HomeBrand Move !!เอสซีจี เคมิคอลส์ ทุ่มงบวิจัยกว่า 2,100 ล้านบาท ผลักดันนวัตกรรมสินค้า HVA อย่างต่อเนื่อง [PR]

เอสซีจี เคมิคอลส์ ทุ่มงบวิจัยกว่า 2,100 ล้านบาท ผลักดันนวัตกรรมสินค้า HVA อย่างต่อเนื่อง [PR]

แชร์ :

 

scg chemicals

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นายชลณัฐ  ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เคมิคอลส์ เปิดเผยว่า ในปี 2557  เอสซีจี เคมิคอลส์ มียอดขายสินค้า HVA 65,822 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% จากปี 2556 และในปี 2558  เอสซีจี เคมิคอลส์ ยังคงเดินหน้าผลักดันสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มตามกลยุทธ์ธุรกิจหลัก โดยตั้งเป้าสัดส่วนสินค้า HVA ร้อยละ 29

“เราให้ความสำคัญกับการวิจัยเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ (R&D to Commercialization) ที่ผ่านมา เอสซีจี เคมิคอลส์ ได้พัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการมูลค่าเพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2557 เอสซีจี เคมิคอลส์ ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรรวม 93 สิทธิบัตร ซึ่งเป็นการจดสิทธิบัตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ  สำหรับปี 2558 นี้ เอสซีจี เคมิคอลส์ มีงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนากว่า 2,100 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44 ของงบวิจัยและพัฒนาทั้งหมดของเอสซีจี  ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์ใหม่กว่า 14 รายการ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากว่า 120 ประเทศทั่วโลก” นายชลณัฐ กล่าว

เอสซีจี เคมิคอลล์ มีนวัตกรรมครอบคลุมสินค้าและบริการหลายหลากประเภท ได้แก่ นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น นวัตกรรมวัสดุนาโน (Nano Materials) เพื่อนำไปผลิตสินค้า HVA หลากหลายประเภท (Application) ด้วยประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ในขณะที่ใช้ปริมาณเม็ดพลาสติกน้อยลง นวัตกรรมสินค้า T.U.X™ ฟิล์มพลาสติกชนิดพิเศษ ที่มีความใสและปิดผนึกได้ดี เหมาะสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหาร ทำให้สินค้าภายในสะอาดปลอดภัยต่อการบริโภค นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (Eco Innovation) เช่น อิมิสโปร (emisspro®) นวัตกรรมสารเคลือบเตาเผาอุตสาหกรรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน โดยปัจจุบันได้ให้บริการกับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรโคมี  อุตสาหกรรมเซรามิค และอุตสาหกรรมเหล็กทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสามารถช่วยลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตได้กว่าร้อยละ 2-6 และการวิจัยและออกแบบตัวเร่งปฎิกริยาในกระบวนการผลิตปิโตรเคมี (Catalyst) ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและช่วยลดการใช้พลังงาน นวัตกรรมการจัดการกากของเสียโดยเปลี่ยนของเสียให้มีมูลค่า เช่น มูลไส้เดือนดินจากกากตะกอนจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสีย และนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัย เช่น นวัตกรรมหุ่นยนต์ตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรม การคิดค้นหุ่นยนต์อัจฉริยะ เข้าทำงานในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก และไม่ปลอดภัยแทนการใช้คน

 

scg chemicals (2)

ชลณัฐ ญาณารณพ

“เรามีกลุยทธ์ในการบริหารจัดการงานด้านวิจัยและพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยมีกลยุทธ์หลัก ได้แก่ การเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งทั้งในด้านบุคคลากรและเครื่องมือเพื่องานวิจัยและพัฒนาภายในเอสซีจี เคมิคอลส์ การวิจัยร่วมกับทีมนักวิจัยชั้นนำระดับโลก เช่น ศูนย์วิจัยที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ในรูปแบบ Center of Excellence ที่บริหารร่วมกันระหว่างเอสซีจี และมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และการทำวิจัยร่วมกับบริษัทวิจัยชั้นนำระดับโลก ซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมา เอสซีจี เคมิคอลส์ ได้ซื้อหุ้นบริษัท Norner AS ประเทศนอร์เวย์ ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านการวิจัยและพัฒนาพลาสติกระดับโลก มีความเชี่ยวชาญนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านวัสดุและพอลิเมอร์ เพื่อช่วยเสริมศักยภาพการสร้างสรรค์นวัตกรรมมูลค่าเพิ่มให้ออกสู่ตลาดได้ดียิ่งขึ้น” นายชลณัฐกล่าวเพิ่มเติม

“ปัจจุบัน เอสซีจี เคมิคอลส์ มีบุคลากรที่ทำงานด้านวิจัยกว่า 326 คน เป็นนักวิจัยที่เป็น Ph.D. จำนวน 57 คน โดยได้จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม หรือ ASTEC (Advanced Science and Technology Center) ที่ทันสมัยเทียบเท่าระดับสากล เพื่อใช้วิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และนวัตกรรมในกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ (Operation Excellence Training Center หรือ OETC) สำหรับพนักงานที่ปฎิบัติงานในกระบวนการผลิต ซึ่งเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้ทดลองทำจริง เพื่อให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในหน้างาน สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพให้กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานความปลอดภัย” นายชลณัฐ กล่าวในตอนท้าย


แชร์ :

You may also like