 ล้านเหรียญฯ ให้มองเป็นกองทุนไว้ไปลงทุนใน fund of fund  ในต่างประเทศ  เราไปลงทุนใน fund ของเค้าที่เค้ามีรายชื่อลงทุนใน startup ต่างๆ  เค้าก็จะโชว์รายการเทคโนโลยีอะไรบ้างที่กำลังเกิดขึ้นในโลกบ้าง   และรวมไปถึงการลงทุนหรือเป็นพาร์ทเนอร์กับ startup โดยตรง

“หลังจากผ่านการอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ธนาคารไทยพาณิชย์จะถือหุ้น 100% โครงสร้างการบริหารมี อาทิตย์ นันทวิทยา นั่งเป็นประธาน และมีผู้บริหารระดับสูงจากธนาคาร 2-3 ท่าน นอกจากนี้จะเชิญคนในวงการ Startup เข้ามาเป็นกรรมการ  โดยหนึ่งในนั้น คือ คุณโจ้  ธนา เธียรอัจฉริยะ อดีตผู้บริหารดีแทค  ส่วนกระบวนการทำงานหรือตัดสินใจจะไม่เหมือนแบบธนาคาร   ทุกอย่างต้องรวดเร็วหมด  หากเป็นธนาคารจะกลัวตัดสินใจพลาด แต่อันนี้หากผิดพลาดก็ถือเป็นการทดลองในงบของที่เรากันไว้”

Fintech ฮอตฉ่า 

ด้าน สมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมธุรกิจ และ ดีแทค แอคเซลเลอเรท ผู้บริหารคลุกคลีอยู่ในวงการสตาร์ทอัพ (Startup) ให้ความเห็นเพิ่มเติม “แม้ว่านโยบายและทิศทางของ 2 ค่ายยังไม่ชัดเจนมากนัก ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน การเข้ามาของ 2 ค่ายแบงก์ น่าจะทำให้วงการ Startup ของไทยเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน  โดยคาดการณ์ตลาดในประเทศไทยปีนี้ 2016 จะเติบโตขึ้นอย่างมาก ทั้งจำนวน Startup จากหลักร้อยกลายไปเป็นหลักพัน และ เม็ดเงินลงทุนที่จะไหลเข้ามา จากกลุ่ม startup ไทย Series A  รวมไปถึงกลุ่ม Pre-Seed และ Seed Round เข้าใจเกมส์ และรู้ว่าต้องทำอะไรต่อ”

“สำหรับเทรนด์  Fintech กำลังเนื้อหอม เซ็กซี่ และ ใหม่ เนื่องจากธุรกิจด้านการเงินยังไม่ถูก Disrupt อย่างธุรกิจรถแท๊กซี่ก็มี Grab Taxi , Uber หรือแม้กระทั่งธุรกิจคอนเท้นท์ภาพยนตร์/ทีวี ก็มี Netflix  อีกทั้งตัวแบงก์เดิมเองยังแข็งแกร่งอยู่มาก แต่แบงก์ก็เริ่มให้ความสนใจมากขึ้น เนื่องจากมีรายงานเปิดเผยว่า รายได้จากธนาคารทั่วโลกสูญเสีย 15% ให้กับ Fintech”

dtac meng สมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์

สมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมธุรกิจ และ ดีแทค แอคเซลเลอเรท

[xyz-ihs snippet=”LINE”]

Photo : levick


แชร์ :

You may also like