HomeDTACภารกิจซีอีโอใหม่ “ดีแทค” เริ่มต้นที่การจัดผังองค์กร ปั้น “มินิซีอีโอ” เจาะลึกทุกภูมิภาค

ภารกิจซีอีโอใหม่ “ดีแทค” เริ่มต้นที่การจัดผังองค์กร ปั้น “มินิซีอีโอ” เจาะลึกทุกภูมิภาค

แชร์ :

dtacGroup_8B0A9553

หลังจากการลงจากตำแหน่งของ “ซิกเว่ เบรกเก้” ซึ่งเข้ามาเป็นซีอีโอรักษาการของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เพียงชั่วคราวไปรับตำแหน่งซีอีโอของเทเลนอร์ กรุ๊ป ก็เป็นที่จับตามองมาตลอดว่าใครจะมาเข้ามาทำหน้าที่ซีอีโอในประเทศไทย รับไม้ต่อจากนักธุรกิจที่สร้างสีสันให้กับวงการโทรคมนาคมของไทยมากที่สุดคนหนึ่ง จนกะรทั่งวันที่ 1 เมษายน “ลาร์ส โอเคะ นอร์ลิ่ง” ก็ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารอย่างเป็นทางการ และหลังจากขึ้นสู่ตำแหน่ง ซีอีโอคนนี้ก็ประกาศ ขอเป็น “กัปตันเคิร์ค” พาดีแทคให้พุ่งทะยานบนเส้นทาง “Mobile Internet” อย่างเต็มตัว

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

“ลาร์ส โอเคะ นอร์ลิ่ง” บอกเสมอว่าเขาชอบบทบาท “กัปตันเคิร์ค” พระเอกในเรื่องสตาร์เทร็ค (จริงๆ หน้าตาท่าทางก็แอบเหมือนด้วยนะ) และเมื่อตัวเขาขอเป็นกัปตัน จึงต้องมีสมาชิกบนยานเอ็นเตอร์ไพร์สให้ครบ ซึ่งสมาชิกกรุ๊ปแรกก็คือ “มินิซีอีโอ” ที่เริ่มทำงานมา 8 เดือนแล้ว หน้าที่ของมินิ ซีอีโอ เหล่านี้ คือเป็นผู้ดูแลภูมิภาคใน 5 พื้นที่ Regional Business Head (RBH) ทั้งในส่วนของลูกค้าผู้ใช้งาน และพันธมิตรธุรกิจในพื้นที่ แต่ละภูมิภาคมีผู้บริหารรับผิดชอบเฉพาะ ประกอบด้วย

– ปภาพรต ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการอาวุโสธุรกิจภูมิภาค-กรุงเทพฯ และปริมณฑล

– ปกรณ์ มโนรมย์ภัทรสาร ผู้อำนวยการอาวุโสธุรกิจภูมิภาค-ภาคเหนือ                                             

– วรวัฒน์ วงศ์สง่า ผู้อำนวยการอาวุโสธุรกิจภูมิภาค-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ                       

– ปัญญา เวชบรรยงค์รัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโสธุรกิจภูมิภาค-ภาคใต้และตะวันตก

– อำนาจ โกศลรอด ผู้อำนวยการอาวุโสธุรกิจภูมิภาค-ภาคกลางและตะวันออก

เหตุผลที่ดีแทควางผังองค์กรรแบบนี้ก็เพราะว่าตัวอย่างที่ได้จากประเทศอื่นๆ ที่เทเลนอร์ทำธุรกิจอยู่ เช่น มาเลเซีย อินเดีย ที่ระบบแบบนี้ประสบผลสำเร็จอย่างดี อีกทั้งการให้ความสำคัญกับแต่ละท้องถิ่น น่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง เพื่อตอบความต้องการของผู้บริโภคในพื้นที่แต่ละส่วนไม่เหมือนกัน “มินิซีอีโอ” ต้องรับผิดชอบทั้งเรื่องงบประมาณ การทำตลาด ความคุ้มค่า และผลงานในภาพรวมทั้งหมด โดยรายงานตรงกับซีอีโออย่างใกล้ชิดเป็นประจำทุกสัปดาห์ ซึ่งลำดับขั้นต่อไปของการบริหาร ก็จะมี Cluster ระดับรองๆ ลงไปอีกนับร้อย โดยภายในองค์กรดีแทคเริ่มใช้โมเดลนี้ในการทำงานมาแล้ว 8  เดือน ตอนนี้ก็ถือว่าอยู่ในขั้นตอนของการทำงาน แต่  ลาร์ส โอเคะ นอร์ลิ่ง เชื่อว่าถ้าหากว่าสำเร็จก็จะเป็นสิง่ที่คู่แข่งเลียนแบบได้ยาก เพราะว่าต้องอาศัยระยะเวลา และทำงานอย่างหนักเพื่อให้เกิดขึ้นจริง ข้อดีของระบบนี้ก็คือ เมื่อเกิด Good Case กับภูมิภาคหนึ่ง ก็จะเป็นตัวอย่างให้ภูมิภาคอื่นๆ เอาไปดัดแปลงให้เข้ากับพื้นที่ตัวเองเป็นการเรียนรู้กันเองภายใน และยังทำให้เกิดการแข่งขันกันเองในองค์กร เหนือสิ่งอื่นใดคือบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งเรื่องรายได้ กำไร ไปจนถึงความพึ่งพอใจของลูกค้า ที่ดีแทคจะต้องต้องเสนอคุณค่าของบริการออกมาให้ได้มากที่สุด ตรงกับความต้องการ

เป้าหมายของดีแทคในเวลานี้ คือการทำให้กลยุทธ์ Internet for all เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด ถึงแม้ว่า  ลาร์ส โอเคะ นอร์ลิ่ง จะเป้นคนที่ประสบความสำเร็จในการตั้งสตาร์ทอัพเกี่ยวกับ “บรอดแบนด์” มาแล้ว ตอนที่ทำงานในสวีเดน แต่จากบทเรียนที่เกิดขึ้นกับประเทศในแสกนดิเนเวียร์ ทำให้นโยบายของดีแทคและตัวเองเขาเองเชื่อว่า “Mobile Internet” น่าจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง แม้ว่าคู่แข่งจะให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตก็ตาม

หลังจากจบไตรมาสที่ 1 ดีแทคมีจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น  419,000 เลขหมาย ทำให้ฐานลูกค้าทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 28.4 ล้านเลขหมาย คาดการณ์สิ่งที่น่าสนใจในวงการโทรคมนาคมว่า ปี 2019 จะมีคนที่ใข้ดีไวซ์ที่ใช้งาน 4G  ได้ถึง 14 ล้านคน และในปี 2020 จะมีดีไวซ์อื่นๆ ที่ใส่ซิมเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตถึง 400 ล้านเครื่อง ตามเทรนด์ Internet of Thing  เช่น รถ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า


แชร์ :

You may also like